แคนม้ง เป็นเครื่องดนตรีชนเผ่าม้งที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะพบเห็นที่ไหนก็สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของม้ง แคนประดิษฐ์จากไม้ไผ่ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างพิเศษแตกต่างจากไม้ไผ่โดยทั่วไป ผู้ที่มีความสามารถในการเป่าแคนต้องมีใจรัก เสียงเพลงจากแคนม้งและเครื่องดนตรีประกอบเสียง ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ เข้าไปอยู่ในทุกพิธีกรรม ทุกเทศกาล ที่สำคัญเสียงเพลงจากแคนม้งสามารถบอกกล่าวเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าทุกเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความสุข ความทุกข์ของครอบครัว ชุมชน แต่ปัจจุบันคนรุ่นหลังในชุมชนบ้านธารทองขาดผู้สืบทอดความสามารถในการเป่าแคน เหลือเพียงผู้เฒ่าในชุมชน ๖ คน และเยาวชน ๑ คน ที่เป็นผู้สืบทอดและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดศิลปะเสียงเพลงจากแคนได้
ผู้สืบทอดเสียงเพลงจากแคนม้งบ้านธารทอง
๑. ผู้เฒ่าเลาก้า แซ่ย่าง บ้านเลขที่ ๓๑๗
๒. ผู้เฒ่าชาลี มุกดาสวรรค์ บ้านเลขที่ ๓๒ (๐๘๙ – ๘๕๔๖๕๑๕)
๓. นายจันทร์ แซ่เล่า บ้านเลขที่ ๑๗
ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์
ปัจจุบัน วัฒนธรรมการเป่าแคนเปลี่ยนแปลงไป ใช้เป่าในหลายงาน แม้งานรื่นเริงก็ใช้เป่าอาจเป็นเพราะมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน เสียงแคนไพเราะมาก น้ำเสียง ลีลาทำนอง ให้อารมณ์ ความรู้สึกที่บอก ถึงความรักอาลัย และความสูญเสีย
การเป่าแคนหรือเก้ง ของชาวม้งนี้ มีท่าเต้นประกอบการเป่าแคนด้วย มีลีลาและอารมณ์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้และน่าสืบทอด การบันทึกเรื่องราวของการทำแคน การเป่าแคน การเต้นตามทำนองแคน สู่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม จึงการบันทึกวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามารับใช้วัฒนธรรมอาจทำให้วัฒนธรรม การเป่าแคน การทำแคน และการเต้นตามทำนองของแคน อยู่คู่วัฒนธรรมชาวม้งต่อไป อย่างนิจนิรันดร์