ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 0' 34.8512"
14.0096809
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 59.4757"
100.5331877
เลขที่ : 33602
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง
เสนอโดย - วันที่ 1 มกราคม 2553
อนุมัติโดย ปทุมธานี วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ปทุมธานี
0 544
รายละเอียด

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวรามัญ ปฏิบัติเพื่อเป็นการบูชาพระสงฆ์ การตักบาตรน้ำผึ้งนั้นชาวรามัญเชื่อว่ามีอานิสงส์มาก พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในคราวจำเป็น เพราะเป็นส่วนผสมของยาโบราณที่สำคัญพระสงฆ์ไม่สามารถจัดหามาเองได้ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการตักบาตร น้ำผึ้งขึ้น ความเชื่อในเรื่องการถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วได้อานิสงส์มากนั้น สืบเนื่องมาจาก ตำนานที่ว่า ในสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้ามีพระปัจเจกโพธิรูปหนึ่งอาพาธ ประสงค์ที่จะได้น้ำผึ้งมาผสมโอสถ เพื่อบำบัดอาการอาพาธ วันหนึ่งได้ไปบิณฑบาตในชนบทใกล้ชายป่า ขณะที่พระปัจเจกโพธิกำลังโปรดสัตว์อยู่นั้น ได้พบชายชาวบ้านป่า เกิดกุศลจิตขึ้นกับชายผู้นั้นหวังที่จะถวายทานแด่พระปัจเจกโพธิ แต่ด้วยตนเองยากจน ไม่มีอาหารอื่นใดจะถวายพระนอกจากน้ำผึ้งจำนวนหนึ่ง ด้วยจิตศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและสูงส่งของชายผู้นั้น เมื่อรินน้ำผึ้งลงในบาตรของพระปัจเจกโพธิเกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์คือ น้ำผึ้งเกิดเพิ่มพูนขึ้นจน เต็มบาตรและล้นบาตรในที่สุด ขณะนั้นมีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งกำลังทอผ้าเห็นน้ำผึ้งล้นบาตร ด้วยจิตศรัทธา ในพระปัจเจกโพธิ เกรงว่าน้ำผึ้งจะเปื้อนมือพระ จึงรีบนำผ้าที่ทอแล้วถวายแด่พระปัจเจกโพธิ เพื่อซับน้ำผึ้งที่ล้นนั้น ชายผู้นั้นอธิษฐานด้วยอานิสงส์แห่งการถวายน้ำผึ้งเป็นทาน ขอเป็นพลังปัจจัยให้ได้เกิด เป็นผู้มั่งคั่งเป็นผู้มีอำนาจ ส่วนหญิงที่ถวายผ้าได้อธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นผู้ที่มีความงามและมีโภคยทรัพย์ ต่อมาเมื่อทั้งสองมรณะแล้วได้อุบัติใหม่ในโลกมนุษย์ ชายผู้ถวายน้ำผึ้งได้บังเกิดเป็นพระราชาผู้มีความเข้มแข็ง และมั่งคั่ง ส่วนหญิงผู้ถวายผ้าได้บังเกิดเป็นธิดาของพระราชาอีกเมืองหนึ่ง มีความงามและความมั่งคั่งเช่นกัน นอกจากนี้อานิสงส์ของการถวายน้ำผึ้งนี้มีตำนานที่เกี่ยวกับพระฉิมพลี หรือพระสิวลีอีกทาง หนึ่งว่า ในอดีตกาลครั้งที่มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระวิปัสสี" พระสิวลีได้ถือกำหนดเป็นชาวบ้านนอก ในชนบท วันหนึ่งได้ไปในเมืองระหว่างทางกลางป่านั้นได้พบรวงผึ้ง จึงไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้วตัดกิ่งไม้ถือรวง ผึ้งเข้าไปในเมือง ในพระนครขณะนั้นพระราชาและชาวเมืองกำลังแข่งกันทำบุญถวายทานแด่พระวิปัสสี สัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยจัดสรรสิ่งของวัตถุทานอันประณีตถวาย ถวายแข่งกันถึง ๖ ครั้ง ก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ชาวเมืองจึงช่วยกันตรวจดูสิ่งของวัตถุทานที่ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าว่าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งบ้าง พร้อมทั้งให้คนไปดูที่ประตูเมืองว่าจะมีใครนำสิ่งของอันนอกเหนือจากที่มีอยู่มาขายบ้าง เพราะ เกรงว่าพระราชาจะซื้อสิ่งของเหล่านั้นแล้วนำมาถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า ฝ่ายตนก็จะแพ้ในการถวายทานใน ครั้งนี้ ขณะนั้นชาวบ้านนอกที่ถือรวงผึ้งเดินเข้าประตูเมืองมา คนเฝ้าประตูเห็นเข้าจึงขอซื้อรวงผึ้งในราคาที่สูงมาก เพราะไม่มีใครนำรวงผึ้งมาถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าเลย ชายผู้เป็นเจ้าของรวงผึ้งสงสัยจึงถามขึ้น ชายผู้ขอซื้อจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังโดยตลอด ชายผู้เป็นเจ้าของรวงผึ้งไม่ยอมขายแต่ขอร่วมถวายทานแด่ พระวิปัสสีพุทธเจ้าด้วย ชาวเมืองต่างก็ปลื้มปิติและยินดีกับเจ้าของรวงผึ้งนั้น จึงช่วยกันนำรวงผึ้งมาบีบคั้น ้ำผึ้งใส่ถาดทองคำใบใหญ่ผสมกับนมเนยคลุกเคล้ากันจนรสดี เสร็จแล้วจึงนำน้ำผึ้งผสมรสดีไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและพระสงฆ์ทั้งหลายอย่างทั่วถึง และด้วยอานิสงส์ของการถวายทานด้วยน้ำผึ้งครั้งนี้ เมื่อสิ้นอายุขัยของชายผู้เป็นเจ้าของ รวงผึ้งแล้วได้บังเกิดในเทวโลกท่องเที่ยวเสวยสุขอยู่ช้านาน จึงจุติมาเป็นพระราชาในกรุงพาราณสี และเมื่อพระราชาสิ้นพระชนม์แล้วได้อุบัติมาเป็นพระราชกุมารในราชวงศ์ศากยราช มีพระมารดาทรงพระนามว่า พระนางสุปปวาสา บันดาลโชคลาภให้แก่พระบิดาและพระมารดาเป็นอันมาก เมื่อประสูติแล้วจึงได้รับพระ นามว่า "สิวลีกุมาร" เมื่อเจริญวัยแล้วได้ออกผนวชในสำนักของพระสารีบุตร และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภ และในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดป่าเลไลยก์ ในขณะที่ออก เทศนาโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ปรากฏว่ามีสัตว์น้อยใหญ่นำผลไม้และน้ำผึ้งมาถวาย เพื่อให้ พระองค์ได้เสวยประทังชีวิต มนุษย์จึงถือว่าน้ำผึ้งเป็นทิพย์โอสถที่สามารถนำมาบริโภคบำรุงชีวิตให้แข็งแรงและยืนยาวปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง กล่าวได้ว่า น้ำผึ้งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งของชาวรามัญจึงถือกำหนดขึ้นมาจากตำนานและความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น ในปัจจุบันนี้น้ำผึ้งเริ่มหายากขึ้น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งจึงค่อยๆ เลือนหายไป และผู้คนที่ มาทำบุญก็เริ่มเปลี่ยนจากน้ำผึ้งมาเป็นน้ำตาลทรายบ้าง น้ำหวานบ้าง

หากพูดว่าตักบาตรน้ำผึ้ง บางคนอาจจะคิดว่าจะเป็นเพียงแค่การเอาเฉพาะ น้ำผึ้งมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอย่างเดียวเท่านั้นแต่มันก็ไม่ใช่จะเป็นอย่างนั้น เสียทีเดียวเพราะการตักบาตรน้ำผึ้งนั้นหาได้มีความยุ่งยากอะไรเลยการทำบุญใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๑๐ นั้นก็เหมือนกับการทำบุญในวันพระทั่วๆไปกล่าวคือ เป็นการ ทำบุญตักบาตร โดยชาวมอญทั้งหลายก็จะนำเอาข้าวสวย ข้าวสาร อาหารต่างๆ มาถวายพระและที่ขาดไม่ได้ก็คือพระเอกในงานนี้อย่าง "น้ำผึ้งบริสุทธิ์” ที่ชาวมอญ นำมาใส่บาตรในวันนี้ด้วยศรัทธาอันแรงกล้านั่นเองในวันนั้น จะมีการเตรียมบาตรเอา ไว้เหมือนกับปกติแต่ก็คือ จะมีบาตรอีกอัน หรือภาชนะอื่นๆ ที่สามารถใส่น้ำผึ้งได้มาวางเคียงกันด้วย โดยบาตรน้ำผึ้งนั้นจะแยกออกจากอย่างอื่น ไม่รวมกับข้าวหรือว่า กับชนิดใดๆหลังจากนั้นเมื่อเวลาชาวบ้านก็จะนำน้ำผึ้งที่เตรียมมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะจัดใส่ภาชนะมากัน หรือในปัจจุบันนั้นก็อาจจะนำมาใส่ขวดปากแคบแล้วก็ตักน้ำผึ้งใส่ลงไปในบาตรแต่ละบาตรหรือว่ารินใส่บาตรทีละบาตรจนครบตามจำนวน ลักษณะของการตักบาตรน้ำผึ้งนั้นก็เหมือนกับการตักบาตรโดยการใส่ข้าวหรือว่า อาหารอื่นๆ เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากข้าวและอาหารชนิดอื่นเป็นน้ำผึ้งนั่นเองโดย ประเพณี ดังกล่าวนั้นก็มีสืบทอดกันมาช้านานซึ่งชาวมอญก็ได้ปฏิบัติต่อๆ กันมา เป็นประเพณีหนึ่งของชาวบ้านที่แสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและที่สำคัญก็คือความศรัทธาในพระสีวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภมากนั่นเองการที่ชาวมอญนั้นได้ถวายน้ำผึ้งแด่พระภิกษุสงฆ์ตามแบบอย่างที่พระสีวลีเคยทำในชาติก่อนที่จะเป็นพระอรหันต์ในปัจฉิมชาติ ี่ได้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านการมีลาภมากนั้น ก็เป็นเพราะว่า ชาวมอญเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งนั้นจะ เป็นทางที่จะทำให้ผู้ที่ถวายจะมีโชคมีลาภ เหมือนกับพระสีวลี แม้นหากไม่สมหวังในชาตินี้ ในชาติหน้านั้นก็คงจะได้อย่างแน่นอนโดยชาวมอญเชื่อว่า การถวาย น้ำผึ้งของพระสีวลีในชาติก่อนนั้นมีผลทำให้ท่านได้เป็นเอตทัคคะทางด้านการมีลาภนั่นเองดังนั้น หากว่าผู้ใดอยากจะมีลาภเหมือนกับพระสีวลีก็ควรจะถวายน้ำผึ้ง ด้วยความเชื่อนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าประเพณีดังกล่าวนั้นจะมีมาถึงวันนี้ ซึ่ง ในปัจจุบันนั้นชาวมอญก็ยังสืบต่อประเพณีนี้กันอยู่โดยเราจะสามารถพบเห็นได้ใน ชุมชนของชาวมอญนั่นเอง การถวายน้ำผึ้งหรือประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งของชาวมอญนั้นเป็นความเชื่อ ที่มีผลพวงมาจากการที่ชาวมอญนั้นมีความเคารพ ศรัทธาในพระสีวลีไม่มีผิดเพี้ยน และความศรัทธานั้นก็ยังคงมีให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ ช่วงเวลา กลางเดือน ๙ ของทุกปี การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตร และนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหาร คาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตร ได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล การตักบาตรน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมที่น้อมนำให้ระลึกถึงองค์ผู้มีพระภาคเจ้าที่มีความ เกี่ยวข้องกับสัตว์เดียรัจฉานสัตว์ยังรู้คุณค่าของศาสนาด้วยการเสาะแสวงหาภิกษาหาร นำมาถวายพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรมพุทธศาสนิกชนจึงนำรูปแบบของการนำ ปัจจัยมาถวายเพื่อจุดหมายการได้ฟังธรรมเทศนาเช่นกัน

สถานที่ตั้ง
วัดในจังหวัดปทุมธานี
จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง นางอุไรรัตน์ รื่นใจชน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 025934406 โทรสาร 025934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่