ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 51' 37.5556"
6.8604321
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 43' 18.6596"
99.7218499
เลขที่ : 196192
ผ้าบาเต๊ะโบราณ ชื่อลาย “ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล”
เสนอโดย สตูล วันที่ 11 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย สตูล วันที่ 11 มีนาคม 2565
จังหวัด : สตูล
0 612
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา/ความหมายของลายผ้า

สืบเนื่องจากชาวสตูลในสมัยอดีตนั้น ได้รับอิทธิพลด้านการแต่งกายจากเชื้อชาติมลายู ชาวจีน

ชาวเปอร์เซีย อินโดนีเซีย และประเทศจากทวีปยุโรป โดยเฉพาะการแต่งกายจะใช้ผ้าลายใบไม้ ดอกไม้ตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายรูปแบบและสีสัน มานุ่งหรือสวมใส่เป็นผ้าถุง

ลายดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล เกิดจากการนำลายดาวน์บูดิงมาผสมผสานกับลายฟอสซิลหอย ในพื้นที่จังหวัดสตูล ลายดาวน์บูดิงที่ปรากฏบนผืนผ้า เป็นลวดลายคล้ายซุ้มดอกไม้โบราณชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย โดยสำนักงานประวัติศาสตร์ประเทศมาเลเซีย ได้สันนิษฐานว่า ดอกไม้ที่ปรากฏบนผืนผ้า คือ ดาวน์บูดิง (Daun Buding) (ดอกบูดิง) มาจากภาษามลายู หรือ ดาวน์บูดี (Daun Budy) (ดอกบูดี) มาจากภาษาอินโดนีเซีย ดอกไม้ชนิดนี้พบมากในคาบสมุทรมลายู มีลักษณะคล้ายดอกสายหยุด ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม ประเทศในแถบคาบสมุทรมลายูนิยมนำดอกไม้ชนิดนี้มาทำเป็นซุ้มดอกไม้เพื่อใช้ในพิธีต้อนรับบ่าวสาวในงานแต่งงาน จึงกล่าวได้ว่าดอกไม้ชนิดนี้ถือเป็นดอกไม้มงคลของชาวมลายูโบราณ ส่วนลายฟอสซิล เป็นการนำลายฟอสซิลในอุทยานธรณีสตูล ซึ่งได้รับประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโ

ลกแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยูเนสโก ทางกลุ่มผ้าปันหยาบาติกจึงได้นำลวดลายดาวน์บูดิงและฟอสซิลหอยในมหายุคพาลีโอโซอิก (อายุประมาณ 299-542 ล้านปี) มาผสมผสาน เป็นลวดลายผ้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดสตูล

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงคัดเลือกผ้าปาเต๊ะลายโบราณของกลุ่มปันหยาบาติก มาตัดเย็บสำหรับฉลองพระองค์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม การใช้ผ้าปาเต๊ะลายโบราณให้เป็นที่นิยมขึ้นมาใหม่

ชนิดของผ้า -ผ้าคอตตอน

. เทคนิคการผลิต -

พิมพ์ลาย และย้อมสีธรรมชาติ เช่นดินเทอราโรซ่า ซึ่งเป็นดินโบราณที่พบในพื้นที่อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล สีจากเปลือกต้นโกงกาง เป็นต้น

. วิธีการผลิต

ทำมือ โดยการพิมพ์ลายด้วยบล็อกและย้อมสีตามความต้องการ

สถานที่ตั้ง
ร้านปันหยาบาติก
ตำบล ปากน้ำ อำเภอ ละงู จังหวัด สตูล
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สาวศุภณิจ พัฒภูมิ อีเมล์ patapoom01@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่