ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 47' 43.2751"
16.7953542
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 49.4922"
99.0304145
เลขที่ : 46613
ลายผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จ.ตาก
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 9 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 1 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ตาก
3 2073
รายละเอียด

ลวดลายผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง ลวดลายที่ชาวเขาเผ่าม้งนำมาใช้ปักผ้านั้น เดิมทีนำต้นแบบมาจากตัวหนังสือของชาวเขาเผ่าม้งเอง เช่น ลายโต้มเซียน หรือเลียนแบบธรรมชาติแวดล้อมในชีวิตประจำวันที่พบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น ลายโต้มเซียนเจ๋า ซึ่งเรียกเป็นภาษาไทยว่า ลายอุ้งตีนเสือ ลายกะยอ หรือ ลายแมงมุม ลายฮั่วเนียงหรือลายดอกไม้ ลวดลายที่กล่าวมานี้หญิงชาวเขาเผ่าม้งแต่ละคนจะคิดขึ้นเองตามความคิดสร้างสรรค์ของตน ไม่มีการซ้ำกันเลยอาจมีคล้ายคลึงกันบ้างเพราะพื้นฐานการปักคือ การปักไขว้ (Cross Stitch) เหมือนกัน ศิลปะการปักผ้าและการออกแบบลวดลายนี้นับเป็นมรดกตกทอดกันมาแต่โบราณอย่างต่อเนื่อง โดยการนำลักษณะ รูปร่าง และรูปทรงสีสันตามธรรมชาติรอบตัวมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ใบไม้ สัตว์น้ำ สัตว์บกขนาดใหญ่ ตลอดจนดวงดาวบนท้องฟ้า วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ นำมาประกอบกันเป็นลวดลายโดยยึดหลักของสัดส่วนที่ลงตัวได้สมมาตรตามสัดส่วน โกลเด้น มีน หรือโกลเด้น เซ็กชั่น (Golden Means / Golden Sections) ที่มีกฎจุดตัดเก้าช่อง (Rule of Thirds “จุดตัดเก้าช่อง" เป็นหนึ่งในกฎของการสร้างองค์ประกอบทางศิลป์ (composition) เกิดจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน ทั้งด้านดิ่งและด้านขนานเรียกว่า Rule of Thirds แล้วลากเส้นจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง กับจากบนลงล่าง ก็จะได้ออกมาเก้าช่อง และก็จะเกิดจุดตัดของเส้นทั้งหมดสี่จุดด้วยกัน ศิลปินทางด้านการวาดภาพจะแบ่งผืนผ้าใบ (canvas) หรือกระดาษเช่นนั้น และผู้ที่ถ่ายภาพก็จะแบ่งพื้นที่ในเฟรมเยี่ยงเดียวกัน เป็นกฏที่รู้จักกันดีมาเป็นร้อยปี และต่างก็จะพยายามที่จะวางจุดสนใจ หรือองค์ประกอบสำคัญในบริเวณที่ใกล้เคียงกับจุดตัดนั้นๆ (ไม่จำเป็นที่จะต้องตรงจุดพอดี) เนื่องจากสายตาของคนมักจะมองไปในบริเวณส่วนนั้นๆก่อนด้วยเหตุผลที่ยังไม่มีใครสามารถตอบได้อย่างแท้จริงว่าทำไม ในภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าโกลเด้นเซ็กชั่น (Golden Section) หรือ จุดตัดเก้าช่อง (Rule of Thirds) เป็นกฏหนึ่งของการจัดองค์ประกอบของภาพที่จะทำให้ดูดี สวยงาม โดยการแบ่งเป็นสัดส่วนของเฟรมในอัตรา ๑:๒ หรือการไม่แบ่งภาพออกเป็นสองส่วนเท่าๆกันทางด้านแนวนอนหรือแนวตั้ง ภาพจะดูสวยงามหากเส้นขอบฟ้าจะไม่อยู่ตรงกลางภาพ แต่อยู่ที่ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ในภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านบน หรือด้านล่าง ขึ้นอยู่กับว่าความงามของท้องฟ้าหรือว่าด้านล่างซึ่งเป็นพื้นดิน หรือชายหาด หรือท้องน้ำจะมีความสำคัญกว่า หรือสวยกว่ากัน และในทางตั้งซึ่งจะทำให้ตัวขององค์ประกอบจะอยู่ตรงกลาง อันจะทำให้ภาพดูแข็ง ควรจะให้ความสำคัญที่ด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า แต่กฏทั้งหลายก็เป็นเพียงแค่จุดแนะนำเริ่มต้นให้เท่านั้น ทุกคนมีสิทธิ์ในการทำในสิ่งที่ตนเห็นว่าเหมาะว่าควร (www.niceeyeshot.com. 2552.) โกลเด้นเซ็กชั่น (Golden Section) คือพื้นที่ภายในกรอบของสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าของแผ่นฟิล์ม ที่ได้รับการแบ่งสัดส่วนของ ๒ ใน ๓ ทั้งด้านขนานและด้านดิ่ง เมื่อลากเส้นแบ่งพื้นที่ตามตำแหน่งดังกล่าวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งและจากบนลงล่าง ก็จะได้จุดซึ่งตัดกันสี่จุดภายในสี่เหลี่ยมนั้นๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าจุดตัดเก้าช่อง หรือ sweet spots เป็นตำแหน่งที่ศิลปินทั้งหลาย ไม่ว่าจิตรกรหรือช่างภาพมีความเห็นพ้องกันว่าเป็นตำแหน่งที่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มาก และมักจะใช้เป็นตำแหน่งในการวางองค์ประกอบสำคัญ (www.weekendhoppy.com., ๒๕๕๒) จากกฎดังกล่าว จึงบรรจุลวดลายลงไป ซึ่งหญิงชาวเขาเผ่าม้งคงคิดออกแบบลวดลายโดยไม่ทราบกฎเกณฑ์นี้ แต่อย่างไรก็ตามลวดลายที่เกิดขึ้นนั้นก็ดูประณีต สวยงาม แสดงเอกลัษณ์ชนเผ่า และสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว และแน่นอนที่การออกแบบลวดลายและการปักผ้าของชาวม้งนี้จะมีการสืบทอดกันต่อๆ ไปชั่วลูกชั่วหลาน ในการปักผ้านี้ชาวเขาเผ่าม้งใช้ ป่านป่า ผ้าฝ้ายทอมือ หรือผ้าใยกัญชง ซึ่งชาวเขาเรียก ผ้าไหม ที่ทอด้วยกี่เอว (จึงได้ผ้าหน้าแคบ) โดยมีเส้นยืนซึ่งผูกไว้กับเสาและมีเส้นพุ่งผูกไว้กับเอว การทอผ้าจะใช้การทอสลับกัน ขัดกันจึงเกิดเป็นเส้นตารางไปตลอดผืน เมื่อนำผ้ามาปักจึงต้องใช้การสอดเข็มเข้าไปตามตารางเหล่านั้น(โดยอัตโนมัติ) ก่อให้เกิดลวดลายตามต้องการ ลวดลายผ้าปักของชาวเขาเผ่าม้ง ที่นิยมทำการปักและสืบทอดกันมานานนั้นมีลายแม่ ๘ ลาย ปัจจุบันได้ผสมผสานลวดลายได้เป็น ๑๔ ลาย ดังนี้ ๑) ลายไฮ ๒) ลายก้นหอย ๓) ลายดาว ๔) ลายดอกไม้ ๕) ลายเท้าช้าง ๖) ลายฟันเลื่อย ๗) ลายเจดีย์ ๘) ลายหัวใจ ๙) ลายดอกไม้ผสมดาว ๑๐) ลายก้นหอยผสมดาว ๑๑) ลายก้นหอยผสมลายก้าน ๑๒) ลายก้นหอยผสมใบไผ่ ๑๓) ลายก้นหอยผสมลายลูกศร ๑๔) ลายเท้าช้างประยุกต์

สถานที่ตั้ง
นางเส่อ แสงท้าว
เลขที่ 29/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 7
ตำบล แม่ท้อ อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท้อ
บุคคลอ้างอิง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท้อ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก
ถนน พหลโยธิน
จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่