ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 54' 11.0002"
14.9030556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 4' 35"
105.0763889
เลขที่ : 133756
ผลิตภัณฑ์เทียนหอมเดชอุดม
เสนอโดย tapreeyakorn วันที่ 3 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 31 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 800
รายละเอียด

ชื่อ เทียนหอม

ประเภท : ของใช้

ประวัติความเป็นมา “ เทียน”นับได้ว่าเป็นของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตอย่างหนึ่งแม้ไม่ได้ใช้ประจำทุกวันเหมือนสิ่งอุปโภคบริโภคอย่างอื่นแต่เทียนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดมิได้หากเมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดๆขึ้นไม่ว่าผู้ใช้จะมีความเชื่ออย่างไรหรือนับถือศาสนาใด เพราะเทียนเป็นเครื่องบูชาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง นั่นคือคุณประโยชน์ของเทียนในยุคก่อนๆในยุคปัจจุบันเทียนยังมีคุณประโยชน์และมีวิธีการใช้ที่มากขึ้นนอกเหนือการใช้ในพิธีกรรมแล้ว ยังถูกดัดแปลงออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์อย่างมากมายเช่น ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ใช้เป็นของฝาก ของขวัญ ชำร่วยใช้จุดเพื่อสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ

จากแนวคิดข้างต้น กลุ่มชาวบ้านป่าก่อ จึงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากเทียนหอมโดยมีรูปแบบที่แปลกใหม่สวยงาม รวมกับงานหัตถกรรมพื้นบ้านเช่นงานจักสาน งานไม้ งานทอผ้าหรือเย็บผ้า ที่มีในท้องถิ่นซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนและมาเป็นวัสดุของท้องถิ่นในการประกอบบรรจุผลิตภัณฑ์เทียนหอมเดชอุดมซึ่งได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายหลายรูปแบบมากมายและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศในปัจจุบัน

วัสดุที่ใช้

1. พาราฟินแว๊กซ์ (Paraffin Wax )

2. โพลีเอททีลีนแว๊กซ์( พี.อี.แวกซ์ ) ช่วยทำให้เทียนแข็งจุดหลอมเหลวสูงขึ้นจึงทำให้เทียนจุดติดได้นานขึ้น

3. ไมโครแว๊กซ์ (Micro Wax)เป็นแผ่นเทียน เนื้อนิ่ม

4. น้ำมันหอม (Scentsoil )

5. สีผสมเทียน

6 .ยูวี.71. (U.V.Absorber71 ) มีลักษณะเป็นผงสีขาวใช้ใส่ในเนื้อเทียนทำให้สีเทียนไม่ซีด

7.ไส้เทียนทำจากฝ้าย100%

วิธีทำ

1. นำส่วนผสมทุกอย่างยกเว้นไส้เทียนลงต้มไฟอ่อนๆ

2. เมื่อทุกอย่างละลายแล้วเทลงถาดให้มีความหนา1/3 เซนติเมตร

3. เมื่อเทียนเริ่มแข็งใช้บล็อกเหล็กกดกลีบเป็นรูปทรงตามบล็อกที่ต้องการแล้วนำแผ่นเทียนขึ้นมาซับให้แห้ง

4.เริ่มขึ้นดอกด้วยการปั้นตัวตุ้มก่อนตุ้มจะเป็นรูปหยดน้ำ วิธีการคือนำไส้เทียนที่มีขนาด 3 นิ้วแล้วมาห่อด้วยแผ่นกลีบที่บล็อกทำไว้ การจะนำแผ่นกลีบมาปั้นหรือดัดทุกครั้งต้องนำลงชุบในน้ำเทียนที่ต้มไว้เพื่อแผ่นเทียนจะได้อ่อนตัวแล้วดัดง่าย

5. เมื่อทำตุ้มเสร็จเริ่มเข้ากลีบรูปทรงต่างๆจนได้รูปทรงที่ต้องการ

6. บรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่จัดเตรียมไว้ซึ่งเป็นงานฝีมือหัตถกรรมของชุมชนเช่น กะลามะพร้าว ไม้แกะสลักเรือ กระติบข้าว เชือกฝั้นจากต้นกกและอื่นๆ

7.บรรจุหีบห่อสวยงาม

ประโยชน์ของภูมิปัญญา

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเทียนหอมซึ่งออกแบบรูปทรงที่หลากหลาย ต้องการสื่อถึงความหมายต่างๆ เช่น ความรักความเป็นวัฒนธรรม การดำรงชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่น โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์เทียนหอมประกอบกับวัสดุภูมิปัญญาของท้องถิ่นได้แก่จักสาน งานไม้ งานทอผ้า ซึ่งมีความหอม สวยงาม แปลก โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีรายละเอียด ความเหมือนจริง สามารถเป็นของฝาก ของขวัญในงานต่างๆ

สถานที่ตั้ง
กลุ่มผลิตภัณฑ์เทียนหอมเดชอุดม
เลขที่ 112 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8
ตำบล เมืองเดช อำเภอ เดชอุดม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.otoptoday.com/wisdom/provinces/northeastern/
บุคคลอ้างอิง นางสาวปรียากรณ์ ทะคำสอน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
ถนน สุรศักดิ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
โทรศัพท์ 045-244531-2 โทรสาร 045-244533
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/ubonratchathani/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่