ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 38' 0.132"
14.63337
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 1' 25.662"
100.023795
เลขที่ : 170998
ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 2414
รายละเอียด
การดำเนินงานห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอดอนเจดีย์ คือการประสานการดำเนินงานของชนทุกหมู่เหล่า ทั้งคณะสงฆ์ ทั้งภาคเอกชน ทั้งภาครัฐ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมแก้ปัญหา เพื่อแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุด รวมทั้งเตรียมแผนระยะยาวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยั่งยืน นับแต่วันเริ่มก่อสร้างจนถึงวันอันเป็นมิ่งมงคล วันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” บนดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงถึงความเกรียงไกรของบรรพชน ความสำนึกต่อคุณของแผ่นดินในสมรภูมิสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งได้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ให้ชาวโลกได้สรรเสริญสืบไปเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน พสกนิกรมีความสงบร่มเย็น มีความสุขในวิถีชีวิตของตน ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จะเป็นศูนย์กลางของการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต โดยไม่มีข้อจำกัด พื้นที่ 833 ตารางเมตร ได้แบ่งสัดส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์การใช้สอยสูงสุดเป็นห้อง - และมุมต่าง ๆ ดังนี้ ห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ห้องเฉลิมพระเกียรตินี้ถือเป็นหัวใจของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ออกแบบตกแต่งเพื่อความกลมกลืนกับลักษณะสถาปัตยกรรมอย่างไทย ภายในห้องได้จัดโต๊ะทรงพระอักษรสำหรับพระองค์ท่าน ในวันเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดห้องสมุด ภายในแสดงเรื่องราวพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระองค์ บันทึกอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ตู้หนังสือ ซึ่งรวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์ส่วนหนึ่ง โดยอีกส่วนหนึ่งจะนำไปแสดง ณ ห้องหนังสือทั่วไป พื้นที่รอบห้องจะแสดงงานเขียนสีน้ำมันพระจริยวัตรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ อรุณวัยไขแสง เจิดแจรงพระอัจฉริยะ เด่นล้ำพระจริยวัตร องค์รัฐสีมาคุณากร ห้องศิลปินเพลงเมืองสุพรรณ วิถีชีวิตของชาวนาไทยบนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง แหล่งผลิตข้างแหล่งใหญ่ของประเทศไทย ผสมผสานวิถีชีวิตและประเพณีท้องถิ่นที่เรียบง่ายเป็นบ่อเกิดแห่งลำนำเพลงพื้นบ้าน พ่อเพลง-แม่เพลง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินแห่งชาติ ต่อเนื่องมายังบทเพลงอีแซว การขับเสภา มาสู่ยุคราชาลูกทุ่งผู้มีชื่อเสียง สุรพล สมบัติเจริญ ดินแดนเมืองสุพรรณแห่งนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตศิลปินเพลงลูกทุ่งมากที่สุดของประเทศไทย ห้องศิลปินเพลงเมืองสุพรรณ จะรวบรวมศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ ครูมนตรี ตราโมท แม่บัวผัน จันทร์ศรี ครูแจ้ง คล้ายสีทอง และขวัญจิต ศรีประจันต์ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมศิลปินลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากประชาชน เช่น สุรพล สมบัติเจริญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา เสรี รุ่งสว่าง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ ผลงานของศิลปินเมืองสุพรรณได้ถูกรวบรวมไว้ทั้งแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง หนังสือเพลง และแผ่น ซี.ดี. ที่ผู้ชมนิทรรศการสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อแบบจำลอง ของจริง รับฟังได้ ค้นได้จากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ห้องพุทธศาสน์ : ปราชญ์เมืองสุพรรณ นอกเหนือจากวิถีชีวิตชาวชนบทที่เรียบง่าย การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขจะเป็นแหล่งกำเนิดศิลปินลูกทุ่งเมืองไทยแล้ว ชาวสุพรรณจากอดีตถึงปัจจุบันได้สร้างนักปราชญ์แห่งแผ่นดินทั้งข้อคิดและคำสอนของท่านเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแก่บุตร หลาน ให้ประพฤติ ปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม ภาพซึ่งเป็นตัวแทนแห่งคำสอนของท่านตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความดื่มด่ำในรสพระธรรมในส่วนของผู้ที่ต้องการความรู้จากพระไตรปิฎก จะสามารถศึกษาได้อย่างสมบูรณ์แบบ จาก พระไตรปิฎก ตำรา เอกสาร และข้อมูล ที่ท่านสามารถสืบค้นได้ นำเสนอสื่อประสมเพื่อพัฒนาทั้งทางร่างกายและความคิด โดยจัดแบ่งสื่อดังกล่าวตามวัย และความพร้อมของเด็ก มุ่งให้เด็กได้แสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันพยายามใช้สื่อเป็นตัวกระตุ้น ให้เด็กได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบ มีมุมผู้ปกครองให้สามารถนั่งพักผ่อน เพื่อสังเกต และรับรู้การแสดงออกของบุตรหลานของคนที่มาใช้บริการ และมีโอกาสที่จะได้พูดคุยกับผู้ปกครองผู้อื่นที่มานั่งพักผ่อนด้วยกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด รวมทั้งได้จัดสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และครอบครัว ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต มุมหนังสือทั่วไป หนังสือมากกว่า 1 หมื่นเล่ม ทุกประเภทได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบที่ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จากระบบการสืบค้นชื่อเรื่อง หรือ ชื่อผู้แต่งจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หนังสือพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดไว้ในตู้หนังสือที่พร้อมสำหรับการศึกษา ทั้งภายในห้องสมุด และสามารถยืมกลับไปอ่านได้ที่บ้านของท่าน นอกจากนี้เราได้จัดมุมแนะนำหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ เราเปิดกว้างสำหรับการใช้บริการหนังสืออ้างอิงท่านสามารถสืบค้นข้อมูล ในระบบเชื่อมโยงเครือข่ายกับห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอด่านช้าง และห้องสมุดประชาชนอำเภอทุกอำเภอในสุพรรณบุรี เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างไม่มีขีดจำกัด มุมสุพรรณบุรี ชั้นล่างของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอดอนเจดีย์ จะเป็นส่วนของการนำเสนอประวัติความเป็นมาของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การสร้างสมศิลปวัฒนธรรม อารยธรรมสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ความกล้าหาญ รักชาติ รักแผ่นดิน ของบรรพบุรุษที่ยอมสละทุกสิ่งแม้ชีวิตเพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินให้อยู่ คู่กับลูกหลาน สู่ยุคปัจจุบันที่ความเจริญทางวัตถุมาถึงวิถีชีวิตของชาวสุพรรณบุรี ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ความรักและความภาคภูมิใจในความเป็น “คนสุพรรณ” ที่เข้มข้น ชาวสุพรรณบุรีทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดต่างมีใจตรงกันที่พร้อมจะพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญทัดเทียมกับเมืองอื่น ๆ มุมศูนย์การเรียน-ศูนย์ข้อมูลชุมชน สิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนา คือ การที่บุคคลที่มีคุณภาพให้การศึกษานอกโรงเรียน จะเป็นส่วนเติมเต็มในช่องว่างของโอกาสในการศึกษาของประชาชน ผู้สนใจในการศึกษาสามารถที่จะใช้สื่อเพื่อศึกษาตนเอง สู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเข้ารับบริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย ข้อมูลชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ถูกรวบรวมไว้ ณ ที่นี้ บรรยากาศในการเรียนรู้ทุกรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ต้องการศึกษา ค้นคว้า โดยมีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมที่จะให้การชี้แนะประจำอยู่ในห้องนี้ พร้อมด้วยความรู้จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต (INTERNET) เวลาเปิดบริการ วันจันทร์-วันเสาร์ (หยุดวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์) 8:30 – 17:00 น.
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 52
อำเภอ ดอนเจดีย์ จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ เลขที่ 52
อำเภอ ดอนเจดีย์ จังหวัด สุพรรณบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่