ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 10' 25.1882"
19.1736634
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 55' 7.6314"
100.9187865
เลขที่ : 191742
สัตตภัณฑ์ (บันไดแก้ว)
เสนอโดย อำเภอปัว วันที่ 5 กันยายน 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 5 กันยายน 2556
จังหวัด : น่าน
0 696
รายละเอียด

สัตตภัณฑ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “บันไดแก้ว” มีลวดลายงดงาม แบบลักษณะเฉพาะของเมืองน่าน วัดร้องแงจะใช้สัตตภัณฑ์ในวันเทศน์มหาชาติ (วันลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) โดยจะนำไปวางหน้าพระประธานแล้วนำจ๊างจ้อยม้าจ้อย (แผ่นเงินที่สลักรูปช้าง ม้า ฆ้อง กลอง ฯ ) นำมาวางไว้ด้านบน พร้อมทั้งจุดธูปเทียน จำนวน 7 เล่มเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา “สัตตภัณฑ์” มีความสำคัญคือไว้เป็นเชิงเทียนสำหรับบูชาพระประธานในอุโบสถ พระวิหาร หรือพระธาตุเจดีย์โดยเป็นเครื่องอามิสบูชาที่สำคัญอย่างหนึ่งตามความเชื่อของล้านนา สัตตภัณฑ์ส่วนมากจะทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นลวดลายรูปสัตว์ พันธุ์พฤกษา ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นรูปนาค อนึ่งนอกจากช่างจะแกะสลักแล้วบางครั้งยังมีการลงรักปิดทองประดับกระจกสี ด้านบนมักจะแกะสลักเป็นเชิงเทียนจำนวนรวม 7 อัน โดยสัตตภัณฑ์และเชิงเทียนทั้ง 7 อันมีผู้ได้ให้ความหมายด้านรูปลักษณ์ว่าอาจหมายถึง ภูเขาทั้ง 7 ที่ตั้งรายล้อมภูเขาพระสุเมรุ อันหมายถึงสวรรค์ที่ประทับของเทพดาทั้งหลาย ประกอบด้วย ยุคนธร อิสินธร กรวิก เนมินทร สุทัศนะ วินันตกะ และอัศกันต์สัตตภัณฑ์อีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแบบขั้นบันได กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นฝีมือช่างเมืองแพร่ และน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะไทลื้อ ประดับเชิงเทียนตามริมบันไดทั้งสองข้าง ข้างละ 3 เล่ม และประดับที่กลางบันไดด้านหลังอีก 1 เล่ม โดยสัตตภัณฑ์แบบนี้ไม่มีการตกแต่งมากเท่าสัตตภัณฑ์แบบแรก และเป็นสัตภัณฑ์ที่หาชมยาก ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์วัดหลวง จ.แพร่, วัดหนองแดง อ.เชียงกลาง จ.น่าน และที่วัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดป่าหัด
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล วรนคร อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กนกพร บุญตาม อีเมล์ yathip999@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
เลขที่ - ซอย - ถนน -
ตำบล วรนคร อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่