ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 28' 35.8241"
8.4766178
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 38' 59.5727"
98.6498813
เลขที่ : 194828
ขนมลา
เสนอโดย พังงา วันที่ 16 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พังงา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : พังงา
0 609
รายละเอียด

ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า ขนมลาเป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า

ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลมหรือสี่เหลี่ยม รูปร่างเหมือนแห ส่วนลากรอบนั้นจะเป็นการนำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด แต่ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่คือเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก

ส่วนผสม

1. แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง

2. น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง

3. น้ำตาลโตนด ¼ ถ้วยตวง

4. น้ำ ½ ถ้วยตวง

5. ไข่ไก่สุก (เอาเฉพาะไข่แดง) 1 ฟอง

6. น้ำมันพืช ½ ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. ผสมน้ำตาลทราย น้ำตาลโตนด และน้ำ เคี่ยวจนกระทั่งเหนียวข้นเล็กน้อย

2. นำน้ำตาลที่เคี่ยวข้นแล้วมานวดกับแป้ง นวดจนแป้งเหนียวนิ่มมือ ค่อย ๆ เติมน้ำร้อนทีละน้อยประมาณ 6 ช้อนโต๊ะ เคล้าแป้งต่อจนแป้งเหนียวดีลองใช้มือจุ่มโรยดู เมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดีแล้วโรยได้ไม่ขาดสายก็ใช้ได้

3. ทากระทะด้วยน้ำมันและไข่แดงนิดหน่อย ตั้งไฟพอกระทะร้อนดีแล้วจึงตักแป้งใส่ภาชนะ ซึ่งเจาะรูเล็ก ๆ (ก่อนใส่แป้งให้ทาน้ำมันเล็กน้อยที่ก้นภาชนะ) โรยแป้งลงในกระทะอาจจะโรยเป็นรูปต่าง ๆ ตามใจชอบ เส้นแป้งที่ได้จะมีขนาดเล็กฝอย

สถานที่ตั้ง
ตำบล มะรุ่ย อำเภอ ทับปุด จังหวัด พังงา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง เบญญทิพย์ พัฒนะวราโรจน์ อีเมล์ ben_yath@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วธจ.พังงา
ตำบล มะรุ่ย อำเภอ ทับปุด จังหวัด พังงา
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่