ครูชาลี ศิลปรัศมี เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ความชำนาญพิเศษ เป็นนักเขียนเรื่องสั้นยอเดยี่ยมแห่งประเทศไทยได้รับรางวัล มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ปี ๒๕๔๕ พร้อมโล่เกียรติยศ เป็นบรรณาธิการ และเป็นผู้เรียบเรียงหนังสือวัฒนธรรม :พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี ๒๕๔๑ ที่ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นบรรณาธิการนักเขียนประจำ สารนครศรีธรรมราช เป็นครูภูมิปัญญาผู้มีผลงานการเขียนประวัติศาสตร์ดีเด่นของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ และได้เขียนเรื่องสั้น บทความ ตึพิมพ์ในหนังสือต่วนตูน และอีกหลายฉบับ
ประสบการณ์ทำงานผลงานวิจัยปริญญาโท เรื่องการปกครองมณฑลนครศรีธรรมราชภายใต้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (๒๕๔๓-๒๔๖๘)ตำแหน่งประจำกองบรรณาธิการ วารสารนครศรีธรรมราช มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นนักเขียนประจำวารสารฯ ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับด้านศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และภูมิปัญญาชาวบ้านเขียนเรื่อง“พระตำหนักเขาน้อยสงขลา และกำลังพยายามให้กระทรวงมหาดไทย จัดเป็นพิพิธภัณฑ์การเมืองการปกครอง
เขียนเรื่อง“พระประวัติและพระกรณียกิจของ พลเอกสมเด็จเจ้าฟ้า กรมลพบุรีราเมศวร์ ต้นราชสกุล ยุคล สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และสมเด็จอุปราชภาคปักษ์ใต้ ใช้เวลา ๖ ปี ครึ่ง (๒๕๓๐ –๒๕๓๗)
เขียนโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นปักษ์ใต้ (คปทป) เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ วางกรอบงานให้ตนเองโดยเน้น“นครศรีธรรมราชก่อนสุโขทัย”และเรื่องราวในปักษ์ใต้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะอาณาจักรศรีวิชัย
บรรณาธิการและผู้เรียบเรียงหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ของกรมศิลปากรเรื่อง“วัฒนธรรม : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนครศรีธรรมราช” กรมศิลปากร ขายเล่มละ ๕๐๐ บาท และมอบให้หน่วยงานราชการทั่วไป
จัดตั้ง“ชาลี-คลินิกทางวิชาการ” บริการงานวิชาการทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ บ้านเลขที่ ๔๙๖/๒๐-๒๑ ศูนย์การค้าในตลาดจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๒๕๐ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่นักเรียน ครู นักปกครอง นักบริหาร ประชาชน และหน่วยงานทางราชการเป็นจำนวนมากมากว่า ๑๒ ปี
เรื่อง“ศรีวิชัย”ในแง่มุมต่างๆ มากมายเพื่อความกระจ่างชัดของอาณาจักรนี้ และเพื่อเป็นเกียรติภูมิแก่ชาวปักษ์ใต้ทุกคน เพราะอาณาจักรนี้แม้หลักฐานปรากฏก็เริ่มจาก พ.ศ.๑๒๐๐-๒๐๐๐ แต่ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นได้บอกย้อนหลังไปถึงนครศรีธรรมราชก่อนพุทธกาลรวมทั้งเมืองพัทลุง เมืองสิงหนคร เมืองสะทิงพาราณสี ซึ่งเป็นนครทั้ง ๑๐ ของศรีวิชัย ซึ่งตัวอย่างบทความทางวิชาการเกี่ยวกับศรีวิชัย มีดังต่อไปนี้
บทความความอันดับที่ ๒๖๒ เรื่องถ้ำพรรณรา ถ้ำศรีวิชัย (๒๕๔๗) ตีพิมพ์ในนิตยสารของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์บทความอันดับที่ ๒๘๐ เรื่อง ศิวลึงค์: สัญลักษณ์ลัทธิเทวราช ตีพิมพ์ในสารนครศรีธรรมราช ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ หน้า ๗๓ –๘๑ และปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ หน้า ๔๐ –๔๘
บทความอันดับที่ ๒๘๗ เรื่อง สกุลช่างศิลปะเทวรูปและพุทธรูปในจักรวรรดิศรีวิชัย ยังไม่ได้ตีพิมพ์บทความอันดับที่ ๓๐๗ เรื่อง ทวาราวดีกับศรีวิชัย ยังไม่ได้ตีพิมพ์บทความอันดับที่ ๓๐๘ เรื่อง คนจูงลิง ของทวาราวดี หรือราชกุมาร แห่งศรีวิชัย ตีพิมพ์ในหนังสือ“ต่วยตูน”พิเศษรายเดือน ปีที่ ๓๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ หน้า ๙๐ –๙๕
บทความอันดับที่ ๓๑๖ เรื่อง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อโลฆมาศ ๘ กร เป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรศรีวิชัย ตีพิมพ์ในสารนครศรีธรรมราช ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๘บทความทางวิชาการ อันดับที่ ๓๓๐ เรื่อง เมืองมลราชที่ลานสกา เมื่อ พ.ศ. ๖๙๒ ต้นตอดของอาณาจักรตามพรลิงค์ก่อนยุคศรีวิชัยบทความทางวิชาการ อันดับที่ ๓๗๘ เรื่อง นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์บทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๐๖ เรื่อง จดหมายตอบผู้เขียนเรื่องจอมนางหริภุญไชย จามเทวีที่เกียวโยง กับพระแก้วมรกต พระบรมโพธิสมภาร และศิลาจารึก หลักที่ ๒๓ ของศรีวิชัยนครศรีธรรมราชบทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๒๙ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อโมฆบาศ ๘ กร สัญลักษณ์อาณาจักรศรีวิชัยกับเจ้าแม่กวนอิมบทความวิชาการ อันดับที่ ๔๓๔ เรื่อง จตุคามรามเทพจิตวิญญาณ แห่งศรีวิชัย ตอนที่ ๑บทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๓๕ เรื่อง จตุคามรามเทพจิตวิญาณแห่งศรีวิชัย ตอนที่ ๒บทความ ทางวิชาการ อันดับที่ ๔๓๗ เรื่อง อสุรินทราหูพระโพธิสัตว์ความหวังในโลกหน้าของศรีวิชัยบทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๔๔ เรื่อง การยกยศพระบรมธาตุเจดีย์และพระประธานในพระวิหารหลวงเมืองนครศรีธรรมราชบทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๔๖ เรื่อง เขาอ้อ: มหาวิทยาลัยพราหมณ์แห่งสุวรรณภูมิ
บทความทางวิชาการ อันดับที่ ๔๔๘ เรื่อง ไม้เท้าเบิกไพรของฤาษีและเจ้าสำนักเขาอ้อ