ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 28' 22.8556"
14.473015437820136
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 37' 8.616"
100.6190600106811
เลขที่ : 186487
ศาลาการเปรียญ : วัดกลาง
เสนอโดย เสือมหาราช วันที่ 31 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 31 มีนาคม 2556
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 518
รายละเอียด

ศาลาการเปรียญ

วัดกลางตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก เมื่อหันหน้าไปตามกระแสน้ำจะอยู่ฝั่งซ้าย บริเวณคุ้งน้ำ แม่น้ำป่าสักช่วงนี้ไหลจากตะวันออกไปตะวันตก เขตสังฆาวาส อันประกอบด้วย หมู่กุฏิ หอฉัน หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง โรงครัว และศาลาท่าน้ำ จะอยู่ริมวัดด้านติดกับริมฝั่งแม่น้ำ ต่อจากเขตสังฆาวาสไปทางเหนือน้ำ เป็นเขตพุทธาวาสและเป็นที่ตั้งอุโบสถ ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตรงส่วนที่เป็นคุ้งน้ำหรือบริเวณส่วนที่กระแสน้ำไหลเข้ามาปะทะตลิ่งส่วนนี้ ทำให้พังบ่อย ๆ ขณะที่เข้าไปสำรวจ (เดือนตุลาคม 2551) เทศบาลตำบลนครหลวงกำลังดำเนินการสร้างเขื่อนกันตลิ่งพัง ถัดออกมาจากอุโบสถด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 50 เมตร จะเป็นเมรุและศาลาสวดพระอภิธรรม ระหว่างอุโบสถกับมณฑปแต่เดิมเคยมีบ่อน้ำปัจจุบันได้ถมเสียแล้ว

การที่วัดตั้งอยู่ริมน้ำก็เพื่อสะดวกในการสัญจรไปมา เพราะแต่เดิมการคมนาคมใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก ต่อมามีถนนสายอำเภอนครหลวง-อำเภอท่าเรือ ตัดผ่านหลังวัด และการสัญจรไปมาทางน้ำลดความนิยมลง จึงได้สร้างประตูและทางเข้าวัด ด้านหลังวัดแต่เดิมจึงกลายมาเป็นหน้าวัดโดยปริยาย

อุโบสถเดิมสร้างด้วยไม้ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุ่งด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า แต่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ใบเสมาก็เป็นไม้ ที่ด้านหน้าอุโบสถมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่ 3 องค์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 พระครูโสภิตวิหารคุณ เจ้าอาวาส ได้รื้ออุโบสถไม้หลังเก่าแล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ ทรงไทย ประเพณี ก่ออิฐถือปูน พร้อมกับซ่อมแซมพระประธาน เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทั้ง 3 องค์ ใบเสมาเปลี่ยนจากไม้มาเป็นปูนประดับกระจกสี จ้างช่างเขียนภาพพุทธประวัติภายในอุโบสถ ฝีมือสวยงามมาก มีผู้คนมาขอเข้าชมอยู่เนือง ๆ

สำหรับศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้ มีการบูรณะซ่อมแซมเพิ่มเติมบ้าง เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ใช้สอย มีทางเชื่อมเข้าหากับหมู่กุฏิ และหอสวดมนต์ ภายในศาลาวัดมีของเก่าทีมีคุณค่าอยู่ 2 สิ่ง คือ ระฆังสัมริดที่ได้กล่าวมาแล้ว กับธรรมาสน์เก่าประดับลายด้วยมุก มีอักษรจารึกไว้ว่าได้ซ่อมแซมในเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นธรรมาสน์ที่มีรูปทรงแปลกกว่าธรรมาสน์ทั่วไป คือ หลังคาธรรมาสน์ไม่มีซุ้มบันแถลงและชั้นลด แต่ทำเป็นทรงสามเหลี่ยมฐานสี่ด้านเท่ากัน ส่วนยอดแหลม แต่มีคันทวยหางหงส์แบบรัตนโกสินทร์ที่มุมเสาทั้ง 4 แต่ละเสาจะประกอบด้วยคันทวย 2 ตัว มีบันไดแก้วขึ้นไปบนธรรมาสน์

โดย วัฒนธรรมอำเภอนครหลวง สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอนครหลวง

สถานที่ตั้ง
วัดกลาง โทร.035-359549
เลขที่ 92 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล นครหลวง อำเภอ นครหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา
บุคคลอ้างอิง ธเนศ วีระสัย อีเมล์ thaneth.v@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีเมล์ ayutthayaculture@gmail.com
ถนน เอเซีย
ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 0 3533 6882-3 โทรสาร 0 3533 6881
เว็บไซต์ http://www.ayu-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่