เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทอผ้าของคนอีสานให้สำหรับปั่นหลอดในการทอผ้า
หลา
หลาเป็นเครื่องมือสำหรับเข็นฝ้าย (ทำเส้นด้ายฝ้าย) และใช้ปั่นด้าย หรือ กรอด้ายเข้าหลอด เพื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า สืบต่อกันมาแต่โบราณหลายชั่วคน
อุปกรณ์ที่ใช้ทำ
ไม้เนื้อแข็งและเหนียว เช่น ไม้ซาด ไม้กุง ไม้ไผ่บ้าน (ไผ่สีสุก) เหล็กใน ด้ายทำจากสายใบนุ่น ครั่ง เชือก
วิธีทำ
ทำคานด้วยไม้ยาวประมาณ 1.20 เมตร หน้ากว้าง 5 ซม. หนา 5 ซม. มาเหลาและลายตามต้องการ แล้วทำเขียง (ฐาน) เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เจาะรูตรงกลาง นำคานมาประกบแล้วนำไม้เนื้อแข็งมา 2 อัน เหล่าเพื่อทำหลักด้านหน้าให้ยื่นเลยฐานลงไปสัก 5 ซม. ต่อไปก็ทำโพง (โครง) เป็นวงกลม โดยเหลาติวไม้ไผ่ให้หนาประมาณ 1 ซม. กว้าง 2 ซม. ยาว 1.50 เมตร โค้งมัดเป็นวงกลม ทำดิ้วด้วยไม้ไผ่เท่าไม้ทำโพงวางระยะให้เท่ากัน เพื่อยึดโครงไว้ ห่างกัน 9 ซม. ต่อ 1 ดิ้ว สวดปลายคิ้วเข้าวงโพง (โครง) ทั้งสองข้าง โดยใช้ปลายมีดตอกแทงเข้าแล้วเสียบไม้ดิ้วเข้าไป จำนวน 24 ดิ้ว เสร็จแล้วทำขาธนู (ไม้รัศมี) เหลาไม้เป็นรูปลายเรียวทั้ง 2 ข้าง ยาว 50 ซม. กว้าง 3 ซม. หนาพอประมาณพอโก่งได้จำนวน 6 อัน แยกทำข้างละ 3 อัน เมื่อเสร็จแล้วเจาะรูตรงกลางทั้ง 6 อัน นำมาประกบผูกชื่อติดกับโพงหลาให้ครบด้านละ 3 อัน คัดเป็นรูปดอกจัน แล้วนำไม้ไผ่กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4 ซม. ยาว 5-6 ซม. เพื่อเข้าดุมหลาตรงกลางหลักทั้งสองข้าง นำแขน (เหล็ก) สอดเข้าเอาครั่งยึดเข้าคุม (กระบอกไม้) แล้วอังไฟ เพื่อยึดดุมหลาให้แน่น ด้านขวาจะเป็นที่จับ เรียก “มือหลา”ด้านซ้ายของคานหลา จะต้องทำที่สำหรับยึดเหล็กไน เรียกว่า “หันหลา”ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาว 14 ซม. กว้าง 12 ซม. หนา 4 ซม. ทำรูปร่างดันในรูป หัวหลาเจาะรูตรงกลางประกบกันคานให้แน่น และอีกส่วนบนทำรูเจาะไว้ทั้งสองข้าง นำแขน (เหล็ก) สอดเข้าเอาครั้งยึดเข้าคุม (กระบอกไม้) แล้วอังไฟ เพื่อยึดดุมหลาให้แน่น ด้านขวาจะเป็นที่จับ เรียก “มือหลา”ด้านซ้ายของคานหลา จะต้องทำที่สำหรับยึดเหล็กไน เรียกว่า “หันหลา”ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาว 14 ซม. กว้าง 12 ซม. หนา 4 ซม. ทำรูปร่างดังในรูป หัวหลาเจาะรูตรงกลางประกบกับคานให้แน่น และอีกส่วนบนทำรูเจาะไว้ทั้งสองข้าง แล้วทำก้อหลา ด้วยปลายไม้เซียงไพเล็ก ให้สอดเหล็กไปเข้าได้พอดี ทำคอคอดกลางให้เป็นที่ยึดสายหลา สอดเหล็กในยาวประมาณ 20 ซม. เข้าไปในก้อไม้ นำเชื่อฝั้นเล็กพอประมาณสอดยึดเหล็กไนเข้าไปในรูทั้งสองข้างที่เจาะไว้ เรียกเชื่อนี้ว่า “หูหลา”เสร็จแล้วนำด้ายที่เหนียวมาถูกับใบนุ่มให้นาน ๆ หรืออย่างอื่น ๆ เช่น ขี้สูด เพื่อหม่ให้สายลื่นโยงสายนี้จากโพงหลามายังหัวหลา ผ่านตรงก้อหลาผูกมัดให้ตึง ก็เสร็จใช้งานได้ตามต้องการ
วิธีใช้งาน
ถ้าทำเส้นด้าย ก็นำล้อฝ้ายที่ผ่านการดีดแล้วมาเข็น โดยมือขวาจับที่มือหลา แกว่งหมุนจากซ้ายไปขวา หลาจะทำงานสัมพันธ์กันมือซ้ายจับล้อฝ้ายจ่อเข้าปลายหลา ปลายหลาจะทำหน้าที่หมุนเกลียวฝ้ายก็ถอดเส้นด้ายไปเรื่อย ๆ จนได้เส้นด้ายพูนเพิ่มขึ้นที่เหล็กไน พอแล้วก็ใช้เป มาฟัดให้เป็นไจ เก็บไว้ ถ้าจะกรอด้าย เพื่อนำไปทอก็ต้องใช้หลอดสอดเข้าไปที่ปลายเหล็กไน ปั่นไปเรื่อย ๆ จนเต็มหลอดนำไปทอ โดยบรรจุเข้าไปในกระสวยแล้วทอเป็นผืนผ้า