ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 16' 30"
20.2750000
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 5' 17.9999"
100.0883333
เลขที่ : 193410
จักสานบ้านดอยจำปี
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 6 มกราคม 2564
อนุมัติโดย เชียงราย วันที่ 31 มีนาคม 2564
จังหวัด : เชียงราย
0 705
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มจักสานบ้านดอยจำปี โดยนายรัตเขต ฐานะมูล เป็นนักเรียนชาวนาของไร่เชิญตะวัน ปี พ.ศ. 2556 รุ่นที่ 1 ได้เห็นเพื่อนร่วมรุ่นแต่ละหมู่บ้าน ออกบูธที่ไร่เชิญตะวันของท่าน ว.วชิระเมธี ซึ่งมีตะกร้าจักสานหลาย ๆ อย่างมากมายที่มาวางจำหน่าย และมีการสาธิต จึงได้เกิดไอเดียความคิดที่อยากจะนำมาปรับใช้ และอนุรักษ์งานสานไม้ไผ่ทางบ้านตนเองขึ้นมา โดยที่นายรัตเขต ฐานะมูล นั้นได้ทำงานเป็นประธานผู้สูงอายุอยู่จึงได้ชวนเพื่อน ๆ และคนที่จักสานเป็น และเก่งมากในหมู่บ้าน คิดเริ่มต้นจากการสาน ส้าหวด ที่คนเหนือเราใช้ข้าวเหนียวแช่ก่อนะจะเอามานึ่ง ทุก ๆ เช้า และอยากจะให้คนรุ่นหลังนั้นได้เห็นและได้มาฝึกสาน สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมจักสานล้านนาเรา

งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านทํา เพื่อใช้ในครัวเรือนมาแต่โบราณแม้ในปัจจุบัน งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วย ในขณะที่สภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวก รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่การดํารงชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพ ได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไป การประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาด จนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ในการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านอีสาน ที่ปู่ย่าจักรสานขึ้น อย่างเช่น สุ่มไก่ การสานกระด้ง กระติบข้าว กระชังใส่ปลาจึงจำเป็นอย่างมากที่ควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่าง ๆ เพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน

ความรู้เพิ่มเติม

จากการตั้งกลุ่มจักสานบ้านดอยจำปี ขึ้นมานั้น โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มจักสานบ้านดอยจำปี” แต่ตั้ง วันที่12 เดือนมกราคม 2556 โดยที่นายรัตเขต ฐานะมูลได้ทำงานเป็นประธานวัฒนธรรมตำบลป่าสักนั้น จึงได้มีโอกาสไปดูงาน หลาย ๆ รูปแบบ จึงทำให้การจักสานบ้านดอยจำปีนั้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและงดงาม

การจักรสานกระบุ้ง

กระบุง เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่น ๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหูห้อยตรงปากกระบุง 2 ข้างเอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ หรือหิ้ว ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน กระบุงขนาดใหญ่มีหูร้อยเชือก เพื่อใช้หาบ ขนาดกลางใช้ในการตวงหรือโกย และกระบุงขนาดเล็กจะใช้สำหรับงานเบ็ดเตล็ดทั่ว ๆ ไป

ประโยชน์จักรสานกระบุ้ง

กระบุง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตักตวงหรือโกย ข้าว เมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่น ๆ ทั้งนี้การใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบุงด้วย ซึ่งหากเป็นกระบุงขนาดใหญ่จะใช้สำหรับในการหาบข้าว หรือเมล็ดพืชต่างๆ ถ้าเป็นขนาดกลางจะใช้สำหรับในการตวง หรือโกยข้าว แต่ถ้าหากเป็นกระบุงขนาดเล็กจะนิยมมาใส่ของเบ็ดเตล็ด กระบุงสามารถใช้งานได้ประมาณ 2-4 ปี และนิยมทำกันในท้องถิ่น

ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์

เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้าน คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบาง ๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบาง ๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ

- มีการใช้ไม้ไผ่ผิวสานลำงวงผสมกับหวายก้างวงลำ ประรีต ซึ่งราคาเป็นกันเองและยังทำตาม ออเดอร์ให้ทุกขนาดและทุกชนิดผสมผสานกันกับตันหย่าง ซึ่งผสมผสานกันอย่างลงตัว

- คุณสมบัติทนทาน

- ใช้ใส่ของหนัก เบาได้ ตามต้องการ

- ทำความสะอาดได้ง่าย แค่ล้าง ก็สะอาดแล้ว

ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการ

๑. นำไม้ไผ่มาแช่น้ำก่อน 1-7วัน

๒. นำมาล้างให้สะอาด

๓. จากนั้นจักเป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ

4. จากนั้นนำเอาไปตากแดด พอสานเสร็จจะนำไปพ่นทินเนอร์ผสมกบน้ำมันสน ตากให้แห้ง ฆ่าเชื้อรา ก่อน

5. หลังจากนั้น สุดท้ายถึงจะลงแลคเดอร์เคลือบเงา ตากแห้ง พร้อมจำหน่าย

อีกแบบขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล

นำเอาเส้นไม่ไผ่ที่จักแล้วนำมาอบควนไฟ ซึ่งต้องเป็น ขี้เลื่อนไม้ กลึ่นถึงจะหอมและสวยงามหรือจะอบหลังจากสานเป็นรูปแล้วจึงได้และแต่งานนั้น ๆ

วิธีการจักสานการจักตอกไผ่

1. ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก

2. ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

3. จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่) ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่ง ลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ

4. ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป

ชนิดไผ่

ไผ่เฮี้ยะ

เป็นไม้ที่รู้จักกันดีในภาคเหนือ ขึ้นทั่วไปในบริเวณป่าดงดิบหรือป่าผสมผลัดใบที่มีไม้สักเฉพาะตามริมห้วยต่างๆ ลักษณะเด่นของไผ่ชนิดนี้คือ เนื้อลำบางมากตั้งแต่โคนถึงยอด มีขนาดปล้องยาวมากประมาณ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๘ เมตร ไม้เฮี้ยะเป็นไม้ขนาดย่อมลำเรียวเปลา ชาวบ้านในภาคเหนือนิยมนำมาทำฝาบ้านเครื่องมือจับปลา กระบอกใส่น้ำ และเครื่องจักสาน

ไผ่ข้าวหลาม

มีมากในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นกระจายเป็นกลุ่มๆ ในป่าผสมผลัดใบ ชื่อพื้นเมืองอาจเรียก ไม้ข้าวหลาม ไม้ป้างเป็นไม้ขนาดกลาง ชูลำสวยงาม กอไม่แน่นจนเกินไป ลำต้นตรงสีเขียวนวล เนื้อบาง ขนาดลำเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สูง ๗-๘ เมตร ข้อนูนเล็กน้อย แต่ละลำจะแตกกิ่งย่อยขนาดเล็กเท่าๆ กันจำนวนมาก และเกือบตั้งฉากกับลำเรียวขึ้นไปคล้ายฉัตร ไผ่ชนิดนี้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างตั้งแต่ใช้เผาข้าวหลาม และเครื่องจักสานใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำฟาก ฝา เพดานบ้าน ทำโรงเรือนสำหรับเลี้ยงสัตว์ จนถึงนำไปทำเป็นตะแกรง แทนเหล็กหรับยึดคอนกรีตในงานก่อสร้างนอกจากไผ่หลายชนิดซึ่งเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำมาทำเครื่องจักสานได้ดีแล้ว ยังมีวัตถุดิบจากธรรมชาติอีกหลายชนิดที่นำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี

หวาย (Rattan)

เป็นไม้ป่าในพืชตระกูลปาล์มนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้านโดยเฉพาะในการ จักสานเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงการนำหน่อหวายมาปรุงอาหารซึ่งให้รสชาตอร่อยเหมือนหน่อไม้ทั่วไป

วัตถุดิบ

-มีพืชพันธุ์นานาชนิดสามารถนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้เป็นอย่างดีตัวอย่างวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดีคือ ไม้ไผ่ นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้เกือบทุกชนิด เช่นกระด้ง กระเชอ กระชอน สานเป็นเครื่องดักจับสัตว์น้ำเช่น ไซ ข้อง ฯลฯและ สานเป็นฝาเรือน ฝาบ้าน

- หัตถกรรมจักสานงานไม้ไผ่

เครื่องมือสำหรับใช้ในการจักสาน

  • มีด มีดที่ใช้ในการจักสาน ถ้าเป็นมีดที่ใช้ในการตัดไม้จะเป็นมีดขนาดใหญ่มีสันหนา ๑/๒ – ๑ ซม. ยาวประมาณ ๔๐ ซม. หรือกว่านี้ก็ไม่มากนัก เรียกกันโดยทั่วไปว่า มีดโต้ มีดโต้
  • มีดจักตอก เป็นมีดที่ใช้สำหรับจักตอก มีรูปทรงเรียวแหลม ขนาดเหมาะมือ คมบาง ชาวบ้านนิยมพกเป็นมีดประจำตัวด้วย
  • เหล็กมาด มีสองชนิด เหล็กมาดปลายแหลม และ เหล็กมาดปลายแบน เหล็กมาดปลายแหลม ใช้เจาะร้อยหวาย ส่วนปลายแบนใช้เจาะร้อยตอก
  • คีมไม้ ใช้สำหรับคีบขอบกระจาด กระบุง หรือขอบอื่นๆ เพื่อให้แนบสนิมแล้วค้างไว้ด้วยหวายถักที่ด้ามคีม เพื่อประโยชน์ให้ผู้สานมัดหวายได้แน่น คีมไม้
  • รูร้อยหวาย ทำด้วยเหล็กเจาะเป็นรูตามขนาดที่ต้องการ ตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่ใช้สำหรับนำหวายร้อยเพื่อลบคมหวายและทำให้ทุกเส้นมีขนาดเท่ากัน

การใช้/ประโยชน์

- ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

- เป็นของฝาก

- เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค

- ใช้ในการประกอบอาชีพและคุณค่าทางจิตใจ เช่น เครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อและขนบประเพณี รวมทั้งคุณค่าทางความงามและศิลปะ (Aesthetic Value & Artistic Value)

คำสำคัญ
จักสานไม้ไผ่
สถานที่ตั้ง
นายรัตเขต หลวงมูล ประธานกลุ่มจักสานไม่ไผ่
เลขที่ 273 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 7 บ้านดอยจำปี
อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สิริรัตน์ โอภาพ อีเมล์ sirirat_kn@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่