ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 11.9012"
14.3533059
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 36' 13.9774"
100.6038826
เลขที่ : 109750
กระทงเรือ กาบมะพร้าว
เสนอโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 24 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 1366
รายละเอียด

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ

๑.กาบมะพร้าวที่แก่แล้ว
๒. ใบลาน
๓.กาวยาง
๔. สีน้ำมัน
๕.สีสเปย์

วิธีการคัดเลือกวัสดุอุปกรณ์

๑.อับดับแรกต้องเลือกกาบมะพร้าวที่แห้งแล้วและที่มีขนาดใหญ่พอประมาณ
๒.คัดใบลานที่มีขนาดใบใหญ่เพื่อนำมาตกแต่งกระทงเรือ

ขั้นตอน/วิธีทำ

๑.นำกาบมะพร้าวที่แห้งแล้วมาปาดตกแต่งให้ได้รูปทรงตามที่เราต้องการ
๒.นำใบลานเอาก้านแกนกลางออกแล้วนำมาตัดให้เท่ากันแล้วนำมาทากาว และทากาวที่กาบมะพร้าว นำใบลานที่ตัดเฉียง ทั้ง ๒ แผ่นมาติดที่กาบมะพร้าว
๓.ตัดกระดาษแข็งเป็นรูป ๓ เหลี่ยมแหลม ทากาวติดที่หัวเรือ ส่วนท้ายเรือตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมทากาวติดที่ท้ายเรือ
๔.นำกระดาษแข้งมาตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำเป็นกระดานทากาวติดที่หัวเรือ ต่อจากนั้นนำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทากาวแล้วติดที่ท้ายเรือ แล้วตัดกระดาษแข็งประมาณ ๓ นิ้วกว้างประมาณ ๓ เซนติเมตร ติดที่ท้ายเรืออีกครั้งหนึ่ง
๕.นำเหล็กแหลมมาเจาะรูที่ท้ายเรือ จำนวน ๔ รู
๖.นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาตัดเป็นเสาเรือ จำนวน ๔ ต้น ๒ ต้น ๒ ต้นแรกจะยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร ๒ ต้นหลังจะยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร เมื่อได้เสาแล้วก็นำมาใส่ที่รูเจาะไว้ เพื่อทำเป็นเสาหลังคาเรือ
๗.ตัดกระดาษแข็งมาตัดทำเป็นหลังคาให้ด้านหน้าใหญ่กว่าด้านหลังเล็กน้อย แล้วทาวติดที่เสาเรือที่ปักไว้แล้ว
๘.นำใบลานมาตัดโดยใช้กรรไกรฟันปลา เมื่อได้แล้วนำมาทากาวแล้วนำมาติดที่หลังคาเรือทั้ง ๔ ด้าน
๙.เมื่อเสร็จแล้วก็นำมาทาสีทุกส่วน ผึ่งให้แห้ง
๑๐.ต่อจากนั้นก็นำดอกไม้ รูปเทียน มาปักที่กระทงเรือ ก็เป็นอันเสร็จชิ้นงาน

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๙๒/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ไผ่ลิง อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสุรินทร์ แสนสุข
เลขที่ ๙๒/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ไผ่ลิง อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ ๐๘-๐๑๐๗-๓๐๙๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่