ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 19' 2.5025"
14.3173618
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 27' 15.6949"
100.4543597
เลขที่ : 126518
พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (พระอาจารย์แม้น อาจารสมฺปนฺโน)
เสนอโดย RaNiDa วันที่ 13 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 6 เมษายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 862
รายละเอียด

ประวัติหลวงพ่อแม้น เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก

"หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน" หรือพระครูสมบูรณ์จริยธรรมถือเป็นพระเกจิชื่อดังอีก

รูปหนึ่งจังหวัดพระนครศรี อยุธยามีวัตรปฏิบัติดีเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไปวัตถุมงคลและเครื่องรางที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกโด่งดังไปไกลทั่วประเทศ เป็นทายาทพุทธาคมจากหลวงพ่อจงพุทธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดัง

ปัจจุบันหลวงพ่อแม้น สิริอายุ 72 ปี พรรษา 45 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

วัดหน้าต่างนอกต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระ นครศรีอยุธยา

ประวัติหลวงพ่อแม้น เกิดที่อ.สามโคกจ.ปทุม ธานี เมื่อวันที่ 13 เดือนมีนาคม 2481

โยมบิดา-มารดาชื่อ นายทองหล่อคานอ่อน และนางกุหลาบ ไตรเวท มีพี่น้องรวมทั้งหมด 11 คน เติบโตจากครอบครัวที่มีอาชีพทำนาและทำอิฐขายโดยฐานะของครอบครัวค่อนข้างยากจนจึงได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบกับมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันหลายคน จนเป็นเหตุให้ได้เล่าเรียนหนังสือน้อย

ชีวิตในวัยเยาว์ชอบการทำบุญตักบาตรมาก เกินกว่าความเป็นเด็กในวัยเดียวกัน

สมัยในวัยหนุ่มนายแม้นไม่เคยสนใจเรื่องเพศตรงข้ามเลย ทำแต่งานทุกอย่างเวลาว่างก็ไปปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ หลวงพ่อแม้น กลับสนใจเรื่องมนต์คาถาเริ่มศึกษาจากคนเฒ่าคนแก่ในย่านใกล้บ้าน และเที่ยวเสาะหาครูบาอาจารย์จนได้เป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดบางเตยนอก และฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยในท่านเป็นพระ

ต่อมา ท่านเดินทางเข้าจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาเพื่อไปเรียนวิชากับหลวงพ่อจง

วัดหน้าต่างนอก โดยหลวงพ่อจง ได้รับท่านเป็นศิษย์สอนแนวทางปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งหลวงพ่อจงมรณ ภาพ ในปีพ.ศ.2508

ครั้นอายุ 27 ปี ท่านตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดใหญ่ชัยมงคล

จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อพระครูภาวนารังสีเจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "อาจารสัมปันโน"

ภายหลังอุปสมบทได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดกลางคลองสามอ.คลองหลวง จ.ปทุมธา นี

จำพรรษาอยู่ได้หนึ่งพรรษาก่อนย้ายมาอยู่กับพระครูภาวนารังสีที่วัดใหญ่ชัยมงคล
ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อแม้นเริ่มศึกษาธรรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมตรี

ในปี พ.ศ.2510

ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีที่วัดพระศรีมหาธาตุไปจนถึงกาลออก

พรรษาครูที่สอนบาลีถึงแก่กรรม จนต้องทำให้หยุดเรียนอย่างกะทันหันทำให้หลวงพ่อแม้นกลับมาเรียนนักธรรมโทในปีเดียวกัน แต่ยังสอบไม่ผ่านหลวงพ่อแม้นก็ได้สอบอีกครั้ง จนได้นักธรรมโทและสอบนักธรรมเอกได้ในปี พ.ศ.2513 หลังจากนั้นมาหลวงพ่อแม้นได้เรียนพระปาติโมกข์และท่องพระปาติโมกข์จนจบ

ช่วงปี พ.ศ.2515 ช่วงนั้นวัดหน้าต่างนอก ยังขาดเจ้าอาวาสรูปใหม่ที่จะปกครองวัดหลัง

จากหลวงพ่อจงได้ละสังขารไป ทางคณะกรรมการวัดหน้าต่างนอกได้มีมติให้อาราธนาหลวงพ่อแม้น แห่งวัดกลางคลองสาม อ.คลอง หลวง จ.ปทุมธานีมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดหน้าต่างนอกเป็นต้นมา

เมื่อก้าวแรกของหลวงพ่อแม้น ที่เหยียบพื้นวัดหน้าต่างนอกหลวงพ่อแม้นได้นมัส

การบารมีธรรมหลวงพ่อจงพระเถราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่และได้กล่าวว่ามีความปลื้มปีติเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามารับใช้ใต้พระบารมีของหลวงพ่อจงอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา หลวงพ่อแม้นได้ศึกษาวิทยาคมตามตำราที่หลวงพ่อจงได้ทิ้งไว้ให้อย่างแตกฉาน

เป็นพระเถระอีกหนึ่งรูปที่เดินตามรอยปฏิปทาบารมีของหลวงพ่อจงด้วยความสม่ำเสมอมาจนถึงวันนี้เกือบ 40 ปีมาแล้วที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งทุ่งวัดหน้าต่างนอก

ขณะเดียวกันยังมีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสในเรื่องของวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังด้วย

กิตติศัพท์หลวงพ่อแม้นในฐานะศิษย์เอกพระเกจิดังเมืองอยุธยาหลายรูปยิ่งทำให้การปลุกเสกวัตถุมงคลเป็นที่ปรารถนาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ถือเป็นเนื้อนาบุญของชาวกรุงเก่าอย่างแท้จริง

สถานที่ตั้ง
วัดหน้าต่างนอก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล หน้าไม้ อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระครูสมบุรณ์จริยธรรม
ชื่อที่ทำงาน วัดหน้าต่างนอก
อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13190
โทรศัพท์ 08 1850 8275 โทรสาร 0 3578 3051
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่