พืชวงศ์กก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperaceae;อังกฤษ: Sedge) เป็นไม้ล้มลุก มีประมาณ 4,000 ชนิดแพร่พันธุ์กระจายทั่วโลก ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำตามหนอง บึง ทางระบายคันคูน้ำและโคลนเลน ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดนำมาทำเครื่องจักสานได้อย่างเสื่อกระจาดกระเช้าหมวก เช่นกกชนิด Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides เป็นต้น
กกมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบบางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือดอกแต่ละดอกจะมีกาบช่อย่อยห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหลเลื้อย ไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นที่ตัน โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบห่อหุ้ม ลำต้นและไม่มีลิ้นใบ
วิธีการทอ
วัสดุที่ต้องเตรียม
1.ต้นกก โดยเฉลี่ยความสูงของต้นประมาณ 120-150 ซม.ขึ้นไป หรือมีลำต้นใบแก่ 2.นำมาผ่าครึ่งเป็นริ้วเล็กๆ
3.นำต้นกกไปตามแดดให้แห้งประมาณ 2-3 วัน จะได้ต้นกกคุณภาพ
วิธีการทำ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอเสื่อจะมี กี่ ส่วนใหญ่เป็นแบบกี่ตั้ง ใช้คนทอ 2 คน คือคนหนึ่งพุ่งกกเข้าฟืมและอีกคนหนึ่งกระทบฟืมก่อนจะทอต้องน้ำมาพรมให้ชุ่ม จึงนำไปทอได้ เมื่อทอเสร็จจึงตัดหางที่ยื่นออกมา ถ้าเสื่อกกที่ ทอเสร็จยังไม่แห้งพอก็จะนำไปผึ่งแดดไว้เพื่อไล่ความชื้นก่อนที่จะไปใช้ ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป