ดอกอ้อ หรือดอกหญ้า หรือ ดอกแขม มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ดอกอ้อ เป็นพืชล้มลุกลำต้นเล็ก ๆ เป็นปล้อง ๆ คล้ายต้นอ้อย เปราะง่าย ขึ้นง่ายตามป่า ตามเขา ในทุกภาค เมื่อถึงปลายฤดูหนาว ประมาณเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม จะมีดอกอ้อบานมาก ชาวบ้านจะเก็บดอกอ้อมาทั้งต้นแล้วนำมาตากให้แห้งหลักจากนั้นก็จะนำมาทุบหรือตีกับพื้นดินแข็งหรือพื้นปูนช่วงดอกให้เกสรของดอกอ้อหลุดร่วงออกจนหมดแล้วจึงนำก้านดอกที่เหลือมาทำใม้กวาด โดยการนผูกด้วยหวาย หรือป่าน ปอ ในสมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันหวาย หรือป่าน ปอ หายาก ชาวบ้านจึงนิยมผูกหรือถัดไม้กวาดดอกหญ้า ดอกอ้อ ด้วยฟาง หรือเชือกในลอนเส้นเล็ก ๆ ซึ่งสามารถเลือกขนาดและสีสรรสวยงามและสะดวก ชาวบ้านทั่วทุกอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี นิยมทำไม้กวาดดอกอ้อ เพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่ชาวบ้านทำในครัวเรือน เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวหลักจากเสร็จสิ้นการทำนา ทำไร่
ความสำคัญ นับตั้งแต่โบราณกาล ชาวบ้านนิยมนำต้นดอกอ้อ (ดอกหญ้า หรือต้นแขม) มาถักด้วยเชือกปอ ฟาง หรือเชือกในลอนเส้น เล็ก ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจากปู่ ย่า ตายาย พ่อแม่ เป็นการนำวัสดุในท้องถิ่น/ชุมชนมาสร้างมูลค่า เช่น ด้ามนิยมใช้ไม้ไผ่ลำเล็ก มาทำด้าม ใช้ขี้ชันทาไม่ให้ดอกหญ้าหลุดง่าย แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า มีการปรับเปลี่ยนจากด้ามไม้ไผ่เป็นด้ามพลาสติก และแผ่นพลาสติกสำหรับเสียบดอกหญ้าแล้วเย็บด้วยเชือกในล่อน ซึ่งรวดเร็วทำง่ายกว่าทำจากไม้ไผ่ในปัจจุบันหายาก เสียเวลาในการเหลาตาไม้ไผ่ให้เรียบผิวไม้ไผ่ให้เรียบเนียนเพื่อป้องกันเสี้ยวตำมือ และหาขี้ชัน การทำไม้กวาดดอกอ้อ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดีและน่าส่งเสริมพร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาให้คงอยู่สู่รุ่นต่อรุ่น