ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 45' 45.9738"
6.7627705
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 26' 2.7197"
101.4340888
เลขที่ : 125440
กูโบร์ วอลีจูลอฮฺแซะห์ อับดุลเราะมาน พอเบาะห์
เสนอโดย ปัตตานี วันที่ 1 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 8 มีนาคม 2555
จังหวัด : ปัตตานี
0 1401
รายละเอียด

โต๊ะยังแซะห์วอลียูลอฮฺ อับดุลเราะห์มาน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะวาลียูลอฮฺ ที่มีความสำคัญต่อดินแดนมลายู และต่อนักปราชญ์ เช่น แซะดาวุด บินอับดุลลอฮฺ อัลฟาตอนีย์ อูเซ็น วาดี ตะโล๊ะมาเนาะ และท่านแซะห์อัรซาด อินโดนีเซีย ท่านมีชีวิตในสมัยปี ๑๑๒๑ อิจเราฮฺ ๑๗๐๙ มีวอลี เิกิดที่หมู่บ้านพอเบาะห์ ส่วนใหญ่ท่านเป็นที่รู้จักในหมู่นักปราชญ์รุ่นก่อน มีประวัติที่รู้จักในหมู่บ้านพอเบาะห์ ว่า เป็นผู้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ หลังจากท่านจากบ้านไปมีสิ่งมหัศจรรย์ หลายอย่างเกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น

๑.ท่านเดินทางไปและกลับจากประเทศมักกะฮฺภายใน ๑ วัน

๒.ขณะเดินทางกลับจากมักกะฮฺท่านพบเรือลำใหญ่อับบางอยู่กลางท้องทะเล และท่านได้ให้การช่วยเหลือเรือลำนั้น

๓.คนส่วนใหญ่ได้เห็นความศักดิ์สิทธิ์จองท่านในการลากเรือเข้าฝั่ง

หลังจากจบการศึกษาที่ประเทศมักกะฮฺ ท่านก็ได้เดินทางกลับมายังหมู่บ้านพอเบาะห์ เพื่อสอนหนังสือในหมู่บ้าน บางครั้งท่านก็จะเดินทางไปสอนหนังสือที่ประเทศมักกะฮฺ หรือร่วมละหมาดวันศุกร์ที่นั้น

แซะห์อับดุลเราะห์มาน เสียชีวิตที่มาดีนะห์ และศพถูกฝังไว้ที่กูโบร์ มาดีนะห์ อัลมูนัลฆาเราะห์

กูโบร์โต๊ะยัง แซะห์ คนส่วนใหญ่เชื่อว่า หากตั้งจิตอธิฐาน บนบานศาลกล่าวเรื่องใด ก็จะได้สมหวัง คนส่วนใหญ่จะมาเยี่ยมสักการะในวันพุธ วันอาทิตย์ และวันรายอ และจะแก้บนด้วยการบริจากแพะ หรือปล่อยแพะ หากคิดไม่ดีโดยการหยิบก้อนหินที่อยู่ในกูโบร์จะทำให้มืองิกงอ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จะมีชาวมาเลเซีย มาสักการะเยี่ยมเยีอนเป็นประจำ

สถานที่ตั้ง
กูโบร์โต๊ะยัง แซะห์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2/พอเบาะห์
ตำบล กระหวะ อำเภอ มายอ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
บุคคลอ้างอิง นายซานูซี วาโด
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอมายอ
ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
โทรศัพท์ 073323195-7 โทรสาร 073-323197
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่