ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 26' 17.9999"
16.4383333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 50' 20"
102.8388889
เลขที่ : 147244
นิทานพื้นบ้านอีสาน : เรื่อง นางนกกระยางขาว
เสนอโดย thitikankk วันที่ 22 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : ขอนแก่น
2 15463
รายละเอียด

นิทานพื้นบ้านอีสาน : เรื่อง นางนกกระยางขา


เนื้อเรื่อง
สมัยก่อนยังมีชายคนหนึ่งนามว่ามัฆมาณพ เป็นชาวอจลคามแห่งแคว้นมคธ มัฆมาณพมีภรรยาอยู่ 4 คน คือ 1 สุธรรมา 2 สุนันทา 3 สุจิตรา 4 สุชาดา มัฆมาณพเป็นคนชอบทำบุญสุนทานมากจนมีเพื่อนที่ร่วมทำบุญด้วยกันถึง 32 คน ซึ่งเพื่อนทั้ง 32 คน ก็ได้ช่วยกันตลอดมา และภรรยาของมัฆมาณพก็ชอบทำบุญด้วย แต่เมียคนที่ 4 คือสุชาดานั้นชอบแต่แต่งตัว ไม่ชอบทำบุญกับพวกพี่ๆ เพราะนางถือว่าสามีทำ ภรรยาก็ได้บุญเหมือนกัน ครั้งนั้นมัฆมาณพได้สร้างศาลาใหญ่ เพื่อคนผ่านไปมาจะได้พักผ่อน ฝ่ายนางสุธรรมาก็สร้างช่อฟ้าประดับศาลา นางสุนันทาสร้างสระน้ำ เพื่อให้คนได้ลงอาบ นางสุจิตราสร้างสวนดอกไม้ ส่วนสุชาดาไม่ทำอะไรเลย จนกระทั่งมัฆมาณพ และภรรยา พร้อมทั้งเพื่อน 32 คน สิ้นอายุไข ก็ได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึง จึงได้ชื่อว่าท้าวมัฆวาฬมหาเทพ(พระอินทร์) ต่อมาพระอินทร์ได้ดำริหานางสุชาดาผู้เป็นภรรยาคนเล็ก ก็ได้เล็งทิพยเนตรเห็นนางเกิดเป็นนกกระยางขาวกินปลาในแม่น้ำ ดูหน้าตาแล้วก็สมเพชนางมาก จึงดำริลงไปชี้ทางสว่างให้แก่นางนกกระยางนั้น พระองค์ก็เสด็จด้วยฤทธิ์ลงไปหาสุชาดานางนกนั้นกล่าวคำเทศนาสั่งสอนนางให้รู้จักปานบุญ รู้จักศีลห้า เมื่อนางได้รู้ก็ตาสว่างสมาทานศีลห้าโดยบริสุทธิ์ แม้กระทั่งปลาเป็นนางก็ไม่กิน เอาเฉพาะปลาตายเป็นอาหาร ต่อมาเมื่อนางสิ้นอายุไขก็ได้เกิดเป็นมเหสีองค์ที่ 4 ของท้าวมัฆวาฬบนสวรรค์ชั้นดาวดึง


ความสำคัญ:นิทานต้องสื่อให้รู้ว่าเมื่อได้เกิดเป็นคนควรหมั่นทำความดี สร้างบุญสร้างกุศล เมื่อสิ้นอายุไขก็จะได้ไปเกิดในภพ ภูมิที่ดี


แหล่งอ้างอิง:หนังสือนิทานพื้นบ้าน 3, หน้า 16


รวบรวมโดย: นายประมวล พิมพ์เสน ครูภูมิปัญญาไทย ด้านภาษาและวรรณกรรม เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2492 สามารถติดต่อได้ที่ 78/3 หมู่ 6 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร 043327438

หมวดหมู่
เอกสารหนังสือ
สถานที่ตั้ง
ศูนย์ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายประมวล พิมพ์เสน
บุคคลอ้างอิง ฐิติกานต์ สายหยุด อีเมล์ thitikan_mcul@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น อีเมล์ kkCulture@gmail.com
ถนน ศูนย์ราชการ
อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 043245013 โทรสาร 043245014
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่