ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 54' 11.8559"
15.9032933
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 43' 44.1001"
103.7289167
เลขที่ : 159905
งานจักสานเปลไม้ไผ่
เสนอโดย ร้อยเอ็ด วันที่ 22 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 22 กันยายน 2555
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
1 1612
รายละเอียด

งานจักสานเปลไม้ไผ่
สถานที่
บ้านโนนทัน หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
ลักษณะพิเศษของเปลเรือไม้ไผ่เป็นเปลรูปร่างคล้ายเรือทำจากไม้ไผ่ มีรูปทรงลักษณะคงที่ เวลานั่งหรือนอนจะไม่ทำให้ปวดหลังเหมือนเปลทั่วไป ที่รูปทรงจะเปลี่ยนไปตามระยะการผูก และน้ำหนักผู้ใช้ เวลานอนจะเย็นสบายตัวไม่ร้อนเพราะทำจากไม้ไผ่ ต่างจากเปลที่ทำจากผ้า หรือวัสดุอื่น มีความสวยงาม แปลกใหม่ ที่สำคัญถ้าไม่ให้ตากแดดหรือฝน จะมีความคงทนใช้งานได้นาน หลายปี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
๑. ไม้ไผ่บ้าน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ ซ.ม. ขึ้นไป หรือมีความแก่พอประมาณ เพื่อความคงทนใช้งานได้นาน แต่ถ้าจะเพิ่มความสวยงามต้องเป็นไม้ไผ่สีเหลือง
๒. เชือกไนล่อนขนาด ๓ เกลียว เพื่อใช้ในการถักขอบ
๓. ฟางแข็ง ใช้ในการสานบริเวณหัวและท้ายเปล
๔. สีทาไม้(ยูรีเทน) เบอร์ ๗
แหล่งที่มาของวัสดุ
ไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตจะหาได้ในท้องถิ่น ที่ปลูกไว้ใช้เองหรือในช่วงที่ต้องการผลิตปริมาณมาก ๆ ก็สามารถหาซื้อเพิ่มได้จากเพื่อนบ้าน ในชุมชนซึ่งมีปลูกกันโดยทั่วไปเกือบทุกครอบครัว ราคาประมาณ ลำละ ๔๐ บาท ส่วนเชือกไนล่อนกับฟางแข็ง ก็จะซื้อมาจากตลาดในตัวจังหวัดหรือร้านค้าทั่วไป
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑. มีดโต้ ใช้ในการผ่าหรือฟัน
๒. มีดตอก ใช้ในการจักตอก
๓. สิ่ว ขนาด ครึ่งนิ้ว ใช้ในการเจาะรู
๔. ค้อน ใช้ในการตีหรือตอก
๕. คีมล็อก ใช้ในการบีบบังคับเพื่อจัดรูปทรง
๖.แปรงทาสี ใช้ทาสีเพิ่มความสวยงามและป้องกันมอดและแมลง
ขั้นตอนขบวนการผลิต
๑. คัดเลือกไม้ไผ่ขนาดตามที่ต้องการ แล้วตัดเป็นท่อนวัดระยะให้ได้ความยาว ๓.๕ เมตร
๒. ใช้สิ่วเจาะหัว/ท้าย ขนาดความกว้างของรู ประมาณ ๑ นิ้ว โดยต้องให้ห่างจากหัวและท้าย ๑ ปล้องไม่ไผ่ แล้วใช้มีดผ่าเป็นทางยาวให้สุดหัว/ท้ายไม้ไผ่
๓. ยกเอาไม้ไผ่ที่เจาะขนาด ๑ นิ้วออก เพื่อให้เป็นช่องว่าง
๔. กำหนดระยะของไม้ไผ่ที่เหลือสำหรับเป็นแกนกลาง จำนวน ๙ หรือ ๑๑ ซีก
๕. ผ่าไม้ไผ่ให้เป็น ๙ หรือ ๑๑ ซีกตามที่กำหนดไว้ เสร็จแล้วใช้มีกตอกลอกเอาเนื้อไม้ออกให้เหลือแต่เปลือกนอกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าติวไม้
๖. ใช้เชือกผูกหัวและท้ายโค้งเข้าหากันเล็กน้อย เพื่อให้ตัวเปลตรงกลางขยายพื้นที่ออก
๗. ใช้เปลือกไม้ไผ่หรือติวไม้ที่เหลาเตรียมไว้ ความยาวขนาด ๙๐ ซ.ม. จำนวน ๓ เส้นสานหรือถักเป็น ๓ ระยะตามต้องการ เพื่อกำหนดรูปแบบของเปลเรือให้คงที่ไว้
๘. ตัดไม้ไผ่ความยาวท่อนละ ประมาณ ๕ เมตร เพื่อจักเป็นตอกใช้ในการสานเปลเรือ ทั้งนี้การจักตอกสำหรับสานนั้น จะลอกเอาเนื้อไม้ออกให้เหลือแต่เปลือกหรือติวเท่านั้น
๙.เริ่มสานตัวเปล โดยใช้ลายขัด จากตรงกลางของตัวเปล จากด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ จนกว่าจะถึงหัว/ท้ายเปล เหลือระยะประมาณ ๒๐ ซ.ม. จะใช้ฟางแข็งสานต่อ เนื่องจากบริเวณหัวและท้ายของเปลนั้น พื้นที่จะแคบลงเรื่อย ๆ ใช้เปลือกไม้หรือติวซึ่งมีความแข็งมากสานไม้ได้
๑๐. ใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ที่เหลาเตรียมไว้สำหรับ ทำขอบเปล จำนวนข้างละ ๒ เส้น วางประกบข้างบนและข้างล่าง ความก็เท่ากับขนาดของตัวเปลเรือ
๑๑. ใช้ตอกไม้ไผ่เหลาให้กลมขนาดเล็ก วางทับบนขอบเปลอีกครั้ง ข้างละ ๒ เส้นเพื่อทำให้ขอบเปลไม่มีเหลี่ยม
๑๒. ใช้คีมล็อคบีบบังคับให้ขอบทั้งหมดประกบกันให้แน่น ก่อนใช้เชือกไนล่อนสานผูกรัดให้แน่นตลอดแนวขอบเปลเป็นระยะห่างช่วงละ ๑ นิ้ว ทั้ง ๒ ด้าน เพื่อให้เกิดความมั่นคง แข็งแรง และเรียบร้อยสวยงาม
๑๓.ใช้สิ่วเจาะรู ที่หัวและท้าย เพื่อเป็นที่เสียบไม้ สำหรับผูกเชือกแขวน
๑๔. ทาสีเคลือบไม้( ยูรีเทน) ให้ทั่วทั้งตัวเปล เพื่อป้องกันมอด แมลง มาเจาะกินเนื้อไม้อีกทั้งยังเพิ่มความสวยงาม
ระยะเวลาในการผลิต
ในการผลิตเปลเรือแต่ละครั้งนั้น จะใช้เวลาทั้งหมดตั้งแต่การเตรียมไม้ไผ่ จนสิ้นสุดขบวนการผลิต สำเร็จเป็นเปลเรือ ๑ ลำ ใช้เวลาประมาณ ๑ –๒ วัน
วัตถุประสงค์ของการผลิต
๑. ไว้ใช้เป็นที่นั่งหรือนอนพักผ่อนในครัวเรือน
๒. จำหน่ายเป็นสินค้าพื้นเมือง สำหรับผู้ที่ต้องการ
๓. ส่งจำหน่ายให้ศูนย์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในชุมชน

สถานที่ตั้ง
บ้านโนนทัน
หมู่ที่/หมู่บ้าน
จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านโนนทัน
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัด ร้อยเอ็ด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่