ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 38' 46.2656"
13.6461849
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 17' 24.9634"
101.2902676
เลขที่ : 176956
การละเล่นเพลงชางชัก
เสนอโดย napaporn วันที่ 23 มกราคม 2556
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 24 มกราคม 2556
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 3802
รายละเอียด

เพลงชางชัก เป็นประเภทเพลงร้องพื้นบ้านชาวตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพลงชางชัก เป็นเพลงที่เกิดขึ้นระหว่างการลากข้าวของชาวนาที่ใช้เล่นกัน เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและลืมความเหน็ดเหนื่อยในการทำงาน เพลงชางชักเป็นเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงปฏิพากย์ทั่วๆ ไป คือ เริ่มต้นด้วยลูกคู่ก่อนแล้วจึงเป็นบทร้องของฝ่ายชาย และหญิงร้องโต้ตอบกัน ทุกครั้งที่ฝ่ายใดร้องจบ ลูกคู่จะรับขึ้นพร้อมกัน การเล่นเพลงชางชักให้สนุกอยู่ที่ความสามารถของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย การเล่นเพลงชางชักไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น นิยมเล่นเวลาทำนาเกี่ยวข้าว

อุปกรณ์การเล่น และการแต่งกายเครื่องดนตรีไม่มี มีการปรบมือประกอบเพียงอย่างเดียว การแต่งกาย ฝ่ายชาย ใส่โจงกระเบน เสื้อม่อฮ่อม ฝ่ายหญิง ใส่โจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก สวมงอบทั้งชายและหญิง อุปกรณ์ประกอบ เคียวเกี่ยวข้าว ไม้กระดานเจาะรูที่หัวและท้ายด้านละ ๒ รู สำหรับเอาเชือกร้อย และหลักเกียด เป็นไม้ที่มีธงผ้าปักอยู่บนยอด ใช้สำหรับเอาข้าวมากองรวม การไหว้ครู ในการไหว้ครูไม่มีบทร้อง แต่จะมีการทำพิธีไหว้ครูโดยจะให้หัวหน้าเป็นผู้ทำพิธีไหว้ครู โอกาสที่เล่น นิยมเล่นกันในวันนักขัตฤกษ์ เช่นวันสงกรานต์ งานกุศล หรือในวาระที่ผู้คนมาพบปะประชุมกัน งานทำบุญตามประเพณีนิยม

บทร้องเพลงชางชัก

(ลูกคู่) ต้อยตุเรียนเวียนซ้าย กงสไลริ้วริ้วกงแซ น้องนางของพี่นี่เอย ทรามเชยไม่เหลียวมาแล พี่ผูกสมัครรักน้องแท้ ฉันรักแม่แพรสีเอย หนองบอนซ่อนใบเขารำงามเอย

(ชาย) ชางชักเอยหงส์ทองน้องรัก จะย่องไปหักเอาใบมะแว้ง

(ลูกคู่) โอ้เจ้าชางชักเอยหงส์ทองน้องรัก จะย่องไปหักเอาใบมะแว้ง

(ชาย) ทำบุญละนะสิ่งใดหนอ จะได้ร่วมหอกับแม่ใส่เสื้อแดง

(หญิง) ชางชักเอยหงส์ทองที่รัก จะเข้าไปหักเอาดอกมะแว้ง

(ลูกคู่) โอ้เจ้าชางชักเอยหงส์ทองน้องรัก จะย่องไปหักเอาใบมะแว้ง

(หญิง) ทำบุญ สักกี่ชาติ ก็ไม่ได้ฟาดกับแม่ใส่เสื้อแดง

ปัจจุบัน พ่อเพลง แม่เพลงพื้นบ้านของหัวสำโรง คือ นายเงียบ –นางเผย สุริแสง ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปแล้วในวัย ๘๐ กว่าปี ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านทั้งสองได้ถ่ายทอดการแสดงเพลงพื้นบ้านให้กับเด็ก เยาวชนในสถานศึกษาไว้หลายรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม เพลงพื้นบ้านหัวสำโรง ยังมี นายจิรวัฒน์ สุริแสง บุตรชาย ของนายเงียบ นางเผย สุริแสง และศิลปินเพลงพื้นบ้านหัวสำโรง อีกจำนวน ๑๕ ท่าน ได้สืบสานต่อ และถ่ายทอดให้กับเด็ก และเยาวชนในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง โรงเรียนวัดอ่าวช้างไล่ โรงเรียนบ้านหนองสทิต โรงเรียนไผ่แก้ววิทยา อำเภอแปลงยาว ฯลฯ และยังออกแสดงตามงานการกุศล งานบุญประเพณี งานนิทรรศการด้านวัฒนธรรมของสถานศึกษา ส่วนราชการ เครือข่ายทางวัฒนธรรม และเอกชน

สถานที่ตั้ง
บ้านหัวสำโรง
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล หัวสำโรง อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
(บุคคล/หน่วยงาน/หนังสือ/เอกสาร)
บุคคลอ้างอิง นางฉันทนา สระบุรินทร์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอแปลงยาว
ตำบล วังเย็น อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24190
โทรศัพท์ ๐๘๑ - ๙๓๑๘๒๙๕
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่