ประเพณีบุญดอกไหม-ดอกเงิน หรือสมัยก่อนเรียกว่า "บุญดอกผ้า" เป็นประเพณีสำคัญของชุนชนหลุ่งประดู่(ประกอบด้วยบ้านหลุ่งประดู่ หมู่ที่ ๑,บ้านหลุ่งประดู่พัฒนา หมู่ที่ ๑๑ และบ้านหลุ่งประดู่สามัคคี หมู่ที่ ๑๒ ต.หลุ่งประดู่ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา)ซึ่งเกิดขึ้นจากทีชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างหลังจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม การสาวไหม ทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นบาปที่ทำให้ตัวหนอนไหม(ดักแด้)เสียชีวิต จึงจะได้ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ โดยใช้ผ้าไหมถวายพระเพื่อที่จะใช้ในการเย็บสบง จีวร ต้อมาได้เปลี่ยนทำบุญด้วยปอยไหม เพื่อที่จะสามารถไปแปรสภาพเป้นปัจจัยอื่น ๆ ได้ง่าย ประเพณีบุญดอกไหม-ดอกเงินมีการดำเนินงานอยู่ ๒ วัน โดยวันแรกเรียกว่า "วันโฮม" หรือ "วันชุมงาน" ชาวบ้านจะนำเอาปอยไหมหรือปัจจัยอื่น ๆ ตามศรัทธา เช่น ข้าวสาร อาหารแห้งฯ มารวมกันที่ศาลากลางบ้าน โดยจัดทำหอไหมที่สร้างคล้ายบ้านทรงไทย และเอาปอยไหมมาประดับประดา และตอนบ่ายก็จะออกมาร่วมกันแห่บุญดอกไหม-ดอกเงินรอบหมู่บ้าน โดยมีดนตรีนำขบวน และกลางคืนมีมหรสพสมโภชน์ รุ่งขึ้นวันต่อมา ชาวบ้านจะแต่งตัวด้วยชุดผ้าไหมสวยงาม ถือต้นดอกเงินที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ร่วมกันแห่ไปถวายวัดหลุ่งประดุ๋ เป้นอันเสร็จพิธี ประเพณีบุญดอกไหม-ดอกเงินนิยมจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม หรือในช่วงหลังออกพรรษาของทุก ๆ ปี