ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 38' 48.134"
12.6467039
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 13' 23.7407"
102.2232613
เลขที่ : 192441
การทำลูกประคบสมุนไพรสด
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 10 กรกฎาคม 2562
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 10 กรกฎาคม 2562
จังหวัด : จันทบุรี
0 992
รายละเอียด

การทำลูกประคบสมุนไพรสด

ลูกประคบสมุนไพรคือ สิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษที่ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการรักษาหรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาความรู้ในการทำลูกประคบสมุนไพรเรื่อยมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมุนไพรที่ใช้ในการทำลูกประคบ

• ไพลสด

• ขมิ้นอ้อย

• ขมิ้นชัน

• ผิวมะกรูด

• ตะไคร้

• พิมเสน

• การบูร

• ใบมะขาม

• เปลือกส้มโอ

• หอมสด

• ลูกกระวาน

• ใบส้มป่อย

• กานพลู

• เกลือ

วัสดุอุปกรณ์

มีด

เขียง

ครก

ผ้าดิบ ขนาด กว้าง 10 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว

ถุงมือ

วิธีทำ

1. นำสมุนไพรทั้งหมดมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก

2. นำสมุนไพรที่เตรียมมาใส่ครก โขลกไม่ต้องละเอียดเกินไป

3. นำสมุนไพรที่ได้มาเทลงบนผ้าขาวที่เตรียมไว้

4. มัดให้แน่น

วิธีใช้

1. นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อน

2. นำไปประคบร่างกายตามจุดต่างๆที่ต้องการ

ประโยชน์ของการใช้ลูกประคบสมุนไพร

• ช่วยให้มดลูกกระชับเร็วขึ้นสำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร

• ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก

• ลดอาการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบ

• ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ

• บรรเทาอาการปวดเมื่อย

• ลดอาการบวมจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือบริเวณต่างๆ

• กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต

• ใช้ประคบเพื่อให้เต้านมหายคัด สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร

• ขับเหงื่อ ทำให้ตัวเบา นํ้าหนักลด

• การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ผิวพรรณสดใส

• ทำให้หายใจสะดวก ละลายเสมหะ

• ลดอาการอักเสบ และบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจตอนบน

ข้อห้ามในการใช้ลูกประคบสมุนไพร

• ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป

• บริเวณผิวหนังอ่อนๆหรือที่บาดเจ็บต้องมีผ้ารองก่อนประคบ

• ควรระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เพราะมีการตอบสนองต่อความร้อนช้า

• ไม่ประคบในบริเวณที่มีการอักเสบ บวม ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก

• ถ้าใส่การบูรมากไปอาจทำให้ผิวหนังพองได้

• หลังการประคบไม่ควรอาบนํ้าทันที ควรรอประมาณ 1 ชั่วโมง

• ลูกประคบไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น

ความรู้เพิ่มเติม

• ถ้าต้องการใช้ลูกประคบสมุนไพรกับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ เพื่อให้นมหายคัด ถ้าเป็นท้องสาวต้องใช้ลูกประคบ 3 ลูก ลูกหนึ่งสำหรับนั่งทับ อีกลูกสำหรับประคบตัวเมื่อแรกก่อนประคบเต้านม จะเป็นไตเต่งเป็นลูกๆ มีอาการเจ็บ กระทบไม่ได้ เมื่อประคบแล้วอาการจะทุเลาลง เมื่อประคบเสร็จแล้วให้นำนํ้ายาที่เหลือจากการเข้ากระโจม อาบให้หมด แล้วใช้นํ้าเปล่าอุ่นๆอาบล้างอีกครั้งหนึ่ง ทำทุกวันจนกว่าจะออกไฟ

การเก็บรักษา

ลูกประคบที่ทำหนึ่งหนึ่งๆอาจเก็บได้นาน 3-5 วัน เวลาเก็บควรฝังตัวยาไว้อย่าให้อับ ถ้าเก็บในที่เย็นจะทำให้เก็บได้นานขึ้นถ้าตัวยาบูดไม่ควรนำมาใช้ ถ้าลูกประคบแห้งให้นำมาพรมนํ้าก่อน ถ้าลูกประคบไม่มีสีเหลืองของไพลไหลออกมา แสดงว่าตัวยาใช้ไม่ได้ผล

ระยะเวลาที่ใช้ในการประคบ

โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ต่อการประคบหนึ่งครั้ง ถ้ามีอาการเคล็ดขัดยอกอาจใช้วันละ 2 ครั้ง

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 46/7 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล อ่างคีรี อำเภอ มะขาม จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือการทำลูกประคบสมุนไพรสด (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี)
บุคคลอ้างอิง นางจารุณี สินธพ
เลขที่ 46/7 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล อ่างคีรี อำเภอ มะขาม จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22150
โทรศัพท์ 0879254305
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่