ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 129767
ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี
เสนอโดย ปทุมธานี วันที่ 1 เมษายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 มีนาคม 2559
จังหวัด : ปทุมธานี
1 4076
รายละเอียด

ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี

จังหวัดปทุมธานี ได้อนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๕๒ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ดำเนินโครงการศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี เพื่อพัฒนาศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ซึ่งเป็นโบราณสถาน และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และเพิ่มพื้นที่ในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ แก่ปราชญ์ท้องถิ่น ศิลปิน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้ประกอบการสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ตลอดจนช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในจังหวัดปทุมธานีด้วย

นิทรรศการภายศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี ใน จัดแบ่งออกเป็น ๕ โซน ดังนี้

โซน ๑ แนะนำจังหวัดปทุมธานี

คุยเฟื่องเรื่องเมืองประทุม(ธานี)Standy boardของผู้คนต่างสาขาอาชีพ ต่างเพศต่างวัย เล่าเรื่องราวชีวิตของเขาในเมืองปทุมธานี สังคมเมืองเล็กที่มีความสำคัญไม่แพ้มหานครใหญ่ ผ่านช่วงเวลาในมุมมองต่างๆ กัน

- Modelสายน้ำผ่านเมืองแผนที่จังหวัดติดตั้งไฟวิ่งแสดงถึงเส้นทางต่างๆ โครงข่ายของแม่น้ำเจ้าพระยา คลองเล็กคลองน้อยที่สำคัญ ทั้งคลองขุดและทางน้ำธรรมชาติ เช่น คลองรังสิต คลองเชียงราก ฯลฯ รวมถึงสถานที่สำคัญของเมืองปทุมธานี เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่ราชการ ชุมชน และสถานที่สำคัญของจังหวัด

โซน ๒ ย้อนอดีตเมืองประทุม

- บอร์ดข้อมูล/วีดิทัศน์/Voice Overนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองสามโคกโบราณผ่านหลายยุคหลายสมัยจนเข้าสู่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์และกลายเป็นเมืองปทุมธานีและจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน รวมถึงที่มาของชื่อเมืองทั้งอดีตและปัจจุบัน

- สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

- สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย: สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

- สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

- เสด็จประพาสต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

- รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

- สมัยปัจจุบัน

โซน ๓ ศาสนาและประเพณี

จัดแสดงบอร์ดข้อมูลรากแก้วของศรัทธาและสื่อInteractiveนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาผ่านวิถีของชาวเมืองปทุมฯ เช่นชาวมอญ ชาวจีนฯ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนและการประกอบสัมมาอาชีพ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ยังคงคุณค่าของท้องถิ่นสืบทอดจากคนรุ่นก่อนจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีส่งข้าวแช่ การถวายธงตะขาบ การเล่นลูกหนู

โซน ๔ ภูมิปัญญาสรรสร้าง

- พุทธศิลป์แห่งศรัทธาบอร์ดข้อมูลและสื่อInteractiveนำเสนอเรื่องราวสะท้อนถึงอัตลักษณ์สำคัญของท้องถิ่นและสะท้อนถึงความสูงส่งด้านพลังศรัทธา ปัญญา และการเข้าถึงสุนทรียะทั้งในแบบจารีต ช่างหลวงและช่างพื้นบ้านในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม งานประดับตกแต่ง เช่น หน้าบัน เสาหงส์ ธงตะขาบ ฯลฯ

- ภูมิปัญญาท้องถิ่นบอร์ดข้อมูล ดิสเพลย์ และการทำจำลอง เพื่อเสนอเรื่องราวของงานฝีมือ งานช่างพื้นบ้านท้องถิ่นที่อยู่คู่ชุมชนมาตั้งแต่ การตั้งบ้านตั้งชุมชน เช่นงานหัตถกรรม งานเครื่องปั้นดินเผา การตอกกระดาษ การแทงหยวก รวมถึงงานแสดงพื้นบ้าน เช่น วงปี่พาทย์มอญ การแต่งกาย และการทำอาหาร

โซน ๕ โลกแห่งการเรียนรู้

- ศูนย์ศึกษาและแหล่งเรียนรู้บอร์ดข้อมูลและสื่อInteractiveนำเสนอข้อมูลและแนะนำสถานที่ต่างๆ ที่เป็นแหล่งของการเรียนรู้นอกโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ทั้งด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดีทั้งของภาครัฐและเอกชน

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ หออัครศิลปิน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ

- แหล่งพักผ่อนหย่อนใจบอร์ดข้อมูลและสื่อInteractiveนำเสนอข้อมูลสถานที่

ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองปทุมธานี เช่น ตลาดน้ำ สวนสนุก ฯลฯ

สถานที่ตั้ง
ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง ประคอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 02-5934270 โทรสาร 02-5934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่