การทำกระเบื้องดินเผาด้วยมือ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอด
กันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ปัจจุบันนี้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เท่าที่ได้สืบค้นการทำกระเบื้อง
ดินเผาด้วยมือจะเห็นได้ว่า พบอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นคือที่ตำบลสวนพริก
วัตถุดิบที่ใช้ทำกระเบื้องดินเผามีดังนี้
1.ดินเหนียว ที่มีเนื้อละเอียด
2.ทรายละเอียด
3.น้ำ
4.ฟืนไม้ไผ่,ฟืนไม้กระถิน หรือตอไม้เก่าผุๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ทำกระเบื้องดินเผาได้แก่
1.แบบไม้เข้ารูป
2.เครื่องตีดิน
ขั้นตอนและวิธีทำกระเบื้องดินเผาด้วยมือ
1.นำดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียด นำมาแช่น้ำในบ่อไว้ประมาณ 1 คืน
2.หลังจากแช่น้ำในบ่อไว้ประมาณ 1 คืนแล้ว นำออกมาย่ำด้วยเท้า ประมาณครึ่งวัน
แต่ปัจจุบันนี้ใช้เครื่องตีดินประมาณ 3 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำดินเหนียวมารวมกัน นำกระสอบป่านมา
คลุมทับ พรมน้ำให้กระสอบชื้น เพื่อไม่ให้กระเบื้องแข็งตัว เพราะถ้ากระเบื้องแข็งตัวแล้ว ไม้จะตัด
กระเบื้องไม่ได้
3.พอรุ่งเช้านำดินเหนียวมาวางบนแบบของรูปกระเบื้อง หรือภาษาพื้นบ้านของภูมิปัญญา
ท้องถิ่นเรียกว่า "พิมพ์ยอด" ตัดแต่งเป็นรูป (งวง)สำหรับเกี่ยวหลังคา กระเบื้องดินเผาด้วยมือมี
หลายแบบด้วยกันได้แก่ แบบหางว่าว แบบหางมน แบบใบขนุน
4.หลังจากนั้นนำกระเบื้องดังกล่าวไปพักไว้ประมาณ 4 สัปดาห์ให้แห้ง แล้วนำไปตาก
แดดที่ร้อนจัดประมาณครึ่งวัน
5.เมื่อตากแดดที่ร้อนจัดประมาณครึ่งวันแล้ว นำมาเรียงบรรจุเข้าเตาเผา ประมาณ 1 คืน
กับอีก 1 วัน ซึ่งการบรรจุกระเบื้องดินเผาเข้าเตาเผาแต่ละครั้งประมาณ 20,000 แผ่น
6.เมื่อครบกำหนด 1 คืนกับอีก 1 วันแล้ว ต้องรอให้กระเบื้องดินเผาเย็นเสียก่อน แล้วจึง
นำออกมาจากเตาเผาและนำไปใช้ได้
จุดเด่นของกระเบื้องดินเผาด้วยมือ คือ การใช้วัตถุดิบจากดินเหนียว มีความแข็งแรงทน
ทาน อายุการใช้งานสูง เมื่อนำไปมุงหลังคาภายในบ้านจะมีความเย็นสบาย
สำนักศิลปากรที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะนำกระเบื้องดินเผานี้ไปมุงหลังคาจตุรมุข
และตามโบราณสถานที่ชำรุด ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงยังสั่งซื้อกระเบื้องดินเผานี้นำไปมุง
หลังคาบ้านเรือนไทย ศาลาไทย หรือตามวัดต่างๆ
โดย...วัฒนธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา