ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 197231
การแสดงระบำร่อนแร่
เสนอโดย พังงา วันที่ 10 กันยายน 2565
อนุมัติโดย พังงา วันที่ 11 กันยายน 2565
จังหวัด : พังงา
0 3407
รายละเอียด

จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ “แร่ดีบุก” ดังคำขวัญจังหวัดพังงาที่ว่า “แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ “แร่ดีบุก”

ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยชาวจีนอพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งในภายหลังหลังจากชาวจีนได้อพยพกลับแผ่นดินจีนไปแล้ว คงเหลือไว้แต่ชาวบ้านที่คิดค้นหาวิธีทำเหมืองแร่ให้ได้ผลผลิตมากที่สุด บ้างก็ใช้เครื่องกลหนักมาทำ แต่ก็มีชาวบ้านบางกลุ่มที่ได้นำภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างการใช้ “เรียง” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ร่อนแร่ มาหาแร่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ในคูน้ำ ในบึง ยามเมื่อเวลาฝนตกน้ำก็จะไหลเป็นทางลงมาซึ่งมีแร่ดีบุกปะปนอยู่ด้วย ชาวบ้านก็จะคุ้ยดินใส่ในเรียงแล้วนำไปร่อนหา นำขยะออก ก็จะได้แร่ดีบุกออกมา ซึ่งเป็นนับได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนที่ได้กลายมาเป็น “ระบำร่อนแร่” ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนสมัยก่อนให้ได้คงอยู่คู่ลูกหลานจังหวัดพังงาต่อไป

นอกจากนี้ การแต่งกายของ “การแสดงระบำร่อนแร่” ยังสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมในจังหวัดพังงา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ชาวมุสลิม” ที่สะท้อนวัฒนธรรมผ่านการแต่งกาย เสื้อญ่าญ๋า และผ้าถุงผ้าปาเต๊ะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพังงา

โดย “การแสดงระบำร่อนแร่” นี้ จะใช้แสดงเนื่องในโอกาสต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มา เพื่อบอกให้เขารู้ว่านี่คือจังหวัดพังงา นี่คือวิถีชีวิตของชาวพังงา หรือในงานรื่นเริงทั่วไป

เพลงที่ใช้บรรเลง ใช้เพลงตะลุงชาตรี ตั้งแต่ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว ซึ่งเป็นบทเพลงของภาคใต้อยู่แล้ว

คำสำคัญ
ระบำร่อนแร่
สถานที่ตั้ง
ตำบล นาเตย อำเภอ ท้ายเหมือง จังหวัด พังงา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อาจารย์อุทร สิงห์แก้ว
ตำบล นาเตย อำเภอ ท้ายเหมือง จังหวัด พังงา รหัสไปรษณีย์ 82120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่