"ถังตวงข้าวโบราณ" :ถังตวงข้าวน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักในสมัยโบราณการนำเอาวัสดุจากธรรมชาติ นำมาจักสานทำเป็นภาชนะที่เรียกว่า"กระบุงตะกร้า"และต่อมาได้มีการนำไม้มาทำเป็นทรงกลมให้เป็นภาชนะที่เรียกว่า"ถังตวงข้าวโบราณ"ซึ่งมีความคงทนมากกว่าจนถังตวงข้าวได้ถูกบรรจุอยู่ในงาน ชั่ง ตวง วัด ก่อนที่จะมีระบบตาชั่งมาทดแทนซึ่งจะเห็นได้ว่า แทบทุกครัวเรือน จะมีถังตวงข้าวติดบ้านไว้เสมอเพื่อความสะดวกในการค้าขาย แต่ในปัจจุบันนี้"ถังตวงข้าว"ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือนได้อย่างลงตัวดังโบราณที่คนเฒ่าคนแก่พูดไว้ว่า "บ้านไหนมี ถังตวงข้าวไม้สัก" ไว้ในบ้านจะเป็นมงคลแก่บ้าน บ้างก็นำไปใช้ใส่เศษสตางค์ เพื่อเป็นเคล็ดลับของคนค้าขายหรือใส่ข้าวสารสามารถกันมอดได้ดี
ลักษณะของถังตวงข้าวโบราณ :ลักษณะเด่นของถังตวงข้าว การเข้าเดือยไม้โดยไม่มีการช่วยยึด ส่วนของฝาและพื้นของถังตวงข้าวเป็นวงกลม โดยเข้าลิ้นไม้จะช่วยในการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ลักษณะของไม้สักทำถังตวงข้าวจะมีความคงทนใช้บรรจุข้าวสาร ยางไม้สามารถช่วยไล่มอดไม่ให้มารบกวนข้าวสารได้ ขอบด้านบนของถังตวงข้าวใช้เหล็กแผ่นบางตีรอบถังและด้านล่างตีเหล็กแผ่นบางอีก 1 รอบ คานของถังตวงข้าวทำด้วยไม้ สำหรับหิ้วถังตวงข้าวได้
วัสดุที่ใช้ทำถังตวงข้าว :ใช้ไม้สัก, เลื่อยฉลุ, เหล็กแผ่นบาง,
แหล่งที่มาของถังตวงข้าว :นางรุจี จองทอง บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 11 บ้านหนองแก ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น