ความเป็นมา/ความสำคัญ
จ้อย เป็นทำนองพูดเกี้ยวพาราสีที่มีความหมายไพเราะเพราะพริ้ง ฟังแล้วคล้ายกับการร้องเพลงที่มีสัมผัสคล้องจองกัน ลักษณะคล้ายร่ายยาว ส่วนมากผู้ที่จ้อยจะเป็นผู้ชายมักจะจ้อยในตอนกลางคืนซึ่งเข้ากับบรรยากาศที่เงียบสงบ จะได้ยินเสียงหนุ่มที่จ้อยผ่านบ้านสาวอย่างชัดเจน เมื่อหนุ่ม (บ่าว) จ้อยผ่านบ้านสาวเหมือนกับเป็นการร้องเรียกให้หญิงสาวออกมาต้อนรับเชื้อเชิญให้ขึ้นบ้าน
จ้อย ตามข้อสันนิฐานของนางขันแก้ว สงคราม ว่าเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖ ครั้งเมื่อย้ายเมืองปัวมาอยู่เมืองน่าน สมัยพระยากานเมืองมาสร้างเมืองน่านที่ดอยภูเพียงแช่แห้งสมัยนั้นยังไม่มีการคมนาคมทางบก ต้องให้แพล่องน้ำน่านมา ในขบวนตามเสด็จมีแม่ม่ายชื่อ นางคำบี้ ได้จ้อยชมธรรมชาติทั้งสองข้างที่ล่องแพมานั้น
ประเภทการจ๊อย
การจ๊อยมี ๒ ประเภท คือ
๑. จ๊อยก้อมหมายถึงการจ๊อยสั้น ๆ เป็นบทเกี้ยวผู้หญิงให้เห็นอกเห็นใจ จ๊อยก้อมนี้สมัยโบราณหนุ่มเมื่อไปเที่ยวสาว (บ่าวแอ่วสาว) จะดีดปิน (ซึง) พร้อมกับขับบทจ๊อยไปตามถนนที่ผ่านหน้าบ้านสาวที่ตนพึงใจ เช่น “เดิ้กมาส้อยล้อย น้ำย้อยต๋องแต๋ง ลุกเต๊อะสาวเอย บ่าวมาแอ่วอู้”
๒. จ๊อยเรื่องหมายถึง การจ๊อยเป็นเรื่องเป็นราวยาว ๆ ซึ่งแต่งกันแล้วก็มีนักจ๊อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ นางขันแก้ว สงคราม