ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 54' 11.8559"
15.9032933
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 43' 44.1001"
103.7289167
เลขที่ : 158378
ประเพณีการแข่งขันเรือยาว
เสนอโดย ร้อยเอ็ด วันที่ 15 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 15 กันยายน 2555
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
1 617
รายละเอียด

ประเพณีการแข่งขันเรือยาวบ้านเลิงคา ตำบลดินดำ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยเริ่มแรกนั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ แต่ก่อนการแข่งเรือยาวก็เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างหมู่บ้าน เรือยาวที่นำลงแข่งในสมัยก่อนเป็นเรือที่ทำจากไม้ทั้งต้น ไม่ได้มีการตกแต่งแยกชิ้นไม้มาประกอบเหมือนในปัจจุบันโดยในสมัยก่อนชาวบ้านจะให้ช่างซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านและคนในหมู่บ้านไปเอาไม้ที่ดง แต่ก่อนเป็นดงมูล บ้านห้วยยาง อำเภอหนองกุงสี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยไม้ที่ไปเอาต้องเป็นไม้ตะเคียนต้นที่ใหญ่และยาวที่สุด และผู้ที่ไปเอาต้องนอนค้างคืนที่ป่านั้นเพื่อเสี่ยงทาย โดยมีเทียนที่ทำจาก ขี้ผึ้งและธูปที่ทำขึ้นเอง การนอนค้างคืนเพื่อเสี่ยงทายต้องอธิษฐานว่าถ้าแม่ย่านางจะไปอยู่ด้วยให้มาเข้าฝัน หลังจากที่ได้เลือกต้นไม้แล้วก็ทำการตัด หลังจากนั้นนายช่างและคนที่ไปด้วยก็จะช่วยกันขุดเรือให้พอเป็นรูปร่างลำเรือไว้ก่อน หลังจากนั้นก็จะล่องลำเรือลงมาตามลำน้ำปาวพอมาถึงหมู่บ้านก็นำมาตกแต่งใส่ขั้นเรือ ใส่หัวเรือ สำหรับหมู่บ้านเลิงคาเรือยาวที่ทำชื่อเสียงให้กับบ้านเลิงคาลำแรก คือ เรือยาว ๔๓ ฝีพาย ชื่อ นางสาวคำมูลเพชร ซึ่งได้ตระเวนแข่งขันไปตามสนามที่มีหนังสือเชิญให้ไปแข่ง ในสมัยต่อมา การแข่งขันเรือ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังคงรักษาแบบแผนดั้งเดิมเอาไว้อยู่ โดยขนาดของลำเรือยาวก็เปลี่ยนให้เล็กลง และรูปแบบการต่อเรือก็ใช้การแยกชิ้นไม้มาประกอบเป็นลำเรือ ซึ่งต่อโดยช่างมืออาชีพภายนอกหมู่บ้าน เป็นเรือยาวขนาดเล็ก ๑๐ ฝีพาย ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ บ้านเลิงคาได้สร้างเรือยาวขนาดเล็กชื่อ นางสาวสักวารีนำโชค ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นนางสาวเพชรวารีนำโชค จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเรือเพชรวารีนำโชคก็เป็นเรือที่ทำชื่อเสียงให้กับหมู่บ้านเลิงคาอีกลำหนึ่ง

สถานที่ตั้ง
บ้านเลิงคา
ตำบล ดินดำ อำเภอ จังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่