ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 32' 33"
6.5425000
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 16' 59.0002"
101.2830556
เลขที่ : 17303
คุรุดวาราศีคุรุสิงห์สภายะลา (วัดซิกส์
เสนอโดย กนกวรรณ พรหมทัศน์ วันที่ 25 มกราคม 2554
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 19 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : ยะลา
0 507
รายละเอียด

“คุรุดวาราศีคุรุสิงห์สภายะลา” เป็นสถานที่สำคัญของ “กลุ่มชาวซิกข์” เพียงแห่งเดียวที่ปรากฏอยู่ที่ถนนรวมมิตร ใจกลางเมืองยะลา และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการสักการบูชาพระเป็นเจ้า “คุรุครันซาฮิป” ผู้ยิ่งใหญ่ “คุรุดวาราศีคุรุสิงห์สภายะลา” ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2493 พร้อมๆ กันกับอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี ขอนแก่น ลำปาง นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ ปัตตานี ภูเก็ต สมุทรปราการ สงขลา ตรัง อุบลราชธานี และ อุดรธานี บุญส่ง ลอยสุวรรณ์ นักวิชาการอิสระ บันทึกไว้ใน “ผลึกเพชรที่ทรงคุณค่าในวัดซิกข์ “คุรุดวาราศีคุรุสิงห์สภายะลา” ว่า คุรุดวาราศีคุรุสิงห์สภายะลา เป็นศูนย์รวมของชาวซิกข์ในจังหวัดยะลา แต่เปิดกว้างให้ทุกศาสนิกเข้าไปเรียนรู้ได้ เพราะศาสนาซิกข์ไม่ได้แบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีขอบเขตของความศรัทธา ต้องการให้ผู้ที่ศรัทธาในหลักธรรมคำสอนที่ปรากฏอยู่ในพระมหาคัมภีร์ได้ศึกษาคำสอนที่เป็นอมตะ ชาวซิกข์ในยะลาให้ความสำคัญกับการสวดมนต์ ทุกวันจะต้องสวดให้ครบ 5 บท ช่วงเช้า 3 บท ก่อนตะวันตกดิน 1 บท และก่อนนอน 1 บท ซึ่งจะเข้าไปสวดในวัดพร้อมกันหรือจะสวดในบ้านก็ได้ แต่ละวันจะไม่ซ้ำกัน เพราะบทสวดในพระมหาคัมภีร์มีจำนวน 1,430 บท ทุกครั้งที่สวดมนต์จะได้เรียนรู้ธรรมะไปในตัว ทุกบทเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่พระศาสดาได้สั่งสอนไว้ชาวซิกข์ในยะลาจะไปรวมตัวกันที่วัดเพื่อฟังธรรม แต่ก่อนที่จะฟังธรรมจะมีการรับประทานอาหารร่วมกันเสียก่อน เพราะเชื่อว่าเมื่อทุกคนอิ่มท้องจะฟังธรรมอย่างเข้าใจ ความเชื่อในเรื่องนี้ทำให้ชาวซิกข์มีความมานะอดทน ขยันขันแข็งในการทำงาน เพื่อให้มีกินและสามารถอยู่ในศีลในธรรมได้ พระมหาคัมภีร์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่ทุกบ้านต้องมี เพราะเป็นมงคลสำหรับบ้านและเป็นมหาคัมภีร์ของชีวิต ผู้ใดปฏิบัติตามทุกข้อทุกประการ จะอยู่อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ทุกบ้านจะต้องวางพระมหาคัมภีร์ไว้ในที่สูงและเหมาะสม”ซิกข์ยึดมั่นในความเป็นหนึ่งเดียว มีความเป็นภราดรภาพ ซิกข์ทั่วโลกจะได้รับการสั่งสอนว่ามนุษย์เกิดจากพระเจ้าองค์เดียวกัน ภายใต้หลักความจริงของชีวิตอย่างเดียวกัน ทุกอย่างเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ทุกคนเท่าเทียมกัน ซิกข์ไม่มีนโยบายจะเผยแผ่ศาสนาให้ขยายมากขึ้น เพราะเชื่อว่าทุกคนมีศาสนามีศาสดาของตนเองอยู่แล้ว ให้ปฏิบัติตามหลักธรรมที่นับถืออยู่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่ปฏิเสธความเชื่อและขนบของศาสนาอื่นๆ พร้อมเข้าร่วมบุญกับทุกศาสนาได้ด้วยความเต็มใจ เพราะมองเห็นความจริงจากสังคมและชีวิตมาตั้งแต่ครั้งชมพูทวีปยังมีความเหลื่อมล้ำขัดแย้งกัน จนต้องรบราฆ่ากัน เนื่องจากความมีอัตตาว่าตนต้องเหนือกว่าผู้อื่น ดีกว่าผู้อื่น ทุกวันนี้ ชาวซิกข์ในจังหวัดยะลามีจำนวนไม่มาก แต่ก็รวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่น สามารถดำรงอยู่ในสังคมที่มีความต่างได้อย่างปราศจากข้อขัดแย้ง ไม่มีปัญหาใดๆ ในการอยู่อาศัยร่วมกันในสังคม “พหุวัฒนธรรม”พระเจ้าของทุกศาสนาให้มนุษย์ทุกอย่าง และให้การรักษาทุกประการ แต่เว้นสิ่งเดียวที่ไม่รักษาให้ นั่นก็คือ ชีวิต ท้ายสุดของมนุษย์ทุกคนจึงต้องพานพบความตายแน่นอน” “ซิงค์ ลันดาเวกล่าวกับผู้เขียนก่อนลาจากกัน โดยเน้นย่ำว่า ตนเองเกิดบนแผ่นดินไทย หากทว่าหัวใจเป็นสากลทางศรัทธาและความเชื่อ และเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ของทุกคนที่มีความรัก ความเมตตา ต่อกัน

วัดซิกส์ยะลา ตั้งอยู่ที่ เลข 19 ถนนรวมมิตร ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีผู้นำชื่อนายราวิน วิลาสคัมภีร์

คำสำคัญ
วัดซิกส์
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
19
ถนน รวมมิตร
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายราวิน วิลาสคัมภีร์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่