ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 12' 42.6972"
15.21186032831536
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 56' 0.4463"
104.93345730509338
เลขที่ : 132716
บ้านพักพิง และบ้านพระพร
เสนอโดย annzii non วันที่ 27 เมษายน 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 31 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2523
รายละเอียด

บ้านพระพรก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1995 โดยเริ่มต้นจาก การร่วมกันของ กลุ่มอาสาสมัคร คริสเตียนไทย กลุ่มหนึ่งที่มีภาระใจที่จะทำงานช่วยเหลือ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้งและขาดผู้ดูแล โดยเริ่มจากการนำเด็กๆเหล่านี้มาดูแลที่บ้านกันเองภายในกลุ่มเป็นการเริ่มต้น และต่อมาก็ได้รับเด็กเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนบ้านที่อาศัยนั้นเริ่มแออัดจึงได้ย้ายไปเช่าบ้านอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้เด็กได้อยู่อาศัยและลดความแออัดโดยตั้งชื่อว่า "บ้านพระพร" โดยต่อมาได้มีเพื่อนๆ และคนรู้จักได้มาเยี่ยมเยียนจึงแนะนำให้คนอื่นๆได้ทราบกันมากขึ้น

ต่อมาในปี 2004 ได้รวบรวมเงินจำนวนหนึ่งที่ได้รับจากการบริจาค ทำการซื้อบ้านเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับเด็กๆไว้เป็นการถาวร ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบันนี้ โดยเด็กๆจะอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวหนึ่ง ที่มีสมาชิกในบ้านหลายคน โดยแต่ละคนมีหน้าที่ทำงานภายในบ้านช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องต่างๆ.......

บ้านพักพิงเป็นบ้านที่ให้ความช่วยเหลือแก่ เด็กติดเชื้อ HIV และเด็กที่ได้รับผลกระทบ จากเชื้อ HIV ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2003 โดยเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากบ้านพระพร เนื่องจากมีเด็กที่ทางเราจะรับเข้ามาดูแลนั้นมีเด็กบางคนได้รับเชื้อ HIV ทำให้เราไม่สะดวกใน การดูแลเพราะเด็กกลุ่มนี้จะต้องได้รับการดูแลพิเศษบางประการจากเด็กทั่วไป

นอกจากนี้ก็ยังมีเด็ก อีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจาก พ่อแม่หรือผู้ปกครองนั้นติดเชื้อ HIV หรือเสียชีวิตลง ทำให้เด็กขาดผู้ดูแล ซึ่งเด็กบางคนนั้นอาจไม่ได้ติดเชื้อเช่นเดียวกันกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดย เด็กๆกลุ่มนี้ส่วนมากได้รับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องจากคนทั่วไป ทางเราจึงเห็นว่าน่าจะมีสถานที่สักแห่งที่จะช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้เราไปเช่าบ้านอีกแห่งหนึ่งเพื่อให้เด็กๆ เหล่า นี้ได้เข้ามาพักอาศัยและดูแลโดยตั้งชื่อว่า "บ้านพักพิง"

หลายคนที่ได้ทราบข่าวและ เห็นความสำคัญ ของงานดังกล่าวจึงได้ให้ช่วยเหลือในปัจจัยต่างๆ โดยต่อมาในปี 2006 จึงได้สร้างอาคารให้เพื่อ ใช้สำหรับโครงการนี้ ซึ่งนอกจากบ้านพักพิงจะช่วยเหลือเด็กๆแล้วบ้านพักพิงแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ ในการฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้ติดเชื้อHIV อีกด้วย

บ้านพระพร และบ้านพักพิงเป็นหน่วยงานที่เป็นกลางไม่สังกัดหรือขึ้นอยู่กับ กลุ่มคณะ คริสตจักร นิกาย องค์กร สมาคม มูลนิธิ หรือหน่วยงานเอกชนอื่นใด โดยอยู่ในความดูแลของประชาสงเคราะห์จังหวัด ซึ่งปัจจุบันใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ ได้รับการสนับสนุนจากการบริจาค จากบุคคลทั่วไปที่มีภาระใจเช่นเดียวกันที่ต้องการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้

ต้องการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนสามารถทำได้โดย

1.สนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย

สำหรับเด็กบ้านพระพร โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาวารินชำราบ จ.อุบลฯ ชื่อบัญชี "สถานสงเคราะห์เด็กบ้านพระพร" หมายเลขบัญชี 314-0-17512-4 โทร.045-362533

บ้านพักพิง โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาเดชอุดม จ.อุบลฯ ชื่อบัญชี "บ้านพักพิง" หมายเลขบัญชี 317-1-66938-2 โทร.045-362533

2.บริจาคสิ่งของที่จำเป็นสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ และการศึกษาของเด็ก เช่น อาหารแห้ง เครื่องนุ่งห่ม อุปปกรณ์การศึกษาและอุปกรณ์กีฬาเป็นต้น ส่งที่ ตู้ ป.ณ.71 อ.เมือง จ. อุบลราชธานี 34000

3.เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจและสนุกสนานกับเด็ก หรือเลี้ยงอาหารเด็กในวันสำคัญ

4. บริจาคเงินสมทบเพื่อสร้างบ้านพักให้กับเด็กๆโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร กสิกรไทย สาขาวารินฯ จ.อุบลฯ ชื่อบัญชี นายชัยวัฒน์ ดวงงอก และน.ส.ปรารถนา จุลรังสี หมายเลขบัญชี 168-2-36386-6

ติดต่อผู้ประสานงาน

โทร : 081-5474895 คุณ ปรารถนา จุลรังสี

ติดต่อบ้านพระพร

โทร.045-301236 Email : house_of_blessing@yahoo.com

ติดต่อบ้านพักพิง

โทร.045-362533 E-mail : banpakping@yahoo.com

ส่งจดหมาย สิ่งของ หรือเอกสารต่างๆ

ตู้ ป.ณ.71 อ.เมือง จ. อุบลราชธานี 34000

สถานที่ตั้ง
มูลนิธิพระพรอุบลราชธานี
เลขที่ 180 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 ถนน สถิตย์นิมานกาล
ตำบล บุ่งไหม อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://guideubon.com/news/view.php?t=107&s_id=7&d_id=7
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
ถนน สุรศักดิ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
โทรศัพท์ 045-244531 โทรสาร 045-244533
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่