ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 30' 28.1578"
16.5078216
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 42' 10.0123"
98.7027812
เลขที่ : 19070
นายทองสุข ลำพา_เป่าปี่ชวา
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 22 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : ตาก
0 676
รายละเอียด

นายทองสุข ลำพา ศิลปินพื้นบ้านผู้มีความชำนาญและมีความรู้การเป่าปี่ชวา ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตรีประเภทหนึ่ง นอกจากนั้นยังเป็นวิทยากรทำการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนผู้สนใจในท้องถิ่นอีกด้วย ปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่มีลิ้น เข้าใจว่าเมืองไทยรับมาในคราวเดียวกับกลองแขก ส่วนประกอบของปี่ชวามีดังนี้ ตัวเลา ทำด้วยไม้จริงจริง แบ่งเป็น 2ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า"เลาปี่" กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนโคนกลึงให้ใหญ่เล็กน้อย มีลูกแก้วคั่น ท่อนบนของลำปี่ ใต้ลูกแก้วเจาะรู 7รูเรียงตามลำดับ สำหรับปิดเปิด และมี "รูนิ้วค้ำ" อยู่ด้านหลังใกล้กับลูกแก้ว อีกท่อนหนึ่งเรียกว่า "ลำโพงปี่" ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียว ปลายบานเหมือนดอกลำโพง ภายในโปร่ง ตอนกลางกลึงเป็นลูกแก้วคั่น ตอนบนจะหุ้มด้วยแผ่นโลหะบางๆ โดยรอบ สวมรับกับตัวลำปี่ได้พอดี ลิ้นปี่ ทำด้วยใบตาลแก่ ตัดพับซ้อนกันเป็น 4กลีบ สอดใส่ที่ปลาย "กำพวด" ซึ่งทำด้วยโลหะกลมเล็กยาว ภายในโปร่ง ผูกด้วยเชือกเส้นเล็กๆด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด เคียนด้วยด้ายที่โคนกำพวด เพื่อสอดใส่ให้แน่นในรูปี่ เฉพาะลิ้นปี่ชวาจะมี "กระบังลม" ซึ่งทำด้วยไม้หรือกะลา บางกลม สำหรับรองรับริมฝีปากขณะเป่า สำหรับตัวเลาปี่ชวา นอกจากจะทำด้วยไม้แล้ว ยังสามารถทำให้สวยงามด้วยงาทั้งเลา หรือทำด้วยไม้ประดับงา ปี่ชวาใช้ในการบรรเลงในวงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงเครื่องสายปี่ชวานอกจากนี้ปี่ชวายังใช้ในการเป่าประกอบการรำกระบี่กระบองและการชกมวยอีกด้วย

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
นายทองสุข ลำพา
เลขที่ 45 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านเสรีราษฎร์
ตำบล ช่องแคบ อำเภอ พบพระ จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ
บุคคลอ้างอิง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ
ตำบล ช่องแคบ อำเภอ พบพระ จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63160
โทรศัพท์ 055567367
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่