ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194669
พระเขาเมือง
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 14 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 4 มกราคม 2566
จังหวัด : พัทลุง
1 443
รายละเอียด

ประวัติ

พระเขาเมือง เป็นพระพุทธรูปบูชามีขนาดเล็ก พบที่บริเวณเขาเมืองหรือเขาชัยบุรี ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง และที่พบบนภูเขาในบริเวณใกล้เคียงกันซึ่งมีลักษณะแบบอย่างของศิลปะเป็นแบบเดียวกันในบริเวณเขาเมืองหรือเขาชัยบุรี เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงเก่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภูเขาที่อยู่ในบริเวณเมืองเก่านอกจากเขาเมืองแล้วก็มีเขาบ่อฬา เขาวัดลิงค์ และภูเขาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงก็มีเขาพนมก์ เขานางชี เขาโต๊ะบุญ เขาพังอิฐ เขาโพรกเพรง กลุ่มเขาเหล่านี้มีถ้ำที่สำคัญและเป็นแหล่งศาสนสถานมาก่อน ในถ้ำและบนภูเขาได้มีการค้นพบพระพุทธรูปหล่อสำริด เงิน เงินยวง ทองคำ เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปเหล่านี้ชาวพัทลุงหรือชาวปักษ์ใต้ทั่วไปนิยมเรียกว่า "พระเขา" และเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีการเช่าหากันด้วยราคาสูง

แหล่งที่ค้นพบพระเขาเมือง ได้แก่ ถ้ำพระเขาเมือง ถ้ำขามเขาเมือง ถ้ำไม้ขอมเขาเมือง ถ้ำวังโหนด เขาเมือง ถ้ำเขาพ่อฬา ถ้ำเขาพลู ถ้ำเขาวัดลิงค์ ถ้ำเขานางชี ถ้ำชาวไทรเขาพนมก์ ถ้ำโคบเขาพนมวังค์ ถ้ำพระเขาโพรกเพรง สาเหตุที่ ค้นพบพระพุทธรูปเหล่านี้ภายในถ้ำตามภูเขาต่างๆ เนื่องจากในสมัยโบราณ ถ้ำเหล่านี้เป็นพุทธสถานที่อยู่ในบริเวณตัว เมืองเก่า ประชาชนในสมัยก่อนมีความเชื่อถือเลื่อมไส ในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ด้วย สำริด เงิน เงินยวง และทองคำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นสิ่งสะเดาะเคราะห์ให้ตัวเองด้วย โดยนำไปประดิษฐานไว้ตาม ถ้ำที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ หรือไม่กี่บรรลุไว้ไนพระพุทธรูปปูนปั้นในถ้ำเลยก็มี เป็นคติเดียวกับประชาชนในปัจจุบันที่นิยมซื้อพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ แล้วนำไปประดิษฐาน"ไว้ตามถ้ำหรือตามหน้าพระประธานภายในอุโบสถ นิยมเรียกว่า "พระแก้บน" หรือ "พระทำบุญเดือนสิบ"

พระเขาเมืองที่ได้ค้นพบแล้วส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็ก มีหลายปาง เช่น ปางมารวิชัย ปางสมาลิ ปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทร ปางเปิดโลก (บางคนเรียกว่า ฟางทิ้งดิ่ง) พุทธลักษณะโดยทั่วไปของพระเขาเมือง มีลักษณะแบบพระพุทธรูปฝีมือช่างพื้นเมือง มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นในเมืองพัทลุง ลักกษณะที่น่าสังเกตมีดังนี้ พระเกตุมาลาของพระเขาเมืองส่านใหญ่เป็น แบบบัวตูม แบบเปลวเพลิงมีน้อย แต่บางองค์ทำพระเกศแบบพิเศษออกไปคือทำเป็นรูปทรงกระบอกแบกเศียรพระฤๅษีแต่ก็พบน้อยมาก พระศกเป็นกันหอยเล็กละเอียด มีไรพระศกเป็นเส้นเล็ก ๆ พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเศียรมักจะโตไม่ได้สัดส่วนกับองค์พระ แต่บางองค์สร้างได้สัดส่วนสวยงาม พระขนกจดกันเป็นปีกกา บางองค์พระขนงเป็นแนวตรง พระนลาฏแคบ พระเนตรมองต่ำ พราสิกแบนใหญ่ พระโอษฐ์เล็กและยิ้มเล็กน้อย บางองค์เคร่งขรึมไม่สวยงาม พระศกมักเป็นปล้อง พระกรรณทั้ง ๒ ข้างยาวจรดพระอังสา พระพุทธรูปเหล่านี้มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าศิลปะท้องถิ่นมาก มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แสดงออกให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องของชาวบ้านชาวเมืองในสมัยนั้น และยังแสดงให้เห็นถึงคติการสร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชาไว้ในพระพุทธศาสนาสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน

คำสำคัญ
พระเขาเมือง
หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑ (๘๔๖๒).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาวประภัสรา เกตุชู อีเมล์ prapatsara9363@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔-๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔-๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่