เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทอหูก เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของผู้หญิงชาวอีสาน ที่ว่างเว้นจากการทำงานหลัก
ฟืม
ฟืม หรือ ฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ
มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน
เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงามมาก
ฟืม
เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวี ทำด้วยเหล็กหรือไม้ไผ่ มีโครงไม้ยึดฟืมใช้สำหรับสอดด้ายหรือไหมเส้นยืน เมื่อพุ่งด้ายเส้นนอนหรือเส้นพุ่งแล้วจะกระแทกฟืมให้เส้นนอนแนบกันแน่น ขนาดของฟืมมักวัดเป็น "หลบ" โดย 1 หลบเท่ากับ 40 ช่องฟันหวี ดังนั้น ฟืม 10 หลบ ก็หมายถึง ฟืมที่มี 400 ช่องฟัน เป็นต้น
ลักษณะการใช้งาน
เมื่อได้ฟืมเรียบร้อยแล้วก็นำไปทำเขาด้วยด้วยทำเป็นเขาบน–ล่าง ทอลายขัดธรรมดายกหนึ่งข่มหนึ่ง โดยใช้ด้ายจากการเข็นย้อมสีใส่น้ำข้าวให้เส้นด้ายกลมดีแล้วนำไปเข้ากงกวักเข้าอัก แล้วไปโค่นเข้าเฝอจัดลายหรือสีล้วนก็ได้ตามใจชอบ นำมาสืบหรือแหย่เส้นด้ายเข้าแข็ว(รู) ของฟืมเรียกเส้นด้ายชนิดหนึ่งว่าด้ายชัง (ด้ายยืน) นับเส้นด้ายให้ครบตามจำนวนหลบของฟืมคือ .04เส้น เป็นหนึ่งหลบ เมื่อครบแล้วก็นำไปกางในกี่ แยกด้ายให้เป็นระเบียบขึงในกี่ให้ตึง ใช้หลอดบรรจุในกระสวย ด้านล่างของจะผูกเชือกและมีไม้สอด2อัน เรียกไม้นี้ว่า ไม้ซ้าย เพื่อให้เส้นด้ายซั่ง (ยืน) อ้าเป็นรู เพื่อสอดกระสวยนำด้าย (พุ่ง) ไปทำสลับกันกระทบฟืม (ฟัด) เข้าเหยียบขวากระทบฟืมเข้า ทำไปเรื่อย ๆ จะได้ผืนผ้าออกมาใช้ตามความต้องการ