ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 25' 28.4146"
13.4245596
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 25.4077"
99.9570577
เลขที่ : 140420
ท่องเที่ยววัดอัมพวันเจติยาราม
เสนอโดย kanchanakarn วันที่ 22 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 723
รายละเอียด

วัดอัมพวันเจติยารามตั้งอยู่ในเขตตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ตามประวัติกล่าวว่าพื้นที่ตั้งวัดในปัจจุบันเป็นนิวาสสถานเดิมขององค์ปฐมวงศ์ทางราชินิกุลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในปี พ.ศ.2310ซึ่งเป็นปีที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้เสด็จพระราชสมภพ ณ สถานที่แห่งนี้เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงอุทิศบริเวณนิวาสถานให้เป็นที่สร้างวัดถวายแด่พระมารดาสมเด็จพระรูปสิริโสภาภาคย์มหานาคนารี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงปฏิสังขรณ์วัดอัมพวันเจติยารามใหม่ โปรดเกล้าฯให้สร้างพระปรางค์และอัญเชิญพระสรีรังคารของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาบรรจุไว้ในพระปรางค์และในปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเสด็จประพาสต้น ณ วัดอัมพวันเจติยารามแห่งนี้

สิ่งสำคัญของวัดที่ควรชม และนมัสการ ได้แก่

พระปรางค์ลักษณะเป็นปรางค์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้ยี่สิบมีวิหารคตล้อมรอบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระอุโบสถสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นใหม่ในช่วงปีพ.ศ.2540–2542 เป็นภาพแสดงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระที่นั่งทรงธรรมสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ลักษณะเป็นวิหารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีชายคาปีกนกคลุมทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป “หลวงพ่อทรงธรรม หรือ หลวงพ่อดำ” และรอยพระพุทธบาทจำลอง อาคารหลังนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปีพ.ศ.2538 โดยสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ

พระตำหนักไม้เดิมเป็นของเก่าปลูกสร้างอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ย้ายพระตำหนักไม้หลังนี้มาสร้างไว้ที่วัดอัมพวันเจติยาราม ลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาดใหญ่ ยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง หน้าบันมีลวดลายกระจกประดับ ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ไม้ประดับกระจกอย่างงดงาม ฝาพระตำหนักเป็นฝาไม้ปะกน

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดอัมพวันเจติยารามเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนที่ 96 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2500

การเดินทาง

ทางรถยนต

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35ถนนพระราม 2(ถนนธนบุรี-ปากท่อ เดิม) ไปถึงหลัก กม.ที่ 63ชิดซ้ายใช้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา-เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟ เลี้ยวขวาถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไปประมาณ 6กม. ถึงสามแยกอัมพวาชิดซ้ายเข้าอัมพวา วิ่งตรงผ่านตลาดอัมพวา ข้ามสะพานคลองอัมพวา(สะพานเดชาดิศร) ซุ้มประตูวัดทางเข้าอยู่ซ้ายมือ

รถประจำทาง

จากสถานีขนส่งสายใต้

- รถสาย76กทม.- ดำเนินสะดวก เป็นรถปรับอากาศผ่านจังหวัดจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา เดินผ่านตลาด ข้ามคลองอัมพวา ตรงไปถึงวัด

- รถสาย967กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย333แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ผ่านหน้าวัด

สถานที่ตั้ง
วัดอัมพวันเจติยาราม
ตำบล อัมพวา อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
บุคคลอ้างอิง นางสาวพรทิพย์ ไชยา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภออัมพวา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034-751394 โทรสาร 034718-348
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่