ห้วยลิงโจน เป็นอ่างเก็บที่มีขนาดใหญ่ในตำบลห้องแซง เพื่อกักเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตรและยังเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ที่ให้นักท่องเที่ยวทั้งในชุมชนและนอกชุมชนเข้ามาใช้บริการพักผ่อนหย่อนใจ
ความเป็นมา
อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางของกรมชลประทาน ซึ่งมีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทานน้อยกว่า 80,000 ไร่ เป็นโครงการชลประทานประเภทเพิ่มผลผลิต รวมของประเทศที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519)
แต่ติดขัดในเรื่องปัญหาที่ดินด้วยราษฎรบางรายไม่ยินยอม จึงไม่สามารถ ดำเนินการก่อสร้าง ในระยะเวลา งดังกล่าวได้ จนในที่สุดปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งได้พิจารณาแก้ไขมาเป็นลำดับจนได้รับการยอมรับจากราษฎร จึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อปีงบประมาณ 2530 อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบึง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร หรือที่พิกัด 48 QVC 367 - 960 ระวาง 5841 II เส้นทางการคมนาคม จากอำเภอ เมืองยโสธร ตามถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2169 สายยโสธร - บ้านเลิงเก่า ระยะทาง 65 กม. จากเลิงเก่า แยกซ้ายตามถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 สายเลิงเก่า - อ.หนองพอก ถึงบ้านห้องแซง ระยะทาง 22 กม.
จากบ้านห้องแซง แยกซ้ายเข้า อ่าง ฯ ห้วยลิงโจน ระยะทาง 3 กม. รวมระยะทางทั้งสิ้น 90 กม.
ปีที่ก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อปีงบประมาณ 2530 แล้วเสร็จเมื่อปีงบประมาณ 2536
ข้อมูลด้านอุทกวิทยา
- พื้นที่รับน้ำฝน (w.A) 52 กม.2
- ฝนตกเฉลี่ย 1,633 มม./ปี ที่อำเภอเลิงนกทา (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2539)
- ปริมาณน้ำไหลลง (Inflow) 22.89 ล้าน ม.3 / ปี
- การระเหยเฉลี่ย 1,135.3 มม./ปี (ที่จังหวัดมุกดาหาร)
ข้อมูลหัวงาน
ทำนบดิน แบบ Zone type หลังทำนบลาด Asphalt ผิวจราจร 6 ม. - กว้าง 8 ม. - ยาว 2,000 ม. - สูง (สุด) 13.50 ม.
อาคารระบายน้ำล้น แบบ Ogee Modifed Side Channel Spillway
- สันทางระบายยาว 60.71 ม. - Channel กว้าง 10.00 ม. ; ยาว 101.00 ม.
- ระบายน้ำได้ 129 ม3 /วินาที
ข้อมูลการเก็บกักน้ำ เก็บกักน้ำ ประมาณ 80 % ของปริมาณไหลลง (Inflow)
-ที่ระดับธรณีท่อ + 168.00 รทก. ปริมาณน้ำ 0.40 ล้าน ม3 พื้นที่ผิวน้ำ 250 ไร่
-ที่ระดับเก็บกัก + 175.00 รทก. ปริมาณน้ำ 18.40 ล้าน ม3 พื้นที่ผิวน้ำ 3,172 ไร่
-ที่ระดับน้ำสูงสุด + 176.45 รทก.
-ระดับหลังทำนบดิน + 178.50 รทก.
พื้นที่รับประโยชน์
-ฤดูแล้ง 2,500 ไร่ (พืชไร่ - พืชผัก) -ฤดูฝน 14,544 ไร่ (นาปี)
ข้อมูลคลองส่งน้ำและเกษตรกรผู้รับน้ำ
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย
- ความจุคลอง 0.5642 ม3 /วินาที ยาว 5+000 กม.
- พื้นที่รับน้ำ 1,121 ไร่ ไม่มีคลองส่งน้ำสายซอย
- จำนวนเกษตรกร 113 ราย
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา
- ความจุคลอง 3.0465 ม3 /วินาที ยาว 12+830 กม.
- พื้นที่รับน้ำ 12,423 ไร่ มีคลองส่งน้ำสายซอยและแยกซอย 10 สาย
- จำนวนเกษตรกร 251 ราย