ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 4' 41.7778"
16.0782716
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 8' 31.3249"
104.1420347
เลขที่ : 193400
หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 8 ธันวาคม 2563
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 8 ธันวาคม 2563
จังหวัด : ยโสธร
0 351
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) ประวัติหอไตรบ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เมื่อราวปี ๒๒๐๐๐ บรรพบุรุษของชาวบ้านนาเวียงเป็นชาวไทพวนอพยพมาจากบ้านสามหมื่นภูเพียง (ปัจจุบันขึ้นตรงต่อ “เมืองเฟือง”แขวงนครเวียงจันทน์) โดยการนำของเจ้าชาและคูหลักคำ ตอนศึกสามโบกได้รวบรวมผู้คน สมบัติและของมีค่าอันเป็นมรดกพากันอพยพ ข้ามแม่น้ำโขงเดินทางรอนแรมมุ่งหน้าสู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมา เพื่อหาแหล่งที่อยู่เพื่อสร้างบ้านแปลงเมือง ตามความเชื่อในคำทำนายของโหร ในการเดินทางเป็นระยะทางยาวไกลได้หยุดพักขบวนเรื่อยมาจนกรแต่กระทั่งมาถึงบริเวณป่าดงใหญ่ (ปัจจุบันคือ “บ้านหนองขุ่นใหญ่”อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด) ขบวนไพร่พลเกิดความอ่อนล้าและเจ็บป่วยเจ้าชาและคูหลักคำจึงได้หยุดพักและตั้งฐานที่มั่นเพื่อเยียวยารักษาไพร่พล อยู่ที่ไม่หลาย เจ้าชาและคูหลักคำจึงให้คูยวนเป็นหัวหน้าดูแลไพร่พลพร้อมสั่ง หากพร้อมเมื่อใดให้อพยพตามหลังมา ก่อนจากกันได้มอบตู้กูปหลังช้าง จำนวน ๒ หลัง พร้อมคัมภีร์พระพุทธรูปและศาสนสมบัติไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าแม้อยู่แห่งหนใดเราคือพี่น้องบ้านสามหมื่นภูเพียงมาด้วยกันจากนั้นไพร่พลส่วนใหญ่จึงเดินทางต่อไป จนกระทั่งมาถึงดินแดนแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกว่า นาโคก) แต่ก่อนเป็นที่ราบป่าดงดิบอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ขุดบ่อน้ำกินน้ำใช้ สะดวกและง่ายต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

จึงหยุดพักผู้คนชั่วคราว ได้ทำการขุดสระและสร้างสิมน้ำเพื่อเก็บตู้คัมภีร์และของมีค่าอื่นๆ (ปัจจุบันคือหนองหว้าหอไตร) อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าชาและพรานผู้ชำนาญในการเดินทางได้ออกตระเวนหาแหล่งทำเลที่เหมาะสม พบที่ราบลุ่มแห่งหนึ่งมีลำห้วยและน้ำไหลผ่านอยู่ห่างที่พักไม่มากนัก จึงอพยพผู้คนเดินทางมาทางทิศใต้ และได้ทำพิธีเสี่ยงทายเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้าน ได้ฝั่งขวาของสายน้ำ (ห้วยค้อ) เห็นว่าเป็นที่เหมาะสมจึงได้ตั้งถิ่นฐานตามความเชื่อและคำทำนาย เริ่มแรกเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านคำแค” โดยเรียกตามทำเลของพื้นที่อยู่ เพราะมีน้ำคำไหลตลอดปี ส่วนการสร้างวัดได้เสาะหาแหล่งน้ำเห็นหนองน้ำแห่งหนึ่งเป็นที่เหมาะเพื่อสร้างสิมน้ำ “หอไตร” แต่ค่อนข้างตื้นเขินจำเป็นต้องขุดลอกจึงเกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันขุดลอก ปรากฏ ว่าเจอกระดูกสัตว์และเขากวางทับถมกันมากมายและสร้างสิมน้ำ (ก่อสร้างครั้งแรกใช้เสาเพียง ๔ ต้น ปรากฏว่าเห็นตอนรื้อถอนซ่อมแซมใหม่) ด้วยอิทธิฤทธิ์ และบารมีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเล่าขานกันไปทำให้ชนท้องถิ่นเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันออก (บริเวณนาบ้านเก่าในปัจจุบัน) อพยพมาขอพึ่งบารมี สิมน้ำ(หอไตร) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสมบัติคู่บ้าน จึงขนานนามชื่อบ้านใหม่ว่า “บ้านสระเวียง”ด้วยเหตุมีการทำไร่ทำนาเมื่อมีใครถามก็เรียกว่านาไทเวียง เพื่อสอดคล้องกับนาไทเวียงจึงเปลี่ยนชื่อบ้านสระเวียงเป็น “บ้านนาเวียง” มาจนถึงปัจจุบัน “หอไตร” เป็นที่เก็บคัมภีร์และของมีค่าและเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมือง ชาวบ้านนาเวียงจึงคิดค้นลายหอไตรขึ้นมาและทอเป็นผ้าลายหอไตรมาจนถึงปัจจุบัน วัดสระไตรนุรักษ์ตั้งอยู่ที่บ้านนาเวียง หมู่ที่ ๑ ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล เป็นวัดเก่าแก่ของบ้านนาเวียงหรือเดิมคือบ้านสระเวียง บ้านเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี ตั้งขึ้นโดยชาวลาวเมืองเวียงจันทน์ นำโดยท่านเจ้าชาพระเถระผู้แตกฉานในธรรมพร้อมด้วยประชาชนส่วนหนึ่ง ได้อพยพหลบหนีพระเจ้าสิริบุญสาร โดยรวบรวมพร้อมทรัพย์สมบัติและคัมภีร์ต่าง ๆ มาด้วย อยู่ที่นี่กว่า ๒ เดือน จึงอพยพไปอยู่บ้านหนองบัวลุ่มภูเป็นเวลา ๒ ปีเศษ พระวอพระตาย้ายมาอยู่ด้วย พระเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวตามมา เจ้าชาอพยพหนีอีกครั้งจนมาถึง “หนองหว้าหอไตร” ด้านเหนือของบ้านเวียงปัจจุบัน ต่อมาย้ายไป “บ้านคำแค” และเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านสระเวียง” และบ้านนาเวียง จนถึงปัจจุบัน ท่านเจ้าชาได้สร้างวัดขึ้นทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านพร้อมขุดสระน้ำขึ้นเพื่อสร้างหอไตรไว้เก็บพระคัมภีร์ สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วย หอไตร กุฏิ ศาลาโรงธรรม สิมน้ำและอื่นๆ ปัจจุบันชำรุดหมดแล้ว ส่วนหอไตรได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ เป็นหอไตรกลางน้ำมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ก่อสร้างโดยช่างลาวที่อพยพเข้ามาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารก่อสร้างด้วยไม้ หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันตก ขนาด ๘.๓๐ เมตรยาว ๑๐.๕๐ เมตร หลังคามุงด้วยไม้ซ้อนกันลดหลั่นกัน ๔ ชั้น มาชายคายื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน บนประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม รวมทั้ง รายละเอียดต่าง ๆ ของช่อฟ้า กระจกประดับ บังเชิงชาย หางหงส์ (ตัวเหงา) มีลวดลายกนกซ้อนกัน ๔ ชั้น ตรงกลางเป็นห้องทึบ ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๕.๐๐ เมตร เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกมีทางเดินรอบนอก พระไตรปิฎกผูกเรื่องราวบันทึกลงใบลานแยกเป็นหมวดหมู่ มีทั้งภาษาไทย อีสาน ขอม บาลีตัวหนังสือเป็นอักษรธรรม อักษรไทยน้อย และอักษรขอม มีคัมภีร์ใบลานทั้งหมด ๑๙๘ มัด ๑,๕๕๓ ผูก

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล นาเวียง อำเภอ ทรายมูล จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ธีร์วรา ดาวัลย์ อีเมล์ morcanubon@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่