ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 21' 31"
19.3586111
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 26' 24"
98.4400000
เลขที่ : 196673
ประเพณีโข่เซี่ยย หรือปีใหม่ลีซู
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 7 มิถุนายน 2565
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 20 มิถุนายน 2565
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 344
รายละเอียด

ประเพณีโข่เซี่ยยคือ ประเพณีเฉลิมฉลองเนื่องในวันเริ่มต้นศักราชใหม่ของชาวลีซู ชาวลีซูให้ความสําคัญกับประเพณีนี้มาก เพราะเชื่อว่าเป็นวันที่เริ่มต้นสำหรับชีวิตและสิ่งใหม่ ให้สิ่งเก่าๆ ที่ไม่ดีหมดไปพร้อมกับปีเก่า จึงต้องมีการเฉลิมฉลองด้วยการทำพิธีกรรม และจัดงานรื่นเริง เช่น การทำบุญศาลเจ้า และเทพเจ้าต่างๆ ของชาวลีซู การขอศีลพรจากเทพเจ้าและผู้อาวุโส การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการเต้นรำ เป็นต้น ในประเพณีชาวลีซูจะกลับมาพร้อมหน้าช่วยกันจัดเตรียมของเซ่นไหว้บูชา อันประกอบด้วย เหล้าข้าวโพดหมักกลั่นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ข้าวปุก และหมู ๓ ชั้น การจัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทำความสะอาดศาลเจ้า และสุสานบรรพบุรุษ โดยกิจกรรมจะเริ่มจากการเตรียมงาน โดยในเย็นก่อนวันปีใหม่ ๒ วัน “มือหมือ”(ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม) จะเป็นคนแช่ข้าวเหนียวที่จะใช้ในการทำข้าวปุ๊ก เครื่องประกอบพิธีกรรมเป็นคนแรก จากนั้นจะจุดประทัดเป็นสัญญาณให้ชาวบ้านรับรู้ว่า“มือหมือ”ได้ดำเนินการ แช่ข้าวเหนียวเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านครอบครัวอื่นๆจึงจะแช่ข้าวเหนียวได้ วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี ตามปฏิทินลีซู หรือวันสุดท้ายของเดือน “หลายี” (เดือน 12) ชาวลีซูจะตื่นมาทำ“ป่าปาเตี๊ยะ” หรือข้าวปุ๊ก เริ่มจากการนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วก็จะนำข้าวเหนียวไปตำใน “ลูทูว”หรือครกกระเดื่องจนนุ่ม โรยด้วยเกลือและงาคั่วป่น ปั้นเป็นก้อนพอประมาณ ใส่ลงไปในใบตองที่เตรียมไว้ โดยทบไปตองไปมา หน้าละ 2 ก้อน จนกระทั่งใบตองหมดแผ่น จึงทำแผ่นใหม่เรื่อยๆจนหมด ช่วงเย็นต้องเตรียมต้น “โข่เซยี่ย” ส่วนมากชาวลีซูในจังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้ต้นสนซึ่งจะเลือกเอาจากต้นที่มีลักษณะงาม ลำต้นเรียวยาว สูงประมาณ 1.5 เมตร โดยนำต้น“โข่เซยี่ย” มาปักกลางลานบริเวณบ้าน จากนั้นนำ “ป่าปาเตี๊ยะ” หรือข้าวปุ๊ก และ“ซาซือ” หรือหมูสามชั้นต้มหั่นยาวประมาณ 6 - 7 นิ้ว มาแขวนที่ต้นโข่เซี่ยย พร้อมจุดธูป 2 ดอก และจะเตรียมไข่ต้ม และฝ้ายมัดมือขนาดยาวสำหรับผูกมือได้ เท่ากับจำนวนสมาชิกในบ้าน โดยผู้อาวุโสในบ้านที่เป็นผู้ชายในบ้านจะเป็นผู้ทำพิธี“โชวฮาคูว” หรือเรียกขวัญ โดยการเอาไข่ต้มทั้งหมด และเส้นด้ายที่จะใช้มัดวางขนถ้วยที่ใส่ข้าวสุกที่วางบนผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไปยืนเรียกขวัญที่หน้าประตูบ้านเมื่อทำพิธีเสร็จ จึงทำการผูกข้อมือสมาชิกในบ้านด้ายสายสิญจน์ และให้ไข่ต้มแก่สมาชิกคนละใบเป็นการอวยพรเป็นวันสําคัญที่จะได้เริ่มต้นสิ่งดีๆ ในชีวิต

สถานที่ตั้ง
อำเภอ ปาย จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือ กลุ่มชาติพันธ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บุคคลอ้างอิง รัตนาภรณ์ ใจดี อีเมล์ sanittharakitjaren@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน อีเมล์ wt_sss@hotmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ขุนลุมประพาส
จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58000
โทรศัพท์ 05361447 โทรสาร 053614303
เว็บไซต์ http://www.m-culture.in.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่