ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 11' 38"
9.1938889
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 24' 54"
98.4150000
เลขที่ : 192817
ประเพณีชักพระ
เสนอโดย พังงา วันที่ 29 เมษายน 2563
อนุมัติโดย พังงา วันที่ 29 เมษายน 2563
จังหวัด : พังงา
0 610
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมาของประเพณีชักพระ

พุทธประวัติกล่าวว่า วันที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์สู่มนุษย์โลก หลังจากเสด็จขึ้นไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดุสิตตลอดพรรษา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษาทรงเสด็จลงมาตามบันไดแก้ว, บันไดทอง, บันไดเงิน บันไดทั้ง 3 ทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ของวันแรม 9 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษาพอดี

พุทธบริษัททั้งหลายทราบข่าวต่างมาคอยต้อนรับเสด็จอย่างเนืองแน่น เพื่อจะคอยตักบาตร ถวายภัตตาหาร ดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งเป็นที่มาของประเพณี "ตักบาตรเทโวซึ่งบางคนไม่สามารถเข้าถวายภัตตาหาร เพราะมีคนอย่างล้มหลามที่จะถวายภัตตาหาร ด้วยศรัทธาแรงกล้าของผู้ที่เข้าไม่ถึงพระพุทธองค์จึงเกิดประเพณีทำขนมขึ้นชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบไม้ (ใบจาก ใบเตย) เรียก "ขนมต้มหรือห่อต้ม หรือห่อปัดก็เรียก สำหรับโยนและปาจากระยะห่างเข้าไปถวายได้ ซึ่งความจริงอาจเป็นความสะดวกในการนำพาไปทำบุญ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และสะดวกต่อการนำพาไปกินเวลาหิวขณะลากพระ ตลอดจนการขว้างปาเล่นกัน (เรียกซัดต้ม)

ดังนั้นขนมต้มจึงถือเป็นขนมหลัก เป็นเอกลักษณ์ประจำเทศกาล ดังมีคำกล่าวว่า "เข้าษากินตอก ออกษากินต้มคือ ขนมประเพณีประจำเทศกาลเข้าพรรษา คือ ข้าวตอก ส่วนเทศกาลออกพรรษา คือ ขนมต้ม ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นการทำบุญออกพรรษาตามปกติ บางวัดมีการตักบาตรหน้าพระลากเพิ่มเป็นพิเศษ เรียก "ตักบาตรหน้าล้อในตอนกลางคืนระหว่างที่มีพิธี "คุมพระ” (ประโคมพระลาก) อีกด้วย พอถึงวันแรม 11 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษา หลังจากทำบุญที่วัดตามปกติแล้วจะมีการลากพระต่ออีก 1-2 วัน อย่างสนุกสนาน มีเพลงลากพระร้องเล่นอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
อำเภอ คุระบุรี จังหวัด พังงา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่