ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 54' 1.8202"
12.9005056
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 14' 57.813"
102.2493925
เลขที่ : 192439
การจักสานกระบุง จากต้นคลุ้ม-ต้นคล้า
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 9 กรกฎาคม 2562
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 9 กรกฎาคม 2562
จังหวัด : จันทบุรี
0 2279
รายละเอียด

การจักสานกระบุง จากต้นคลุ้ม-ต้นคล้า

“การจักสานกระบุงจากต้นคลุ้ม - ต้นคล้า”ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และพัฒนาขึ้นตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

กระบุงเป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่ หรือวัสดุในท้องถิ่น ตามความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย หรือสภาพภูมิศาสตร์ รวมถึงประเพณี ความเชื่อ ศาสนา โดยสานเป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่นๆ ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน

ลวดลายของเครื่องจักสานที่ทำขึ้นโดยชนชาติต่างๆจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายในการสานจะมีจำกัดอยู่ไม่มากลายนัก และความจำกัดของลวดลายนี้ทำให้รูปทรงของเครื่องจักสานมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันไปด้วย

ต้นคลุ้ม คือ

ลำต้นใต้ดินต้นคลุ้มมีหัวใต้ดินติดกันเป็นกอ สามารถแตกแขนง แตกตา เจริญเติบโตเป็นลำต้นบนดิน ได้เช่นเดียวกัน
ใบคลุ้ม ขนาดกว้าง ส่วนใบคล้าที่มี อายุและขนาดกอและลำต้นใกล้เคียงกัน จะมีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปทรงของใบเป็นวงรี โคนใบมน ปลายใบเรียว มีเส้นใบชัดเจน และเรียงตัวแบบขนาน ขอบใบเรียบ สีของใบ สีเขียวอ่อน-แก่ ขึ้นกับอายุ และร่มเงาในบริเวณที่ขึ้น โดยทั่วไปหน้าใบจะมีสีเข้มกว่าหลังใบ

ลำต้นบนดิน จะมีขนาดใหญ่ และสูง เปลือกหนา และแข็ง สีของลำต้นมีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบและแข็งมาก เนื้อไม้นิ่ม เบา ลอยน้ำได้ ลำต้นส่วนปลายมีข้อ และแตกกิ่งที่ข้อ

ต้นคล้า คือ

คล้าเป็นพรรณไม้ที่มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน การเจริญเติบโตของลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นเป็นไม้อวบ น้ำในเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ออกใบเป็นกาบหุ้มลำต้นสลับกัน และมีก้านใบต่อกับแผ่นใบใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบเว้าหรือแหลม ขนาดใบ สีสัน และลักษณะใบจะแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกปลายยอด หรือตามซอก กาบใบ ออกดอกเป็นคู่ ลักษณะดอกเล็กรวมกันเป็นช่อ ลักษณะดอกและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

ซึ่งทั้งต้นคลุ้มและต้นคล้าสามารนำมาใช้แทนไม้ไผ่เพื่อทำเครื่องจักสานได้ทุกชนิด

อุปกรณ์

  1. ต้นคลุ้มและต้นคล้า
    1. ไม้ไผ่
    2. มีดโต้
    3. มีดตอก มีดที่ใช้สำหรับใช้ฟันหรือตัดผ่าไม้ เป็นมีดขนาดค่อนข้างใหญ่ มีสันหนาประมาณ1 เซนติเมตร
    4. เลื่อยมือ

วิธีทำ

  1. นำต้นคลุ้มและต้นคล้ามาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
    1. ผ่าแบ่งต้นคลุ้มต้นคล้าก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน
    2. นำตอกมาสานเป็นลายสอง หรืออาจใช้ลายหนึ่ง (ขัดธรรมดา) ก็ได้ตามความต้องการ
    3. เหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียว
    4. นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้วนั้นไปสอดขัดกับตอกที่สานเพื่อให้แข็งแรง งานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นตะกร้า
    5. จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการ โดยนิยมใช้ลายสองต่อจากก้นตะกร้า
    6. ใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนเป็นลายหนึ่งจนสุดขอบปากตะกร้า
    7. พับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม

วิธีการจักตอก

  1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก(ขี้ตอก) จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ กว้างเท่าๆกัน
  2. การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น
  3. การจักไพล ใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคง แต่การเหลาจะเหลาให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน

วิธีการสานที่ใช้

  1. ลายหนึ่ง หรือลายขัดธรรมดา
    1. วางวัสดุเส้นสานโดยทับ 1เส้น ยก 1เส้น สลับกันไปตลอดแนว
    2. สอดวัสดุเส้นสานโดยทับ 1 เส้น ยก 1 เส้น สลับกันไปตลอดแนวแต่ขัดสลับตรงกันข้ามกับเส้นก่อนหน้า
    3. สานวัสดุเส้นที่ 2 3 4 ต่อไปคล้ายกับเส้นที่ 1 และ 2 ไปเรื่อยๆจนเสร็จตามต้องการ
  2. ลายสอง
    1. วางวัสดุเส้นหลักเรียงกันเป็นผืนโดยวางตั้งตลอดแนว
    2. สอดวัสดุเส้นสานโดยทับ 2 เส้น ยก 2 เส้น สลับกันไปเรื่อยๆตลอดแนว
    3. สานวัสดุเส้นต่อไป โดยไม่เริ่มยกเส้นแรก แต่เริ่มยกวัสดุเส้นที่ 2 3 ทับ 2 เส้นสลับต่อกันไปเรื่อยๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 22 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล ทับไทร อำเภอ โป่งน้ำร้อน จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือการจักสานกระบุง จากต้นคลุ้ม-ต้นคล้า (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี)
บุคคลอ้างอิง นายลด สายแก้ว
เลขที่ 22 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล ทับไทร อำเภอ โป่งน้ำร้อน จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22140
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่