ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 34' 18.1708"
18.5717141
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 49' 26.6812"
98.8240781
เลขที่ : 127711
หำยนต์
เสนอโดย ANO วันที่ 19 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 19 มีนาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 1747
รายละเอียด

หำยนต์

หำยนต์ อ่านว่า หำ - ยน คือ แผ่นไม้แกะสลักที่อยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอนในเรือนกาแลของชาวล้านนา มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ก้านขด ลายเมฆ ลายน้ำ ลายประแจจีน หรือลายเรขาคณิตอย่างง่าย ชาวล้านนาเชื่อว่าหำยนต์มีพลังลึกลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไปแก่เจ้าของบ้าน มีการทำหำยนต์ขึ้นในเวลาสร้างเรือนใหม่ โดยนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสามงคล (เสาเอก) เพื่อทำพิธีสูตรถอน และอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตที่หำยนต์ จากนั้นแกะสลักแล้วทำการติดตั้งโดยมีพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหาร มีปราชญ์ประจำหมู่บ้านทำหน้าที่กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์

การกำหนดขนาดของหำยนต์ ใช้วิธีวัดขนาดจากความยาวของเท้าเจ้าของบ้าน ถ้าเป็นประตูขนาดเล็กจะใช้ขนาดสามเท่าของเท้า ประตูขนาดใหญ่จะวัดให้ได้ขนาดสี่เท่าของเท้าเจ้าของบ้าน โดยถือว่าการทำหำยนต์เป็นการข่มผู้ที่จะเดินลอดผ่านข้างใต้ด้วย เชื่อกันว่าหำยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของเรือนและครอบครัวได้ ในด้านการใช้งาน หำยนต์อยู่เหนือข่มประตูห้องนอน แบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติ๋น(ชานร่มรับแขกบนเรือน) เป็นการแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของครอบครัวซึ่งนับถือผีตระกูลเดียวกันออกจากผู้มาเยือน และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของเรือนที่ผู้อื่นไม่ควรกล้ำกลายเข้าไปโดยพละการ การถลำก้าวล้ำเข้าไปถือเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมาลาโทษ ทัศนะของนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับหำยนต์มีมากหลาย เช่น เป็นยันตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยอันตราย บ้างว่าอาจมีที่มาจากรูปแบบทับหลังซุ้มประตูในสถาปัตยกรรมเขมรที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาอีกต่อหนึ่ง แล้วแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนาภายหลัง

อาจารย์สงวน โชติสุขรัตน์ อธิบาย คำว่า "หำ" ว่าเป็นภาษาล้านนาหมายถึง "อัณฑะ" อันเป็นสิ่งที่รวมพลังของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยน" คงมาจาก "ยนตร์" แปลว่าสิ่งป้องกันรักษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหำยนต์จึงเป็นส่วนตกแต่งเรือนและทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันอันตรายจากภายนอก อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหำยนต์เปรียบเป็นอัณฑะของพม่า เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่องต่อพม่า ส่วนอาจารย์เฉลียว ปิยะชน อธิบายว่าเมื่อชาวล้านนาจะขายบ้านหรือซื้อบ้านต่อจากเจ้าของบ้านคนเก่า จะทำพิธีด้วยการตีหำยนต์แรงๆ หรืออาจทำลาย เพื่อขจัดความขลัง ถือเป็นการทำให้หมดความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเห็นที่ตรงกันกับอาจารย์ ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ส่วนอาจารย์มณี พยอมยงค์ เห็นว่า หำยนต์ อาจมาจากคำว่า ยันตะ แปลว่า ยันต์ของพระอรหันต์ โดยในลวดลาย ที่แกะสลักบนแผ่นหำยนต์นั้น น่าจะมีคาถาติดอยู่ อาจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี สันนิษฐานว่า หำยนต์ น่าจะเรียกว่า หัมยนต์ มากกว่า มาจากคำว่า หัมมิยะอันตะ คำว่า "หัมมิยะ" แปลว่า ปราสาทโล้น หมายถึงเพิงบังแดดชั่วคราว คำว่า "อันตะ" แปลว่า ยอด รวมแล้วแปลความว่า ปราสาทที่ไม่มียอด และท่านเห็นว่าเป็นการทำเพื่อตกแต่งเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องคาถาอาคม ที่มาของชื่อและความหมายนั้นนับว่ามีข้อคิดเห็นที่หลากหลายนัก

สถานที่ตั้ง
หำยนต์
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 5 บ้านสารภี
ตำบล ทุ่งรวงทอง อำเภอ แม่วาง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดสารภี
บุคคลอ้างอิง พระครูวรกิจพิธาน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอแม่วาง อีเมล์ anothai_cmu@hotmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 1 ต.บ้านกาด
ตำบล บ้านกาด อำเภอ แม่วาง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50360
โทรศัพท์ 053-363176 โทรสาร 053-363176
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่