ชื่อคลองระพีพัฒน์อำเภอหนองแค
สถานที่ตั้งตรงข้ามตลาดหนองตำโล่ ตำบลคชสิทธิ์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ประวัติความเป็นมา คำนานที่เกี่ยวข้องในอดีตท้องที่หนองแคอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา สภาพบ้านเรือนและชุมชนตั้งอยู่ที่ราบลุ่มริมฝั่งคลองนาเริ่ง ซึ่งเป็นคลองเดิมที่แยกจากแม่น้ำป่าสัก และใช้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา พลเมืองมีเชื้อสายคนเมืองเหนือ เมืองเวียงจันทน์ที่เหลือตกค้างตั้งแต่สมัยอดีตที่ไทยทำศึกสงครามกับพม่า เขมร และลาวเวียงจันทน์
คลองระพีพัฒน์ที่มีการขุดในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเวลานั้นกรมชลประทานกำลังเร่งผันน้ำจากอุตสาหกรรมโรจนะลงสู่คลองระพีพัฒน์ออกไปทางแม่น้ำบางปะกง ในการนี้รัฐบาลจึงได้ตัดสินใจก่อสร้างโครงการชลประทานท่าหลวงเป็นโครงการแรก เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทางหลวงรังสิตและบริเวณข้างเคียงจำนวนมาก ซึ่งขณะนั้นราษฎรได้บุกเบิกและเข้าทำนากันหมดแล้ว แต่ต่องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำจนมีการละทิ้งพื้นที่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากระบบคลองรังสิตไม่สามารถช่วยเหลือ หรือจัดหาน้ำสำหรับใช้เพาะปลูกได้พอตามที่คาดกันไว้ ประกอบกับ ใน ปี พ.ศ.2458 กิจการสัมปทานของบริษัทจะต้องดูแลแก้ไข และส่งเสริมการทำนาในทุ่งนี้ให้ผ่อนคลายความเดือนร้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ำต่อไปโดยเร่งด่วน
ลักษณะของโครงการชลประทานท่าหลวง ประกอบด้วยงานสร้างเขื่อนทดน้ำกั้นแม่น้ำป่าสักท่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งต่อมาได้พระราชทานนามว่า "เขื่อนพระราม ๖" มีขนาดช่องระบายน้ำกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 6 ช่อง ติดตั้งบานประตูเหล็กแบบเลื่อนขึ้นลงตามแนวดิ่ง ความสูงของบาน 7.50 เมตร สำหรับเปิด-ปิด เพื่อควบคุมระดับน้ำด้านหน้าเขื่อนให้สูงตามความต้องการเขื่อนแห่งนี้ ทำหน้าท่ทดน้ำในแม่น้ำป่าสักให้มีระดับสูงขึ้นแล้วส่งน้ำจากด้านหน้าเขื่อนพระราม 6 เข้าไปตามคลองส่งน้ำสายใหญ่ที่ชื่อ "คลองระพีพัฒน์" ซึ่งตอนต้นคลองสามารถรับน้ำเข้าคลองได้มากถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้วส่งแยกออกไปตามคลองต่าง ๆ จนทั่วถึงในเขตพระนตรศรีอยุธยา จนถึงพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต จังหวัดปทุมธานี้ ซึ่งบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามได้ขุดคลองไว้แล้วแต่ยังไม่มีน้ำใช้สำหรับทำนาเท่าที่ควร รวมความยาวคลองส่งน้ำทั้งหมดประมาณ 360 กิโลเมตร นอกจากนั้นที่บริเวณใกล้ ๆ กับตัวเขื่อนพระราม 6 และที่ปากคลองระพัพัฒน์ก็ได้สร้างประตเรือสัญจร เพื่อความสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำใรแม่น้ำป่าสัก และในครองระพีพัฒน์ด้วย โครงการชลประทานป่าสักนี้ได้เริ่มงานก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2458 และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2487 รวมเป็นเวลา 29 ปี สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 680,000 ไร่ รวมค่าก่อสร้างทั้งโครงการ 15,494,452 บาท
หลังจากการก่อสร้างโครงการชลประทานท่าหลวงแล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จพระราชดำเนินทางเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2457 พร้อมกับแปรพระราชฐานประทับแรมนาม 3 คืน ณ ห้วงานเขื่อน ในการเสด็จครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และได้เสด็จพระราชดำเนินตามคลองระพีพัฒน์ที่ขุดเสร็จใหม่ ๆ และทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการสูบน้ำช่วยเหลือชาวนานอกเขตชลประทาน ซึ่งทางกรมทดน้ำทำการสูบน้ำให้โดย "เรือนาคหมายเลข 1" และ "เรือนาคหมายเลข 2" นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร
ความสำคัญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จพระราชดำเนินคลองระพีพัฒน์
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2458 และเสร็จในปี พ.ศ.2487
สร้างขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ และช่วยเหลือพสกนิกรในการประกอบอาชีพทำนา