ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 6' 34.6651"
19.1096292
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 45' 17.5864"
100.7548851
เลขที่ : 140087
ตะบันหมากหรือที่ตำหมาก
เสนอโดย วัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา จ.น่าน วันที่ 19 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 25 มิถุนายน 2555
จังหวัด : น่าน
0 364
รายละเอียด

ตะบันหมาก หรือที่ตำหมากเป็นอุปกรณ์หลักในการกินหมากของผู้เฒ่าในสมัยโบราญ ที่นิยมกินหมากกับพลู (และปูนแดง) โดยจะนำใบพลูที่ไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป มาทาด้วยปูนแดง แล้วกินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวด้วยกัน แต่ผู้เฒ่าที่ไม่มีฟันสำหรับเคี้ยวหมาก แต่อยากจะกิน ก็จะใช้ตะบันหมาก หรือที่ตำหมาก ที่เป็นกระบอกทองเหลือง มีวัสดุด้ามยาว ปลายแบนทำหน้าที่คล้ายสิ่ว เอาไว้สำหรับตำลงไปในกระบอกให้แหลกซึ่งภาษาถิ่นใต้เรียกตะบันหมาก ว่า ยอนหมากหรือ ยอนสำหรับวิธีในการยอนหมากของผู้เฒ่านั้น มีสองวิธีคือ ใช้ให้ลูกหลานที่อยู่ใกล้ๆยอนให้ และ วิธีที่สองคือ นั่งขาดสมาธิแล้วหงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้น นำยอนที่ใส่หมากพลู เรียบร้อยแล้ว มาวางบนฝ่าเท้าตำจนแหลก ทุกครั้งที่ผู้เฒ่ายอนหมาก(ตำหมาก) จะมีเสียงดัง กุก กุก กุก

สถานที่ตั้ง
อำเภอ ท่าวังผา จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน(อำเภอท่าวังผา)
บุคคลอ้างอิง นางจิตรมาลา จันทร์ทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่