ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 51' 57.3059"
15.8659183
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 35' 10.4208"
100.5862280
เลขที่ : 164894
คำขวัญอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
เสนอโดย นครสวรรค์ วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครสวรรค์
0 1264
รายละเอียด
  1. คำขวัญอำเภอหนองบัว

หลวงพ่อเดิมสร้างเมือง ลือเลื่องความสามัคคี

ประเพณีบวชนาคหมู่ หินสีชมพูคู่เขาพระ

เมืองพันสระนามกล่าวขาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมากมี

ข้าวสารดีมีชื่อ นามระบือคือหนองบัว

หลวงพ่อเดิมสร้างเมือง

เนื่องจากหลวงพ่อเดิม เป็นผู้นำชาวอำเภอหนองบัวในการพัฒนาอำเภอหนองบัวและหลวงพ่อเดิมยังเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอหนองบัวเป็นอย่างยิ่ง

ลือเลื่องความสามัคคี

ชาวอำเภอหนองบัว มีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างมาก มีอนุสาวรีย์แห่งการพัฒนาเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ประเพณีบวชนาคหมู่

ประเพณีบวชนาคหมู่ เป็นประเพณีสำคัญของอำเภอหนองบัว ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 –ปัจจุบัน

หินสีชมพูคู่เขาพระ

หินสีชมพูตั้งอยู่อาณาบริเวณเทือกเขาพระ เป็นหินซ้อนกันมีสีชมพูมีลักษณะแปลกตาน่าอัศจรรย์

เมืองพันสระนามกล่าวขาน

เนื่องจากอำเภอหนองบัวมีสระน้ำ ลำคลองมากมายมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีบัว

นานาพันธุ์ขึ้นอยู่เต็มหนองน้ำ จึงขนานนามอำเภอหนองบัวเป็นเมืองพันสระ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมากมี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อำเภอหนองบัว โดยพระนิภาภรโสภณ หรือเจ้าคุณไกร ได้รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป

ข้าวสารดีมีชื่อ

ข้าวสารผลิตผลจากนาข้าวในพื้นที่อำเภอหนองบัว จะหุงได้ขึ้นหม้อมีรสอร่อยหอมนุ่มน่ารับประทานเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

นามระบือคือหนองบัว

เอกลักษณ์ดังกล่าวนั้นทำให้อำเภอหนองบัว เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป

สถานที่ตั้ง
อำเภอหนองบัว
ตำบล หนองกลับ อำเภอ หนองบัว จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอหนองบัว
บุคคลอ้างอิง วรภรณ์ เรืองศรี อีเมล์ plechuam@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
อำเภอ เมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่