ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 15' 18.1858"
20.2550516
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 10' 46.7278"
100.1796466
เลขที่ : 193409
ผ้าทอหมู่บ้านท่าขันทอง เชียงแสน
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 6 มกราคม 2564
อนุมัติโดย เชียงราย วันที่ 31 มีนาคม 2564
จังหวัด : เชียงราย
0 769
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านท่าขันทอง เป็นหมู่บ้านคนไทยอีสาน ซึ่งย้ายมาจาก17จังหวัดของภาคอีสาน ได้ย้ายมาอยู่ดินแดนล้านนา อยู่กันมานานสมัครสมานสามัคคีพร้อมใจรวมกันพัฒนา เพื่อนำพาบ้านเราก้าวไกล ซึ่งเป็นหมู่บ้านหัตถกรรม การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากการทอผ้า ผ้าซิ่นจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง

เสน่ห์ของ ผ้าฝ้ายทอมือ

จะเป็นลวดลาย เอกลักษณ์อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านท่าขันทอง ซึ่งจะผสมผสานกันกับอีสานล้านนา จากที่เป็นลายอีสานดั่งเดิม กลายมาเป็น ลายอีสานผสมล้านนา

ชื่อลายสายแม่น้ำโขง

เป็นผ้าทอที่มีเอกลักษณ์แห่งเดียวคือผ้าลายสายแม่น้ำโขงที่ชุมชนบ้านท่าขันทองเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่กรรมวิธี การผลิตฝีมือพื้นบ้านกลายเป็น “ผ้าฝ้ายทอมือลายสายแม่น้ำโขง” ชนิดต่าง ๆ อาทิ ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าสไบ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าเช็ดมือ กระเป๋า หมอน เสื้อผ้า และ อีกมากมาย ฯลฯ กลุ่มชมรมอีสานล้านนา (ผ้าฝ้ายทอมือ) เริ่มก่อตั้ง เมื่อปีพ.ศ. 2543โดย นางสาวกิ่งกานดา อนุภาพ จัดตั้งกลุ่มและสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ภาคภูมิใจในฝีมือ จากการทอผ้าที่สืบทอดจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ทางกลุ่มได้มีการจัดฝึกสอนให้เด็กและเยาวชน ทอผ้า เพื่อเผยแพร่ และสาธิตแก่นักศึกษาดูงาน หรือนักท่องเที่ยว เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ถือเป็นการสร้างรายได้และปลูกฝังภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับลูกหลานในชุมชนต่อไป

ซิ่นตีนจกเชียงแสน

1.ซิ่นตีนจกเชียงแสนคือผ้าซิ่นตีนจกรุ่นเก่าที่สุดที่พอจะมีหลักฐานมาถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะคลี่คลายมาเป็นซิ่นตีนจกในยุคนี้ ส่วนมากอายุราว ๆ150 - 200ปี บางผืนอาจมากกว่านั้น

2.ที่เรียกว่าซิ่นตีนจกเชียงแสนคือบรรพบุรุษไทยวนจากเมืองเชียงแสนได้นำกรรมวิธีการทออาจจะหอบหิ้วซิ่นรุ่นนี้ไปยังดินแดนต่างๆหลังเมืองเชียงแสนแตกเมื่อราว200ปีก่อน

3.ชาวเชียงแสนได้กระจัดกระจายไปยังดินแดนต่างๆเช่น เชียงใหม่ใต้ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ลาว ราชบุรี สระบุรี รวมถึงสีคิ้ว ซึ่งในดินแดนเหล่านี้เราจะพบซิ่นเชียงแสน

4.ซิ่นเชียงแสนมีจุดเด่นอย่างไร อย่างแรกคือจกลายโปร่ง และจกบนพื้นแดง ในขณะที่จกยุคปัจจุบันจกบนพื้นดำหรือสีอื่น เล็บหรือปลายสุดของซิ่นเป็นสีเหลือง ขาว หรือบางผืนอาจจะไม่มี ตัวซิ่นใช้เทคนิคการทอตระการตาซึ่งต่างไปแต่ละท้องถิ่น เช่น แถบน่านใต้นิยมเกาะล้วง มัดก่าน ขิด เชียงใหม่ใต้นิยมมัดหมี่เป็นริ้ว ลำปาง แพร่ และสระบุรี นิยมแถบริ้วขิดหรือจก อุตรดิตถ์นิยมแถบริ้วจก ราชบุรีใช้เทคนิคหลากหลายทั้งมัดหมี่ จก ยกมุก เกาะล้วง เป็นต้น

5.ซิ่นตีนจกเชียงแสนจัดว่าเป็นซิ่นหายากราคาสูง แต่มากด้วยคุณค่าและประวัติศาสตร์เคียงคู่ชาวไทยวน ในปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์

เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นชุดอีสานแบบล้านนา เป็นผ้าทอมือที่มีที่นี่ที่เดียว ไม่มีใครเหมือนแล้วไม่เหมือนใคร ที่เป็นสินค้าโอทอปสินค้าชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาโดยมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงแสน หรือลวดลายที่ถอดจากผ้าเชียงแสนโบราณ ตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คติความเชื่อจารีต ประเพณี

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอพื้นเมือง ลวดลายเชียงแสน คือลวดลายการทอ และการจรด ลวดลายจะไม่เหมือนใคร ลวดลายดั้งเดิมสืบทอดจากปู่ย่า ของคนเชียงแสน มีอยู่ 5 ลายด้วยกัน ประกอบด้วย

1. ลายกาแล

2. ลายขอพันเสาร์

3. ลายไข่ปลา

4. ลายมะลิ

5. ลายเสือย่อย เนื้อผ้าแน่นสีไม่ตก

ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการ

ขั้นตอน

  1. นำเส้นด้ายที่ย้อมแล้วมากรอใส่หลอด
  2. นำไปโว้นกับหลักเพื่อให้ได้จำนวนเส้นด้ายและความยาวตามที่ต้องการ
  3. เส้นด้ายที่โว้นแล้วนำไปม้วนเข้าลูม
  4. นำเส้นด้ายมาร้อยตะกอ (เขา) และฟันหวี (ฟืม) จนครบตามจำนวนเส้นด้ายที่กำหนดไว้
  5. จากนั้นนำด้ายพุ่งที่เตรียมไว้ไปกรอใส่หลอดเล็กสำหรับใส่กระสวยเพื่อใช้ทอ
  6. เริ่มทอผ้าได้ตามลายที่กำหนดไว้

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. กี่

2. กระสวย

3. พันหวี

4. กวงพันด้าย

5. ฝ้ายดอก

6. เส้นด้าย

7. สีย้อมผ้า

8. อีด

เทคนิคที่ใช้

  1. ขิดลาย
  2. ทอยกดอก
  3. มัดหมี่

เคล็ดลับในการผลิต

การเตรียมวัตถุดิบจะต้องพิถีพิถัน โดยผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เนื้อผ้าที่สวยงาม สมบูรณ์แบบคนทอจะต้องตรวจสอบทุกขั้นตอน ของการทอสลับสี การจกและริมผ้าเส้นด้าย พุ่งเส้นด้ายยืน

การประยุกต์ใช้

นอกจากจะนำมาใช้เป็นผ้าถุงแล้ว ยังประยุกต์ใช้เป็นเครื่องใช้อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เสื้อ กระโปรงแบบสากล กระเป๋าสุภาพสตรี เนคไท ผ้าพาดบ่า ฯลฯ

คำสำคัญ
ผ้าทอ
สถานที่ตั้ง
กลุ่มชมรมชาวอีสานล้านนา (ผ้าฝ้ายทอมือ)
เลขที่ 195 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 3 บ้านท่าขันทอง
ตำบล บ้านแซว อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สิริรัตน์ โอภาพ อีเมล์ sirirat_kn@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่