ไทพวน
ไทพวนจังหวัดบึงกาฬ เป็นไทพวนที่อพยพมาตั้งแต่สมัยสงครามปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ ๓ บางสวนอพยพมาเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๕ บริเวณบ้านอาฮงตำบลหอคำ บ้านพันลำ บ้านหนองแวง บ้านดอนเจริญ บ้านแสนเจริญบ้านนาป่าน บ้านหนองนาแซง ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ
ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านแถบนี้ ได้อพยพมาจากเมืองเชียงขวางหนีศึกสงครามฮ่อล่องแพมาตามลำน้ำเงียบ โดยมีตาโพ้น หรือ
ญาพ่อผ้าขาว เป็นผู้นำพาชาวบ้านหลบหนีภัยสงครามมาอยู่ที่บ้านน้ำเงียบ สปป.ลาวในตอนแรก ๆ ต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรค
ในบริเวณดังกล่าวทำให้มีการย้ายที่อยู่มาที่หมู่บ้านพันลำในปัจจุบัน
การแต่งกายเครื่องแต่งกายจะมีลักษณะเป็นผ้าฝ้าย ย้อมคราม หรือย้อมสีเปลือกไม้เป็นหลักสตรีจะนุ่งผ้าถุงทอลวดลายคั่นทั่วไป แต่จะเน้นตีนซิ่นที่การทอผ้าขิดลายสัตว์มงคล เช่น ช้าง ม้า หงส์หรือลายดอกไม้ เช่น ดอกพิกุล ดอกดาวเรืองและจุดเด่นจะอยู่ที่ผ้าสไบ ที่จะทอลายขิดที่เชิง เป็นลายดอกดาวเรืองผสมลายเรขาคณิต การแต่งกายในรูปแบบเดิม หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจกหรือสีพื้น แทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำและใส่เสื้อสีดำ
ภาษาประกอบด้วยระบบภาษา คำและความหมาย ระบบการเขียน ภาษาเขียนดั้งเดิม ลักษณะการสื่อสารการปรากฏ ใช้ วรรณกรรมมุขปาฐะ
ภาษาพวน เป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการนับพันปี ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทน้อยของอาณาจักรล้านช้าง ไกล้เคียงกับภาษาลาวในยุคปัจจุบัน
ภาษาไทพวน ความหมาย
สะแนน เตียงไม้ไผ่
หวิด ห้องน้ำ
ไม้ยู ไม้กวาด
แอบข้าว กระติบข้าว
อาหาร
“โอดบอน” มีลักษณะคล้าย ๆ กับน้ำพริกที่ทำมาจากใบบอน มีวัตถุดิบ ส่วนผสม ดังนี้ ใบบอนปลายข้าว พริกสด กระเทียมดอง หอมแดง มะเขือ เนื้อปลา เกลือป่น ใบมะขามอ่อน น้ำปลา หรือน้ำปลาร้า
“โอด” ไทพวนที่ บ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่จังหวัดหองคาย เรียกว่า “แจ่วสุก”