ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 59' 25.5185"
14.9904218
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 21' 33.1477"
104.3592077
เลขที่ : 120344
พระธาตุบ้านโนนแกด
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 29 ธันวาคม 2554
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 29 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ศรีสะเกษ
2 1316
รายละเอียด

ที่ตั้ง วัดบ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ
ระยะทาง เดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ถนนศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ 8 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนนราดยางสาย หนองแคน-จันลม ๗ กิโลเมตร ถึงบ้านโนนแกดเลี้ยวขวาเข้าวัดบ้านโนนแกด ๕๐๐ เมตร
สภาพทั่วไป
บ้านโนนแกด ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มห้วยแฮดฝั่งตะวันออก ทิศตะวันตกของหมู่บ้านจดลำห้วยแฮด "โนนแกด" เป็นภาษาพื้นเมืองชาวกวย แปลว่า"โนนน้อย" ในสมัยเมื่อ ๕๐ ปีที่ผ่านมาคนทั่วไปในละแวกนี้เรียกบ้านโนนแกดด้วยภาษาพื้นเมืองชาวกวยว่า "โท๊ะเตีย หรือ ทุเตีย" แปลว่า บ้านเก่า ซึ่งก็ตรงกับความเป็นจริง จากการสัมภาษณ์หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม หรือ พระครูโกวิทพัฒโนดมเจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ (โนนแกด) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน อายุ ๙๘ ปี ท่านเล่าว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านโนนแกด เป็นชาวกวยเยอ มี ๖๒ ครัวเรือน เลยบ้านโนนแกดออกไปทางทิศใต้ประมาณ ๔๐๐ เมตร จะมีหมู่บ้านที่เป็นชุมชนโบราณหมู่บ้านหนึ่งชื่อบ้านโนนตูม ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีเตาเผาโบราณ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านโนนตูมนี้จะเป็นจุดสำคัญที่ลำห้วยดวนสาขาของห้วยแฮดแยกออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทอดไปตามทุ่งถึงบ้านดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่บริเวณตอนกลางของบ้านโนนแกด ด้านทิศเหนือวัดจะเป็น
เนินดินสูง มีบัลลังก์หินศิลาแลงรอบๆ เนินจะมี ร่องน้ำโค้งยาว ห่างจากแท่นบัลลังก์ออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตรทางทิศตะวันออกจะมีสระน้ำโบราณขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้ขุดลอกใหม่ วัดศรีธาตุ ( โนนแกด) จะอยู่ทิศใต้ของหมู่บ้าน และจะมีคูน้ำล้อมรอบทางทิศใต้ มาจนถึงบริเวณทิศตะวันออกของวัด และที่วัดแห่งนี้ก็มี พระธาตุเจดีย์ เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีะเกษประวัติความเป็นมา พระศรีธาตุเดิมเป็นพระธาตุที่ก่อด้วยอิฐทั้งองค์ จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ในบ้านโนนแกดเล่าว่าในสมัยที่ตนเองยังเป็นเด็กพระธาตุองค์เดิมที่ยังมีสภาพสวยงามลักษณะคล้ายพระธาตุพนม แต่ส่วนยอดจะกลมที่ยอดพระธาตุจะมีฉัตรสำริดหลายชั้นและ มีกระดิ่งโลหะเมื่อลมพัดจะมี เ สียงดัง ในทุกวันพระจะมีแสงลอยออกจากยอดพระธาตุ ชาวบ้านจึงเคารพ นับถือมากราบไหว้ สักการะบูชา ต่อมามีพวกกุลาเอาปืนมายิงกระดิ่งที่แขวนอยู่ฐานฉัตรบนยอดพระธาตุแล้วเอากระดิ่งไป ต่อมาพระธาตุได้ ล้มลงมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพระธาตุพนม จังหวัดนครพนมล้มลงนั่นเอง ชาวบ้านชาวเมืองที่เคยไปเคารพกราบไหว้ต่างรู้สึกเสียดายและ ได้ช่วยกันนำชิ้นส่วนที่สำคัญเก็บไว้ ท่ามกลางความเสียใจของพุทธศาสนิกชนนั้น หลวงปู่เกลี้ยง ได้มาจำพรรษาที่วัดบ้านโนนแกดและมีศรัทธาแรงกล้าที่จะบูรณะพระธาตุเจดีย์ ให้กลับมาดังเดิม จึงได้ร่วมกับคณะกรรมการวัดและพระผู้ใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษวางแผนบูรณะ โดยเชิญ
เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร มาดำเนินการขุดกรุฐานองค์พระธาตุ พบวัตถุโบราณมีค่ามากมาย อาทิ พระพุทธรูปทองคำ ๑๖ องค์ ผอบบรรจุ พระบรมธาตุ ๑ ใบ พระพุทธรูปเงิน ๑ ถาด บาตรพระ ๓ ใบ ดาบโบราณ ๑ เล่ม แหวนประดับพลอย ๔ วง และอื่นๆ อีกหลายรายการ จึงได้จัดสร้างห้องเก็บไว้ อย่างปลอดภัยจนถึงปัจจุบัน

อายุพระธาตุ จากการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ดำเนินการขุด ให้ความเห็นว่าพระธาตุ บ้านโนนแกดมีอายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี ก่อนล้มลงเคยได้รับการบูรณะมาแล้ว 1 ครั้ง การบูรณะ
ครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นการบูรณะครั้งที่ ๒ ปัจจุบันประชาชนมีความเลื่อมในศรัทธาในองค์พระธาตุ และหลวงปู่เกลี้ยงเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จึงมีญาติธรรมจากทั่วประเทศมานมัสการขอพร เป็นประจำ

ความสำคัญ เป็นโบราณสถานที่เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วประเทศ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางด้านพระพุทธศาสนา ในภูมิภาค และในจังหวัดศรีะเกษ และศึกษาชุมชนโบราณและพัฒนาการของชุมชนในบริเวณพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเมื่อต้นเดือน กันยายน ๒๕๔๘ นายชัยขรรค์ สีลวานิช นักโบราณคดีและคณะได้เดินทางไปสำรวจแหล่งโบราณคดีที่
หมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้สอบถามหลวงปู่เกลี้ยง เจ้าอาวาสวัด และคณะกรรมการวัด หลวงปู่เล่าว่าพื้นที่บริเวณบ้านโนนแกด บ้านโนนตูม ชาวบ้านขุดค้นพบ วัตถุโบราณจำนวน มาก มีนักสะสม วัตถุโบราณมาซื้อถึงบ้าน บางแห่งขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณก็ได้นำกระดูก ขึ้นมาเผาทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปแล้วก็มีส่วนหม้อดิน คนโท โบราณและเครื่องเคลือบดินเผาบางส่วนได้นำมามอบให้หลวงปู่ เก็บรักษาไว้หลวงปู่ได้นำมาให้ นายชัยขรรค์ สีลวานิช พิจารณาอายุ พบว่า เป็นภาชนะดินเผาลายเชือกทาบสีแดง ๒๑ ใบ และแบบผิวเรียบ ๑ ใบ สภาพสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์รุ่นเดียวกับ ภาชนะดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ส่วนคนโทเท้าช้าง ไหสี่หู และกระปุกดินเผาเคลือบ เป็นภาชนะขอมโบราณอายุกว่าพันปี

สถานที่ตั้ง
วัดบ้านโนนแกด
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านโนนแกด ถนน ถนนศรีสะเกษ-กันทรลักษ์
ตำบล ทุ่ม อำเภอ เมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ อีเมล์ sisaket@m-culture.go.th
ตำบล เมืองเหนือ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33000
โทรศัพท์ 045-617811 โทรสาร 045-617812
เว็บไซต์ http://province.m-cultue.go.th/sisaket
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่