โปงลางหรือเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเดิน เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก " เกราะลอ " หรือ " ขอลอ " คำว่า โปงลางนี้ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่งที่มีการละเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือบางส่วน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นกำเนิดโปงลาง ความหมายของโปงลางนั้นมี 2 คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง"โปง เป็นสิ่งที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้ายตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑบาต ให้ญาติโยมเตรียมตัวทำบุญตักบาตร และตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล ( สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้นหมายถึง ลางดี ลางร้าย โปงลาง หรือ เกราะลอ มีประวัติโดยย่อ คือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้าน ในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หลากเลื่อม ( ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อย เรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนก กา ที่มีกินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตรได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเมือง จังหวัด กาฬสินธุ์และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องชายนายปานได้รับการถ่ายทอดการตีเกราะลอ ให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นที่รู้จัก คือนายเปลื้อง ฉายรัศมี
วิธีการเทียบเสียง
หมากกลิ้งกล่อมทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาดและเสียงตาม ต้องการยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้นซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบันที่มีเจ็ดเสียงและมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ตะกั่วผสมขี้ผึ้งถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียงและคุณภาพเสียงที่ต้องการการบรรเลงหมากกลิ้งกล่อมหรือโปงลางนิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้นแต่ละคนใช้ไม้ตี 2 อัน คนหนึ่งตีเสียงเสพโดยตี 2 เสียงของเสียงติดสูตรลายแคนส่วนอีกคนหนึ่งตีเป็นทำนองเพลงการเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดยการสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเช่นเพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น
โปงลางลูกที่ 1
ใช้สัญลักษณ์ ม
เสียงมีต่ำ
โปงลางลูกที่ 2
ใช้สัญลักษณ์ ซ
เสียงซอลต่ำ
โปงลางลูกที่ 3
ใช้สัญลักษณ์ ล
เสียงลาต่ำ
โปงลางลูกที่ 4
ใช้สัญลักษณ์ ด
เสียงโด
โปงลางลูกที่ 5
ใช้สัญลักษณ์ ร
เสียงเร
โปงลางลูกที่ 6
ใช้สัญลักษณ์ ม
เสียงมี
โปงลางลูกที่ 7
ใช้สัญลักษณ์ ฟ
เสียงฟา
โปงลางลูกที่ 8
ใช้สัญลักษณ์ ซ
เสียงซอล
โปงลางลูกที่ 9
ใช้สัญลักษณ์ ล
เสียงลา
โปงลางลูกที่ 10
ใช้สัญลักษณ์ ด
เสียงโดสูง
โปงลางลูกที่ 11
ใช้สัญลักษณ์ ร
เสียงมีเรสูง
โปงลางลูกที่ 12
ใช้สัญลักษณ์ ม
เสียงมีสูง
โปงลางลูกที่ 13
ใช้สัญลักษณ์ ซ
เสียงซอลสูง
ส่วนประกอบของโปงลาง
โปงลางแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ผืนโปงลาง
- ขาโปงลาง
- ไม้ตีโปงลาง
1.ผืนโปงลาง
ประกอบด้วยลูกโปงลางทั้งหมด 13 ลูกโดยแต่ละถูกจะเรียงจากลูกใหญ่ (ข้างบน) ลงไปหาลูกเล็ก(ข้างล่าง)ลูกใหญ่ที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
3 นิ้ว ยาว 60 เซนติเมตรจะเล็กตามลำดับไปจนถึงสุดท้ายซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว โดยความยาวของท่อนที่13 หรือท่อนสุดท้ายจะเหลือยาว
27 เซนติเมตรปลายไม้ทั้งสองจะกลมทุกท่อนห่างจากท่อนปลาย 7 เซนติเมตรเจาะรูสำหรับร้อยผูกเชือกขนาด 2 หุนครึ่ง ตรงกลางลูกโปงลางจะตกแต่งให้บางทั้งสองด้านเพื่อปรับระดับเสียงของโปงลางให้เข้ากับเสียงแคนซึ่งลูกใหญ่ที่อยู่ด้านบนจะมีเสียงต่ำส่วนลูกที่เล็กสั้นจะมีเสียงสูงโปงลางจะมี 5 เสียง คือ โด เร มี ซอลลา
2. ขาโปงลาง
ในสมัยก่อนผืนโปงลางจะไม่นิยมใช้ขาแต่มักผูกโยงหรือแขวนไว้กับเสาส่วนอีกด้านหนึ่งจะผูกติดกับพื้นหรือใช้ขาเกี่ยวไ ว้แต่ในปัจจุบันจะนิยมใช้ขาโปงลางแบบถาวรเพื่อสะดวกในการติดตั้งขณะบรรเลง ขาโปงลางจะทำมาจากไม้เนื้อแข็งลูกใหญ่ไว้ด้านบนโดยจะมีตะปูตอกไว้ด้านบนของเสา ส่วนด้านล่างก็จะมีตะปูตอกไม้เหมือนกันเพื่อเกี่ยวเชือกร้อยโปงลาง
3. ไม้ตีโปงลาง
ไม้สำหรับตีโปงลางส่วนมากจะทำด้วยไม้ชนิดเดียวกันกับไม้ที่ทำโปงลางไม้ที่นิยมทำไม้ตีมากที่สุดคือไม้มะหาดเพราะจะมีเสีย ดังกังวานมากเมื่อไม้ตีกระทบลูกโปงลาง ไม้ตีโปงลางจะมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งมักจะแตกต่างกันไปตามความถนัดของผู้ตีส่วนมากจะมีความยาว 20-25 เซนติเมตร ด้านหัวของไม้ตีจะมีขนาดใหญ่มีทั้งแบบหัวกลม หัวแบน และหัวโค้งในปัจจุบันนิยมแบบหัวโค้งเพราะในเวลาตีแบบหัวโค้งเพราะในเวลาตีแบบหัวโค้งสามารถที่จะเลื่อนไหลได้อย่างรวดเร็วโดยไม่สะดุดลูกอื่นๆ
การทำโปงลาง
ไม้ที่ใช้ทำโปงลางนั้นส่วนมากที่ใช้ไม้แข็งเพราะจะให้เสียงที่ไพเราะและกังวาล ไม้ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ไม้หมากหาด ( มะหาด ) ใช้ทำลูกโปงลางไม้ประดูใช้ทำไม้ตีและขาตั้ง ไม้มะหาดนั้นจะแบ่งตามเกรด ดังนี้
1. ไม้มะหาดทองคำจัดอยู่ในเกรด A 2. ไม้มะหาดทองคำจัดอยู่ในเกรด B 3. ไม้มะหาดทองคำอยู่ในเกรด C
วิธีการทำลูกโปงลาง
จะตัดไม้จากต้นเป็นท่อน ๆ ท่อนละ 65 เซนติเมตร แต่ละท่อนจะผ่าแบ่งออกได้ 4-8 ลูก แล้วแต่ขนาดของไม้ แล้วนำท่อนไม้ มาเหลานำมาเข้าเครื่องกลึงเพื่อให้สวยงาม เมื่อเสร็จแล้วก็วัดความยาวลูกแรกยาว 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร ลูกต่อมาลดลงตามสัดส่วน ห่างกันลูกละ 1 เซนติเมตร ลูกสุดท้ายยาว 29 เซนติเมตร ต่อไปนำไม้ที่ได้มาวัดหัวท้ายข้างละ 12 เซนติเมตร และลดลงตามส่วนลูกล่างสุดวัดได้ 6 เซนติเมตร ในแต่ละข้างเรียงไม้ให้สม่ำเสมอกันแล้วนำมีดมาถากให้มีลักษณะเว้าทั้ง ของลูกโปงแล้วนำมาแต่งเสียงโดยวิธีการตัดไม้ออก และเทียบเสียงให้กับโปงลางต้นแบบ ขั้นตอนสุดท้าย เจาะรูโดยวัดเข้ามาวิธีเดียวกันกับการถากลูกโปงลางให้เว้า
วิวัฒนาการของวงโปงลาง
แต่เดิมเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ยังไม่มีการผสมวงกันแต่อย่างใดใช้เล่นเป็นเครื่องเดี่ยวตามความถนัดของนักดนตรีที่มีอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ โอกาสที่จะมาร่วมเล่นด้วยกันได้ก็ต่อเมื่อมีงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ เช่น บุญเผวด จะมีการแห่กันหลอนของแต่ละคุ้มหรือแต่ละหมู่บ้านมาที่วัดคุ้มไหนหรือหมู่บ้านไหนมีนักดนตรีอะไรก็จะใช้บรรเลงและแห่ต้นกันหลอนมาที่วัด พอมาถึงวัดก็จะมีการผสมผสานกันของแต่ละเครื่องมือ เช่น พิณ แคน ซอ กลองเป็นต้น หลังจากผสมผสานกันโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว ก็จะแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเชื่อมเข้าหากันโดยเฉพาะนักดนตรีจะไปมาหาสู่กันร่วมกันเล่น ร่วมกันสร้าง ในที่สุดก็กลายเป็นวงดนตรีและมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เช่น วงโปงลาง ปี พ.ศ.2505 หลังจากอาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจและศึกษาพัฒนา การตีและการทำเกราะลอจนเปลี่ยนชื่อมาเป็นโปงลางและได้รับความนิยมจากชาวบ้านโดยทั่วไป จากนั้นอาจารย์เปลื้องได้เกิดแนวความคิด ในการนำเอาเครื่องดนตรีอีสานชนิดอื่นๆ มาบรรเลงรวมกันกับโปงลาง จึงได้รวบรวมสมัครพรรพวกที่ชอบเล่นดนตรี มาบรรเลงรวมกัน ปรากฏว่าเป็นที่แตกตื่นของชาวบ้าน พอตกเย็นก็จะมีคนมามุงดูขอให้บรรเลงให้ฟัง แต่ละวันหมดยาเส้น ไปหลายหีบ ทำให้ได้รับความนิยม และเป็นที่สนใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก จนมีผู้ว่าจ้างไปบรรเลงเป็นครั้งแรกเนื่องในงานอุปสมบท ณ บ้านปอแดง ตำบลอุ่นเม่า อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในราคา 40 บาท เป็นที่ชื่นชอบของของผู้ที่พบเห็นและได้ฟังจากงานอุปสมบทของบ้านปอแดง และได้รับการติดต่อให้ไปแสดงอีกในหลายๆ ที่ ปี พ.ศ.2511 อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ได้นำคณะโปงลางไปร่วมแสดงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพรรษา 5 ธันวามหาราช จึงมีโอกาสที่ทำให้ได้พบกับนายประชุม อิทรตุล ป่าไม้อำเภอยางตลาด ซึ่งนายประชุมได้นำวงดนตรีสากลมาร่วมบรรเลงประกอบลีลาศ มหรสพที่แสดงในคืนนั้นมีคณะหมอลำหมู่ ซึ่งหัวหน้าหมอลำเป็นเพื่อนอาจารย์เปลื้อง ทั้งสองจึงไปขอยืมกลองชุดสากล เพื่อนำไปเล่นเข้ากับหมอลำ นายประชุมจึงไม่ขัดข้องแต่ต้องให้วงลีลาศเลิกก่อน หมอลำก็ทำการแสดงไปก่อนได้ครึ่งคืนก็ต้องพักทานข้าวตอนดึกจึงทำให้เกิดช่องว่างของเวทีผู้คนก็ยังไม่กลับยังรอดูหมอลำต่อ อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี จึงได้นำเอาโปงลางที่ตนนำมาขึ้นแขวนบนต้นเสาของเวที ในขณะนั้นหัวหน้าหมอลำก็ยังไม่รู้จัก และไม่เคยเห็น โปงลางมาก่อน ทุกคนก็เกิดความสงสัยว่าอาจารย์เปลื้องนำอะไรขึ้นมาแขวนกับต้นเสาบนเวที แต่พอคณะโปงลางบรรเลงขึ้น ทุกคนต่างตกตะลึง และสงสัยว่าสิ่งที่กำลังตีอยู่ในขณะนั้นคืออะไร หลังจากหมอลำกินข้าวเสร็จผู้ชมก็ยังไม่ยอมให้เลิกเล่น ขอให้เล่นต่อแทนหมอลำไปเลยก็ได้ จากการแสดงในครั้งนั้นนี่เอง นายประชุม ได้ชวนอาจารย์เปลื้อง ไปอยู่ด้วยโดยฝากให้เข้าทำงานที่โรงเลื่อยยางตลาด นายประชุม อินทรตุล จึงได้สนับสนุนและตั้งวงโปงลางขึ้น ชื่อว่าวงโปงลางกาฬสินธุ์ โดยมอบหมายให้อาจารย์เปลื้อง เป็นหัวหน้าวง จากผลงานการแสดงที่หลังจากตั้งวงแล้วไม่นาน นายบุรี พรหมลักขโนผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ติดต่อให้นำโปงลางไปแสดงออกรายการทีวีช่อง 5 จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นการเผยแพร่ และท่านได้แนะนำว่าน่าจะมีชุดฟ้อนรำไปด้วยจะน่าดูยิ่งขึ้น นายประชุม อิทรตุล จึงมอบหมายให้คุณเกียง บ้านสูงเนิน คุณลดาวัลย์ สิงห์เรือง (ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปะกาฬสินธุ์ในขณะนั้น) และภรรยาของนายประชุมเองฝึกชุดฟ้อน ชุดแรก คือ รำซวยมือ ชุดที่สอง คือ ชุดเซิ้งภูไท ชุดเซิ้งสวิง ชุดบายศรีสู่ขวัญ และไทภูเขา ต่อมาคณะโปงลางกาฬสินธุ์ได้มีโอกาสไปแสดง ณ วังสวนจิตลดา วังละโว้ วังสวนผักกาด วังสราญรมย์ และแสดงเผยแพร่ในมหาลัยต่างๆ
การประกวด
เป็นการจัดประกวดตามเทศการต่างๆ หรือจัดการประกวดตามสถานที่ต่างๆ เช่น
การประกวดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ประเภท ก.ประชาชนทั่วไป) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประเภท ข.นักเรียนมัธยม) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (ประเภท ค.นักเรียนประถม) ในงานประจำปีจังหวัดกาฬสินธุ์ "มหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์