ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 131970
พระยาโบราณราชธานินทร์ กับสถาปัตยกรรมที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี
เสนอโดย kodchanan ruenchaichon วันที่ 23 เมษายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 มีนาคม 2559
จังหวัด : ปทุมธานี
0 350
รายละเอียด

พระยาโบราณราชธานินทร์ ผู้วางผังเมืองปทุมธานี

พระยาโบราณราชธานินทร์ มีนามเดิมว่า นายพร เดชะคุปต์ เป็นชาวบางกอกน้อย เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๑๔ เป็นบุตรของขุนฤทธิ์ดรุณเศรษฐ(เดชา เดชะคุปต์) และนายไผ่ นามสกุลเดิม กันตามะระ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชวนไปรับราชการที่กระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะเมื่อครั้งรับราชการอยู่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึง ๓๓ ปี ในตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยมณฑลอยุธยา ผู้ว่าราชการอยุธยา สมุหเทศบาลมณฑลอยุธยา และอุปราชมณฑลอยุธยา ท่านได้เป็นผู้บุกเบิกค้นคว้าโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขุดค้นแผนผังปราสาทพระราชฐานบริเวณพระราชวังโบราณ และถวายความคิดเห็นการป้องกันตลิ่ง วัดพนัญเชิงพัง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโบราณราชธานินทร์สยามมินทรภักดิ์ พิริยะพาหะ

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นผู้วางผังเมืองปทุมธานีใหม่ และยังเป็นผู้ควบคุมการดำเนินการสร้างศาลาว่าการเมืองปทุมธานี(หลังเดิม) จวนเจ้าเมือง ที่ว่าการเมืองปทุมธานี บ้านพักผู้พิพากษา เรือนจำปทุมธานี รวมทั้งสถานที่ราชการอื่นๆ โดยย้ายศาลากลางจังหวัดและสถานที่ราชการอื่นๆ ของเมืองปทุมธานี จากบ้านโคกชะพลู ตำบลบางกระดี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตำวันออก มาตั้ง ณ ด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อความสะดวกในการสัญจรของประชาชนที่มาติดต่อราชการ

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 02-5934270 โทรสาร 02-5934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่