ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 49' 40.7402"
18.8279834
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 59' 55.7718"
98.9988255
เลขที่ : 187847
ดอกซอมพอ
เสนอโดย noi Na Nan วันที่ 18 เมษายน 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 23 เมษายน 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
1 1928
รายละเอียด

สีสดใสของดอกซอมพอ กับป๋าเวณีปี๋ใหม่ นับเป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของประเพณีบ้านเฮาที่จะเอาดอกซอมพอ ใส่ขัน ไปวัด ดำหัว

ดอกซอมพอ ที่เราคุ้นเคย คือหางนกยูงไทย แต่ที่เราเห็นสีส้มแดงแสดผสานสีจัดจ้านต้นสูงอยู่ทั่วไปคือหางนกยูงฝรั่ง เวลาเล่นน้ำสงกรานต์ก็มักจะเอาซอมพอหลวงหรือหางนกยูงฝรั่งมาแต่งรถ เที่ยวรดน้ำ

ความผูกพันกับดอกซอมพอมาจากอุ้ย สมัยก่อน(ก้่อน ก่อน) จะมีดอกซอมพอต้นหนึ่ง ติดๆบ้านเลย เวลาจะไปวัดเราก็ไปเก็บมา ต้นซอมพอหรือหางนกยูงไทย ต้นจะไม่สูงมากนัก พอที่เราจะเก็บได้ง่ายๆ

แม้จะมีซอมพอหลากสีมากขึ้น แต่ก็ยังชื่นชอบสีดั้งเดิมของดอกซอมพอ คือเหลือง เหลืองส้มนิดๆ

มีอะไรกินอันนั้น นี่ของจริง เพราะนอกจากจะช่วยอุ้ยเก็บซอมพอไปวัึดแล้ว ว่างๆ ก็ไปด้อมๆมองๆ ว่า มีหน่วย(ฝัก)หรือยัง

ถ้ามีฝัก ก็จะเอามากิน ในสมัยที่ไม่มีขนมสำเร็จรูปมากมาย ก็ไม่แสวงหาอื่นใด นอกจากของธรรมชาติที่มีวิธีกินตามแบบโบราณ บอกต่อกันมา กินกันมา แม้ไม่นิยมมาก แต่ก็ก้อมแก้มไป ตามประสา

วิธีกิน คือ เอาฝัึกแก่ แกะเปลือกออก จะมีเมล็ด ส่วนที่เราจะกินได้คือ ส่วนที่หุ้มเมล็ด เหมือนเป็นวุ้นหรือเจลาตินเคลือบ ซึ่งจะเป็นสีใสๆเวลาเคี้ยวจะหนึบนิดๆ แต่ไม่ใช่จะมีมากนะ บางๆใสๆ กินก็ยาก แถมเวลาแกะจะเหม็นเขียวเมล็ดอีก

แต่ก็กิน และก็ชอบกินปี๋ใหม่นี้ อย่าลืมดอกซอมพอไส่ขันดอก ไปวัด ไปดำหัว

คำสำคัญ
ดอกซอมพอ
สถานที่ตั้ง
ตำบล สันผีเสื้อ อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง lakana Na Nan อีเมล์ lakana_noi@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
ตำบล ช้างเผือก อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่