ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 59' 7.6452"
14.985457
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 21' 42.9588"
99.361933
เลขที่ : 170926
การเต้นรำตง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1656
รายละเอียด
"รำตง" เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ใน อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิและอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี "ตง" เป็นการออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า "โตว" คำว่า ตง หรือ โตว นี้ คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ ประกอบการแสดง ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ยาว ๑ ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน ลักษณะการเล่น การแสดงรำตง เป็นการร้องและรำที่ใช้เสียงดนตรีประกอบในการแสดง ผู้แสดงเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจำนวน ๑๒-๑๖ คน หรืออาจมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่แสดง ซึ่งอาจเป็นเวทีในร่ม หรือสนามหญ้า การแสดงมีการตั้งแถวผู้แสดงเป็นแถวลึกประมาณ ๕-๖ แถวและยืนห่างกันประมาณ ๑ ช่วงแขน ชุดที่ใช้ในการแสดงรำตงเป็นชุดกระโปรงปักด้วยด้ายสีสด คาดเข็มขัดเงินที่เอว เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง ( ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) เนื้อร้องของเพลงรำตงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของกะเหรี่ยง การอบรมให้เป็นคนดี และเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นต้น ท่าทางที่รำคล้ายกับฟ้อนพม่า การแสดงรำตงเป็นการละเล่นที่สนุกสนานในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานศพ งานบุญข้าวใหม่ งานสงกรานต์ เป็นต้น
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกล้วย
อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชาลี งามยิ่ง
เลขที่ เลขที่ 67
ตำบล วังยาว อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ โทร 0861783176
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่